โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

วิบากกรรมต่อไปของ "ธนาธร" เมื่อตกเก้าอี้ส.ส. เสี่ยงโดนอาญา ยุบอนาคตใหม่

ไทยรัฐออนไลน์ - Politics

อัพเดต 20 พ.ย. 2562 เวลา 12.46 น. • เผยแพร่ 20 พ.ย. 2562 เวลา 11.46 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

เป็นที่แน่นอนแล้ว ”ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ” ไม่รอด ภายหลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัยกรณีถือหุ้นสื่ออยู่ในวันที่สมัคร ส.ส. จึงมีลักษณะต้องห้ามในการสมัคร ส.ส. ส่งผลให้พ้นจากการเป็น ส.ส. นับแต่วันที่ศาลสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ เมื่อวันที่ 23 พ.ค. 2562 เป็นต้นไป ให้เลื่อนผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับถัดไปของพรรคอนาคตใหม่ที่ยังไม่ได้เป็น ส.ส.ขึ้นมาแทน

ส่วนอนาคตทางการเมืองของ ”ธนาธร” และพรรคอนาคตใหม่ จะเป็นอย่างไรต่อไป? ต้องติดตาม จะเป็นการเริ่มต้นเพื่อนำไปสู่การยุบพรรคอนาคตใหม่หรือไม่ ตามมาตรา 132 ของ พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. ซึ่งเป็นการกระทำที่ทำให้การเลือกตั้งไม่สุจริตและเที่ยงธรรม

หรือ ตามมาตรา 151 ที่ระบุว่า ผู้ใดรู้อยู่ว่าตนไม่มีสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเนื่องจากขาดคุณสมบัติ หรือมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิ์สมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรได้สมัครรับเลือกตั้ง หรือทำหนังสือยินยอมให้พรรคการเมืองเสนอรายชื่อเพื่อสมัครรับเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อ ซึ่งทาง กกต.จะดำเนินการสอบสวนต่อไปในการดำเนินคดีอาญากับ ”ธนาธร”

ทั้งความเสี่ยงที่พรรคอนาคตใหม่จะโดนยุบพรรค และธนาธรจะโดนคดีอาญา มีความเป็นไปได้สูงหรือไม่นั้น ด้าน "รศ.ดร.ยุทธพร อิสรชัย" อาจารย์ประจำสาขาวิชารัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ได้วิเคราะห์ผ่าน ”ทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์” ว่า จากคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญจะเห็นว่าค่อนข้างเปิดกว้างให้ธนาธร และพรรคอนาคตใหม่ ได้มีพื้นที่ทางการเมืองใน 2 ทางเลือก ระหว่างการเมืองที่เป็นทางการ และการเมืองที่ไม่เป็นทางการ

  • ในกรณีของการเมืองแบบเป็นทางการ จะทำให้ธนาธรสามารถเสนอตัวลงชิงชัยตำแหน่ง ส.ส.แบบแบ่งเขต หากมีการเลือกตั้งซ่อม โดยเฉพาะใน กทม. หรือแม้กระทั่งลงสมัครผู้ว่าฯ กทม.ในครั้งหน้าได้

  • ส่วนทางเลือกการเมืองแบบไม่เป็นทางการ เนื่องจากธนาธรอยู่ในฐานะหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ถูกเสนอให้ทำหน้าที่กรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณ 2563 รวมถึงกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ตามที่เคยเรียกร้องมาตลอด

  • กกต.ต้องพิจารณากระบวนการต่างๆ ซึ่งอยู่ในคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จะนำไปสู่การสอบสวนตามมาตรา 151 หรือไม่ เป็นเรื่องของเจตนา ต้องพิสูจน์ว่าธนาธรรู้หรือไม่ หากไม่รู้ถือว่าไม่ผิด แต่หากรู้อยู่แล้วถือว่าผิด จะเข้ามาตรา 151 มีบทลงโทษค่อนข้างสูง จำคุก 1-10 ปี หรือปรับ 2 หมื่น-2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และถูกตัดสิทธิ์ทางการเมืองสูงสุดถึง 20 ปี

  • กรณีมาตรา 132 ถือเป็นความเสี่ยงต่อพรรคอนาคตใหม่จะถูกยุบพรรค แต่ต้องดูว่าคำว่า “ไม่สุจริตหรือเที่ยงธรรม” ครอบคลุมอย่างไร เพราะคำนี้ค่อนข้างกว้าง ต้องดูว่าการที่ธนาธรอยู่ระบบบัญชีรายชื่ออันดับ 1 จะมีผลต่อการเป็นแคนดิเดตนายกฯ หรือไม่ ประเด็นนี้ต้องวินิจฉัยกันยาว และต้องเริ่มจากมาตรา 151 ก่อนมาถึงมาตรา 132 ซึ่งยังอีกไกล

ท้ายสุด รศ.ดร.ยุทธพร มองว่า พรรคอนาคตใหม่มีโอกาสถูกยุบพรรคสูง เนื่องจากมีหลายคดีเป็นจำนวนมาก ตั้งแต่เริ่มตั้งพรรคมา 1 ปีกว่า ทั้งเรื่องเงินกู้พรรค การเป็นปฏิปักษ์และล้มล้างการปกครอง ซึ่งอย่าลืมว่าพรรคนี้ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างต่างๆ  อาจสร้างความขัดแย้ง

นอกจากนี้ยังมองว่าธนาธรจะไม่ลงแข่งขันผู้ว่าฯ กทม.แน่นอน แม้สามารถทำได้ เนื่องจากไม่ต้องการไปตัดคะแนน ชัชชาติ สิทธิพันธ์ุ อีกทั้งตัวธนาธรมีอุดมการณ์ทางการเมืองระดับชาติ ไม่ใช่ท้องถิ่น ดังนั้นนับต่อแต่นี้ไปจะเห็นธนาธรเล่นการเมืองนอกสภา โดยจะมีบทบาทมากกว่านักการเมืองหลายๆ คนที่อยู่ในสภา เพราะการเมืองขณะนี้อยู่ในยุค ”ดิสรัปชั่น” ที่เปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ จึงไม่จำเป็นต้องเล่นการเมืองในสภาเหมือนในอดีต.

อ่านข่าวที่เกี่ยวข้องกับ "ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ"

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0