โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

วิธีสร้างทางเลือกการลงทุนให้ตัวเอง

Businesstoday

เผยแพร่ 18 พ.ย. 2562 เวลา 05.00 น. • Businesstoday
วิธีสร้างทางเลือกการลงทุนให้ตัวเอง

ผมเชื่อว่า ไม่มีใครอยากตกอยู่ในสถานการณ์“หมาจนตรอก” เพราะนั่นหมายความว่าเราไม่สามารถเลือกในสิ่งที่เราต้องการได้ แต่ต้องเลือกในสิ่งที่ไม่อยากเลือก คือ“สู้” หรือไม่ก็บาดเจ็บหรือตาย

ดังนั้นถ้าเรายังอยู่ในสถานะที่สร้างทางเลือกได้ควรจะสร้างทางเลือกให้กับตัวเอง

วิธีการหนึ่งที่ผมใช้ในการสร้างทางเลือกให้ตัวเองคือการสร้าง“ตัวเปรียบเทียบ” เช่น สูงเทียบกับต่ำ ดำเทียบกับขาว ยาวเทียบกับสั้น อวบอั๋นเทียบกับผอมเพรียว เป็นต้น

เมื่อเรามีตัวเปรียบเทียบเราก็จะมีหลักคิดวิเคราะห์ว่าทำไมจึงเลือกสูงไม่เลือกต่ำทำไมจึงเลือกดำไม่เลือกขาวซึ่งเป็นหลักการเลือกที่เหมาะสมกับตัวเรามากที่สุด(แต่อาจจะไม่เหมาะสมกับคนอื่น*) *

เช่นเดียวกับการลงทุน แต่ละคนไม่จำเป็นต้องเลือกลงทุนอะไรที่เหมือนๆ กัน เพราะความเหมาะควรของสินทรัพย์แต่ละอย่างกับแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน

หากใช้หลักการเปรียบเทียบเพื่อสร้างทางเลือกให้กับการลงทุนในธุรกิจเราก็จะต้องวางธุรกิจไว้อย่างน้อย2 อย่างเพื่อนำมาเปรียบเทียบกันว่าทำไมเราจึงเลือกA ไม่เลือกB ซึ่งนอกจากจะช่วยเราเปิดมุมมองการคิดวิเคราะห์แล้วยังจะช่วยเสริมความมั่นใจของผู้ลงทุนได้ด้วยว่าเพราะA มีข้อดีมากมายอย่างนี้นี่เล่าเราถึงเลือกA” ซึ่งหากไม่หาอะไรมาเปรียบเทียบยึดแนวทางเดียวอย่างเด็ดเดี่ยวเราก็จะไม่มีมุมมองใหม่ๆแบบนี้

สำหรับกรณีการลงทุนในหุ้นก็เช่นกัน หากไม่มีการเปรียบเทียบ ก็ยากที่เราจะรู้ว่าหุ้นตัวไหนถูกหรือแพง  ควรถือยาวหรือถือสั้น

แต่การใช้กลยุทธ์เปรียบเทียบนี้ควรมีหลักคิดพื้นฐานเบื้องต้น คือ สิ่งที่นำมาเปรียบกันนั้นควรจะต้องมีคุณสมบัติไม่แตกต่างกันมากราวฟ้ากับเหว หากมีความได้เปรียบเสียเปรียบกันมากเกินไปเราก็ไม่จำเป็นต้องเทียบ ยกตัวอย่างในการชกมวยเราจะไม่เห็นการเทียบมวยที่น้ำหนักต่างกันมากๆ ไม่มีหรอกครับที่เอาคนน้ำหนัก100 กิโลกรัมไปต่อยกับคนน้ำหนัก50 กิโลกรัม

เช่นเดียวกับหุ้นครับ ก่อนจะนำหุ้นตั้งแต่2 ตัวขึ้นไปมาเปรียบเทียบกัน เราควรจะจัดหมวดหมู่ ดูความเหมาะสมของธุรกิจปัจจุบันและโอกาสเติบโตในอนาคต รวมไปถึงปัจจัยที่จะส่งผลกระทบต่อราคาหุ้นแต่ละตัวก่อน ว่ามันสมน้ำสมเนื้อที่จะเทียบกันได้หรือไม่ เพราะถ้าเรานำธุรกิจที่มีการเติบโตสูง ความเสี่ยงสูง มาเทียบกับธุรกิจที่เติบโตน้อยแต่มั่นคง จะทำให้เรางงได้

เช่น ทำไมหุ้นตัวนั้นพีอีถึงสูงลิบลิ่ว แต่ตัวนี้พีอีต่ำมากๆ แล้วก็ใช้บทสรุปแบบง่ายๆ ว่า เลือกหุ้นพีอีต่ำดีกว่า ซึ่งพลาดมานักต่อนักแล้ว เพราะหุ้นพีอีต่ำหลายๆ ตัวก็ต่ำอยู่อย่างนั้นเป็นปีๆ ไม่ขยับไปไหน ในขณะที่หุ้นพีอีสูงกลับวิ่งเอาๆ และพอผ่านไปแต่ละปีค่าพีอีก็ลดต่ำลงเรื่อยๆ เพราะสามารถทำกำไรเติบโตแบบก้าวกระโดด

เมื่อได้หุ้นที่เราสนใจและมีองค์ประกอบที่สูสีแล้ว จึงจะถึงเวลาของการเปรียบเทียบ ซึ่งผมไม่ขอฟันธงว่าจะใช้เกณฑ์อะไร เอาเป็นว่าแล้วแต่ความถนัดจัดเจนของแต่ละท่านก็แล้วกัน แต่ที่อยากจะแนะนำก็คือ เราควรใช้แนวโน้มในอนาคตมาเป็นตัวชี้วัดมากกว่าการใช้ค่าในอดีต เพราะการซื้อหุ้นคือการซื้ออนาคต ไม่ได้ซื้ออดีต เช่น ถ้าจะใช้พีอีเรโช(ราคาต่อกำไรต่อหุ้น) ก็ต้องใช้ค่าพีอีในอนาคต ไม่ใช่พีอีในปัจจุบัน

หลักของการเปรียบเทียบที่นำมาใช้ในเชิงธุรกิจนี้ บางคนอาจจะนำไปใช้ในชีวิตจริง เช่น ใช้ในการเลือกคู่ครองสำหรับคนที่ยังโสด แต่สำหรับคนที่ไม่โสดแล้ว มีครอบครัวเป็นตัวเป็นตนแล้ว ถือว่าตัดสินใจลงทุนระยะยาวไปแล้ว ถ้าจะหาคนอื่นมาเป็นคู่เทียบกับคู่ชีวิต ระวังความเสี่ยงไว้หน่อยครับ

ความไม่พอเพียงหรือเพียงพอย่อมนำมาซึ่งความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นครับ(ฮา)

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0