โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

วิธีเพิ่มน้ำหนักตัวโดยที่ไม่เสียสุขภาพ

issue247.com

อัพเดต 26 มี.ค. 2562 เวลา 04.08 น. • เผยแพร่ 26 มี.ค. 2562 เวลา 00.00 น.

การเพิ่มน้ำหนักคือเป้าหมายของใครหลายๆคนซึ่งไม่ต่างจากการลดน้ำหนักเลย ที่สำคัญยังยากพอๆกันอีกด้วย ปัจจัยต่างๆ เช่น พันธุกรรม การใช้ยา ความเครียด ปัญหาสุขภาพเรื้อรัง และอาการป่วยทางจิตอย่างภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล หรือโรคที่เกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน ทั้งหมดนี้ล้วนส่งผลต่อการเพิ่มน้ำหนักตัวและสุขภาพจิตของคนเรา เรามักจะได้ยินปัญหาเกี่ยวกับโรคอ้วน ขณะที่สังคมปัจจุบันก็มุ่งเน้นแต่เรื่องการลดน้ำหนักและการเลือกรับประทานอาหาร ทว่าก็มีคนอีกจำนวนไม่น้อยที่กำลังประสบปัญหาที่ตรงกันข้าม

สำหรับบางคนการมีสุขภาพดีที่สุดจะหมายถึงการเพิ่มน้ำหนัก การมีน้ำหนักตัวน้อยกว่ามาตรฐานจะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงในการมีปัญหาสุขภาพ เช่น กระดูกเปราะ ปัญหาเกี่ยวกับการเจริญพันธุ์ ผมร่วง ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เหนื่อยล้า และภาวะทุพโภชนาการ แน่นอนว่าการมีน้ำหนักตัวที่ดีของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันไป หากคุณไม่แน่ใจก็ลองปรึกษาแพทย์ทั่วไปหรือนักโภชนาการ คุณควรเลือกทำในสิ่งที่เหมาะกับร่างกายของตัวเอง (หากคุณเป็นโรคเกี่ยวกับพฤติกรรมการกิน ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์ อย่าเปลี่ยนอาหาร นับปริมาณแคลอรี่ หรือพยายามเพิ่มน้ำหนักของตัวเองโดยที่ไม่ได้ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อน) หากคุณกำลังมองหาวิธีที่ไม่ยุ่งยากจนเกินไป นี่คือเคล็ดลับในการเพิ่มน้ำหนักตัวโดยที่คุณไม่ต้องเสียสุขภาพเลยแม้แต่นิดเดียว

 

ปรึกษาแพทย์

อาการของโรคเรื้อรังบางอย่าง เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน และโรคที่เกี่ยวกับการย่อยอาหาร เช่น โรคโครห์น สามารถทำให้น้ำหนักตัวลดลงได้ หรือคุณอาจแค่มีกระบวนการเผาผลาญที่ดีเกินไป ดังนั้นการหาสาเหตุและรักษาให้ได้ก่อนจะช่วยให้คุณเดินทางไปถึงเป้าหมาย

 

หมั่นตรวจสุขภาพจิต

หลายคนอาจน้ำหนักตัวลดลงในช่วงที่ประสบกับภาวะตึงเครียดหรือซึมเศร้าและต้องการเพิ่มน้ำหนักตัวขึ้นอีกครั้งเพื่อสุขภาพ ในกรณีเหล่านี้คุณควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาสาเหตุว่าเกิดจากการลดน้ำหนักหรือขาดความอยากอาหารกันแน่ ปัญหาที่เกี่ยวกับน้ำหนักตัวอาจเป็นอาการจากความเครียด ดังนั้นควรหมั่นตรวจสอบและประเมินระดับความเครียดของตัวเอง แต่ถ้าคุณป่วยเป็นโรคซึมเศร้าหรือโรควิตกกังวลอยู่แล้ว ทางที่ดีควรรีบพบแพทย์เพื่อหาวิธีช่วยเหลือ

