โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

วีระวงค์-ชินวัฒน์ และพาร์ทเนอร์ส สำนักงานกฎหมายสุดอู้ฟู่ผลประโยชน์ทับซ้อนที่ต้องตรวจสอบ

ฐานเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 26 เม.ย. 2562 เวลา 10.24 น.

คอลัมน์มารยาตลาดหุ้น ฐานเศรษฐกิจ ฉบับ 3465 หน้า 17 ระหว่างวันที่ 28 เม.ย.-1 พ.ค.2562

 

 

วีระวงค์ *ชินวัฒน์ *

และพาร์ทเนอร์ส

สำนักงานกฎหมายสุดอู้ฟู่

ผลประโยชน์ทับซ้อนที่ต้องตรวจสอบ

 

 

          ต่อเนื่องจากฉบับก่อน ถึงวันนี้สังคมคงทราบดีแล้วว่า ก.ล.ต. ได้ “กล่าวโทษ” อดีตกรรมการ "บมจ. อาดามัส อินคอร์ปอเรชั่น" หรือ ADAM” กับพวกรวม 8 ราย ต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรณีทุจริตต่อหน้าที่ในการให้ “ADAM” เข้าซื้อหุ้นสามัญทั้งหมดของ “บริษัท กีธา พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด” (ชื่อเดิม บริษัท สิราลัย จำกัด) ทั้งที่รู้ว่าบริษัทนี้เกี่ยวกับเรื่อง “ทุจริตโครงการรับจำนำข้าว” และการระบายข้าว “จีทูเจ๊ง”

          โดย “ตัวการหลัก” ที่ร่วมกับ “อภิชาติ จันทร์สกุลพร” หรือ “เสี่ยเปี๋ยง” นักธุรกิจขายค้าชื่อดังผู้ก่อตั้ง “บริษัท สยามอินดิก้าฯ” (เพรสซิเด้นท์ อกริ) คือ“ชินวัฒน์ ชินแสงอร่าม”

          และจุดจบสุดท้าย “บริษัท กีธา พร็อพเพอร์ตี้ส์ จำกัด” ก็ถูกสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) มีมติให้ยึดและอายัดทรัพย์สินของกลุ่มจริงๆ ในเดือนกันยายน 2559

          โดยสำนักงานกฎหมายที่ “ชินวัฒน์ ชินแสงอร่าม” (ผู้ถูกกล่าวหา) ถือหุ้น “บริษัท วีระวงค์,ชินวัฒน์ และพาร์ทเนอร์ส จำกัด” หรือ WCP ซึ่ง “วีระวงค์” ในชื่อที่ว่า คือ “วีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ” หุ้นส่วนอาวุโสของสำนักงาน

          จุดเด่นของสำนักงานกฎหมายนี้ คือการทำคดีให้นายทุนระดับประเทศมากหน้าหลายตา จนร่ำรวยยิ่งกว่าลูกค้าในบางครั้ง

          ดูได้จากผลประกอบการที่ยื่นต่อกระทรวงพาณิชย์ ล่าสุดแสดงให้เห็นว่า สำนักงานกฎหมายนี้ มีรายได้ปีละกว่า 700ล้านบาท กับตัวเลขกำไร 130 ล้านบาท ในปี 2561 และมีสินทรัพย์อีกกว่า 400 ล้านบาท 

 

          ส่วนกรรมการบริษัทมี 2 ท่านประกอบด้วย “ชินวัฒน์ ชินแสงอร่าม” และ “วีระนุช ธรรมาวรานุคุปต์” ซึ่งเป็นที่รู้กันว่าคือ “เด็กปั้น” หรือ “หุ้นส่วนดาวรุ่ง” ซึ่ง“หมิ่น-วีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ” เอ็นดูหนักหนาและเลื่อนขั้นให้อย่างรวดเร็วจนแซงหน้าคนเก่าคนแก่หลายคน!!

          “วีระนุช ธรรมาวรานุคุปต์” ได้เคยทำงานอยู่ที่สำนักงานกฎหมาย “ Linklaters and Paine” และย้ายไปดูแลฝ่ายกฎหมายที่ “DTAC ก่อนจะมาลงเอยกับ “WCP” นี้

          ส่วนผู้ถือหุ้นของ “WCP” นี้ ก็ช่างซับซ้อนถึง 3 ชั้น และอย่างที่เห็นตามภาพ สำนักงานกฏหมาย “WCP” นั้น ถือหุ้นโดย “บริษัท ดับบลิวซีแอนด์พี โฮลดิ้ง” 99.98%

 

 

