โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ศาลไม่รับฎีกา 'ศักดิ์ชัย กาย' อ้างพินัยกรรมเป็นผู้รับมรดกขอให้ 4 ทายาทตระกูล ณ ป้อมเพชร โอนที่ดินให้

ไทยโพสต์

อัพเดต 14 ธ.ค. 2561 เวลา 23.40 น. • เผยแพร่ 14 ธ.ค. 2561 เวลา 23.40 น. • ไทยโพสต์

15 ธ.ค. 16 - ที่ศาลแพ่ง ถ.รัชดาภิเษก ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 ธ.ค.ที่ผ่านมา ศาลนัดฟังคำสั่งขออนุญาตฎีกา คดีที่นายศักดิ์ชัย กาย บรรณาธิการนิตยสารชื่อดัง “ลิปส์” และนักจัดดอกไม้ เป็นโจทก์ยื่นฟ้องนายธีรวัต ณ ป้อมเพชร อดีตอาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, นางชวนพิศ วัชรสินธุ์, ม.ร.ว.นิวัตการ ณ ป้อมเพชร และนายพัชรพงศ์ ณ ป้อมเพชร เป็นจำเลยที่ 1-4 ในคดีมรดก พินัยกรรม กรณีที่ดินโฉนดเลขที่ 1003 เลขที่ 15 ถนนจันทร์ ต.ทุ่งวัดดอน อ.ยานนาวา กรุงเทพฯ รวมอาคารและสิ่งปลูกสร้าง ซึ่งจำเลยที่ 1, 3 และ 4 เป็นทายาทของนายวิวรรธน์ ณ ป้อมเพชร อดีตเอกอัครราชทูตไทยที่ประจำการในหลายประเทศ

คดีนี้นายศักดิ์ชัย โจทก์ฟ้องว่า เมื่อวันที่ 10 ต.ค. 2549 นายวิวรรธน์ ณ ป้อมเพชร บิดาของจำเลยที่ 1, 3 และ 4 ถึงแก่ความตาย มีโจทก์เป็นทายาทผู้รับพินัยกรรม จำเลยที่ 1, 3 และ 4 เป็นทายาทโดยธรรม และจำเลยที่ 1 และ 2 เป็นผู้จัดการมรดกของนายวิวรรธน์ ก่อนถึงแก่ความตาย เมื่อวันที่ 21 ธ.ค. 2548 นายวิวรรธน์ได้ทำพินัยกรรมฉบับก่อนยกที่ดินโฉนดเลขที่ 1003 ต.ทุ่งวัดดอน อ.ยานนาวา พร้อมสิ่งปลูกสร้างให้แก่โจทก์ ต่อมาวันที่ 14 มิ.ย. 2559 ศาลฎีกาพิพากษาว่าพินัยกรรมฉบับหลังเป็นโมฆะ ทำให้พินัยกรรมฉบับก่อนยังคงมีผลบังคับอยู่ โจทก์ซึ่งเป็นทายาทผู้รับพินัยกรรมได้มีหนังสือแจ้งให้จำเลยทั้ง 4 คนดังกล่าว โอนทรัพย์มรดกแก่โจทก์ แต่จำเลยทั้ง 4 เพิกเฉย จึงขอให้บังคับจำเลยร่วมกันโอนที่ดินที่พิพาทดังกล่าวพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่โจทก์

จำเลยทั้ง 4 เบิกความต่อศาลว่า ฟ้องโจทก์เคลือบคลุม พินัยกรรมตามฟ้องไม่สมบูรณ์ เมื่อวันที่ 3 ก.ค.2550 จำเลยที่ 1 เคยฟ้องโจทก์คดีนี้ เป็นจำเลยให้เพิกถอนพินัยกรรม ฉบับลงวันที่ 21 ธ.ค.2548 เนื่องจากเป็นพินัยกรรมที่โจทก์กับพวกร่วมกันทำปลอมขึ้นตามคดีหมายเลขดำที่ 2942/2560 ของศาลชั้นต้น ต่อมาศาลฎีกาในคดีเดิม พิพากษาว่าพินัยกรรมฉบับลงวันที่ 21 ธ.ค. 2548 เป็นโมฆะ พินัยกรรมที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ มีวันที่และข้อความเดียวกับพินัยกรรมในคดีเดิม เมื่อคดีเดิมถึงที่สุด ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงเป็นฟ้องซ้ำ และดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ ฟ้องโจทก์ขาดอายุความไปแล้ว 

โดยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ยกฟ้อง เนื่องจากระบุว่าพินัยกรรมที่โจทก์นำมาฟ้อง โจทก์ยอมรับตามคำฟ้องว่ามีอยู่ก่อนพิพาทกันในคดีหมายเลขดำที่ 2942/2560 ซึ่งโจทก์ก็เป็นจำเลยในคดี แต่ก็ไม่ได้ยกขึ้นต่อสู้ เมื่อแพ้คดีแล้วจะกลับมาอ้างเหตุว่า เพิ่งทราบว่ามีพินัยกรรมฉบับที่นำมาฟ้องเพิ่งจะมีผลนั้นไม่ได้ 

ต่อมาโจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตฎีกา พร้อมฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์

ศาลฎีกาตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่า ฎีกาของโจทก์ที่ว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีหมายเลขแดงที่ 1442/2550  ของศาลชั้นต้นหรือไม่ และคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยทั้งสี่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบหรือไม่นั้น ไม่เป็นปัญหาสำคัญที่ศาลฎีกาควรวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคสอง (1) (3) และ (5) จึงมีคำสั่งไม่อนุญาตให้โจทก์ฎีกา ยกคำร้องขออนุญาตฎีกาและไม่รับฎีกาของโจทก์ และคืนค่าขึ้นศาลชั้นฎีกาทั้งหมดให้แก่โจทก์

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0