 

รับประทานอาหารมื้อเล็กตลอดทั้งวัน

การรับประทานอาหารทุกๆ 2-3 ชั่วโมงจะทำให้ร่างกายของคุณได้รับปริมาณแคลอรี่มากพอโดยที่ไม่รู้สึกอึดอัดแถมยังช่วยบรรเทาอาการแน่นท้องได้อีกด้วย หากผู้ที่กำลังลดน้ำหนักเพิ่มปริมาณอาหารที่รับประทานเข้าไปพวกเขาก็จะมีอาการท้องผูก ก๊าซในกระเพาะอาหาร ท้องอืด และปวดท้อง ดังนั้นควรกระจายมื้ออาหารเพื่อรับประทานตลอดทั้งวัน

 

เครื่องดื่มสมูทตี้และเชค

เครื่องดื่มที่อัดแน่นไปด้วยพลังงานเป็นอีกวิธีในการรับแคลอรี่เข้าไปในร่างกายโดยที่ไม่ทำให้รู้สึกอึดอัด คุณจะได้ทั้งวิตามินและสารอาหารต่างๆแถมยังพกพาสะดวกอีกด้วย นอกจากนี้ก็ยังมีนมและน้ำผลไม้ในการให้พลังงานและเพิ่มน้ำหนักตัว อย่างไรก็ตามควรระวังว่าคุณดื่มน้ำตาลไปมากแค่ไหนแล้วเนื่องจากปริมาณน้ำตาลที่มากเกินไปจะส่งผลเสียต่อร่างกาย

 

เน้นปริมาณแคลอรี่จากอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

คุณควรเลือกรับประทานอาหารที่อุดมไปด้วยคุณค่าทางโภชนาการไม่ใช่สนใจแค่ปริมาณแคลอรี่เท่านั้น การเพิ่มน้ำหนักตัวโดยการบริโภคแคลอรี่จากอาหารที่ไร้ประโยชน์ เช่น อาหารเค็มจัด หวานจัด หรืออาหารแปรรูปจะทำให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่นๆตามมาไม่ว่าจะเป็นความดันโลหิตสูง คลอเรสเตอรอลสูง โรคเบาหวาน และโรคหัวใจ นอกจากนี้หากคุณหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพก็มีโอกาสเสี่ยงว่าคุณจะเป็นโรคขาดสารอาหาร ทางที่ดีควรรับประทานอาหารครบห้าหมู่และมีปริมาณคาร์โบไฮเดรต ไขมัน และโปรตีนสมดุลกันเพื่อร่างกายที่แข็งแรง เน้นอาหารที่เพิ่มพลังงาน เช่น ถั่ว น้ำมัน ผลไม้แห้ง กราโนล่า เนยถั่ว และไขมันประเภทอื่นๆ

 

งดการออกกำลังกายแบบคาร์ดิโอ

บางคนอาจมองว่าการออกกำลังกายเป็นเรื่องอันตรายสำหรับคนน้ำหนักตัวน้อย ทางที่ดีคุณควรปรึกษาแพทย์หากมีน้ำหนักตัวน้อยกว่าเกณฑ์ คุณควรออกกำลังกายแบบฝึกกล้ามเนื้อแทนที่คาร์ดิโอ สำหรับผู้ที่ต้องการเพิ่มน้ำหนักตัวขอแนะนำการออกกำลังกายแบบฝึกกล้ามเนื้อบวกกับคาร์ดิโอเพียงเล็กน้อยเท่านั้น ใช่..การยกน้ำหนักจะยังช่วยเผาผลาญแคลอรี่แต่คุณก็จะได้มวลกล้ามเนื้อเพิ่ม นอกจากนี้การออกกำลังกายสามารถกระตุ้นความอยากอาหารของคุณได้อีกด้วยและจะทำให้คุณไปถึงเป้าหมายได้เร็วขึ้น

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0