          ชั้นต่อมา คือ “บริษัท ดับบลิวซีแอนด์พี โฮลดิ้งฯ” ซึ่งถือหุ้นอีกชั้นโดย “ชินวัฒน์” 60% ส่วนอีก 40% ถือโดย “ทรีเน็กซ์ โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด” บริษัทสัญชาติ  หมู่เกาะเวอร์จิน(อังกฤษ) หรือ “British Virgin Island” เกาะที่ขึ้นชื่อในฐานะข้อต่อขบวนการฟอกเงินหรือเลี่ยงภาษี

          ด้านกรรมการของ “บริษัท ดับบลิวซีแอนด์พี โฮลดิ้ง” ชินวัฒน์ ชินแสงอร่าม และ  วีระนุช ธรรมาวรานุคุปต์ เจ้าเก่าคนสนิท     

          หากถามว่า “แปลกใจมั้ย”?? เมื่อสำนักกฎหมายชื่อ “วีระวงค์,ชินวัฒน์ และพาร์ทเนอร์ส” ไฉนถึงไม่มีชื่อ “หมิ่น-วีระวงศ์ จิตรมิตรภาพ” ถือหุ้นหรือเป็นกรรมการในโครงสร้าง 3 ชั้น 3 ซ้อน 3 เงื่อนนี้?

          หรือ “หมิ่น-วีระวงค์ จิตต์มิตรภาพ” ไปแอบอยู่ใน“ทรีเน็กซ์ โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด” ที่รากอยู่ที่หมู่เกาะที่เศรษฐีมักใช้ในการฟอกเงินหรือเลี่ยงภาษี??

          เพราะอะไร เพื่ออะไร? เรื่องนี้ไม่มีใครรู้ได้

          แต่หนึ่งในความเป็นไปได้คืออาจเนื่องด้วย “หมิ่น-วีระวงคค์ จิตต์มิตรภาพ” เป็นกรรมการและกรรมการอิสระอยู่ในบริษัทมหาชนหลายแห่ง เช่น ธนาคารไทยพาณิชย์ แต่เนื่องด้วยกติกาเกี่ยวกับหลัก “ผลประโยชน์ทับซ้อน” และ “รายการเกี่ยวโยง” จึงทำให้ใช้ชื่อตัวเองไม่ได้

          ลองจินตนาการดูสิคะว่า หากมีกรรมการท่านหนึ่งในธนาคาร มีบริษัทนอมินีรับให้บริการส่วนตัวกินหัวคิวกับลูกค้าที่มาขอกูเงินหลักหมื่นล้านบาท เงินค่าบริการคงแพงหลัก 300 ล้านบาทแน่นอน!!

          หรืออีกกรณีคือ เราอาจจะคิดมากไปเองทั้งหมด “ทรีเน็กซ์ โฮลดิ้งส์ ลิมิเต็ด” อาจเป็นนักลงทุนจากเกาะจริง “บริษัท ดับบลิวซีแอนด์พี โฮลดิ้งฯ” และ สำนักงานกฎหมาย “วีระวงค์,ชินวัฒน์ และพาร์ทเนอร์ส” อาจมีแต่ “ชินวัฒน์” เป็นหุ้นใหญ่ โดยไม่มี “หมิ่น-วีระวงค์”  เพียงแต่รักหุ้นส่วนเก่ามาก จึงให้เป็นชื่อนำสำนักงาน ก็เป็นได้?!? จริงมั้ยเจ้าคะ

          ล่าสุดเมื่อวันที่ 25 เมษายน ที่ผ่านมา สำนักงานกฎหมาย “บริษัท วีระวงค์,ชินวัฒน์ และพาร์ทเนอร์ส จำกัด” หรือ “WCP” ได้ออกจดหมายชี้แจงซึ่งมีใจความดังนี้

          - ชินวัฒน์ ชินแสงอร่าม ขอยุติบทบาทในสำนักงานกฎหมาย WCP ทั้งการเป็นผู้ถือหุ้น กรรมการ และ ทนายความ หลังถูกก.ล.ต.กล่าวโทษ ในฐานะอดีตกรรมการ ADAM มีผลตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2562

          - ชินวัฒน์และ “WCP” ไม่เคยรับรู้เหตุการณ์หรือความเป็นผู้ถือหุ้นไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อมของ “เสี่ยเปี๋ยง” หรือบุคคลในครอบครัว

          - “WCP” ยึดมั่นในหลักจริยธรรมและจรรยาบรรณของวิชาชีพไม่เคยเป็นที่ปรึกษากฎหมายให้กับลูกความรายใดในธุรกรรมทางการเงินเพื่อการฟอกเงิน หรือเพื่อการทุจริต คอร์รัปชัน

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0