โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

วิธีรับมือและป้องกันตนเองกับคนรอบข้างให้ห่างจาก “โรคซึมเศร้า”

AKERU

อัพเดต 21 ส.ค. 2561 เวลา 05.20 น. • เผยแพร่ 21 ส.ค. 2561 เวลา 05.20 น.
วิธีรับมือและป้องกันตนเองกับคนรอบข้างให้ห่างจาก “โรคซึมเศร้า”
หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ “คิม จงฮยอน&#822 …

หลังจากเกิดเหตุการณ์ไม่คาดฝันที่ “คิม จงฮยอน” สมาชิกวง Shinee อายุเพียง 27 ปี ได้ทำการฆ่าตัวตาย โดยการรมควันตัวเองด้วยถ่านหิน หรือที่ทางการแพทย์เรียกว่า ชาโคลบอมบ์ในอพาร์ทเมนต์ ย่านกังนัมนั้น กลายเป็นประเด็นร้อนในชั่วข้ามคืน เพราะหลายคนคงไม่คาดคิดกันว่านักร้องคนนึงที่ต้องแสดงหน้าตายิ้มแย้มบนเวทีจะคิดสั้นแบบนั้นได้ เราจึงอยากนำข้อมูลเกี่ยวกับโรคซึมเศร้านี้มาฝากเพื่อนๆพี่ๆน้องๆ AkeruFeed ทุกคน เพื่อให้คอยสอดว่องดูแลตนเองและคนรอบข้างไม่ให้เกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้นอีก

โรคซึมเศร้า คืออะไร?

โรคซึมเศร้าเป็นโรคทางจิตเวชประเภทหนึ่ง ซึ่งสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน เป็นโรคที่พบเจอบ่อย แต่เพิ่งจะมีการออกมาให้ความรู้กันมากขึ้น เมื่อมีข่าวว่าดารา นักร้องเป็นโรคนี้กัน การเป็นโรคซึมเศร้าไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นคนอ่อนแอหรือบ้าแต่อย่างใด ผู้ป่วยโรคซึมเศร้าคือผู้ที่มีอาการป่วยทางอารมณ์ สาเหตุของโรคนี้เกิดจาก ความเครียด ไม่ว่าจะจากครอบครัว เพื่อน ที่ทำงาน หรือ คนรัก แต่ปัจจุบันโรคนี้สามารถรักษาให้หายได้แล้ว ด้วยยาปฏิชีวนะหรือการเยียวยาทางสภาพจิตใจ แต่ก็มีโอกาสที่จะกลับไปเป็นได้อีก ขึ้นอยู่กับการดูแลจิตใจของบุคคลนั้นๆ ประกอบกับสภาพแวดล้อมรอบตัวเขา

photo credit: Dramafever,etsy, inspired, haijai, irishnews, 

โรคซึมเศร้ามีอาการอย่างไรบ้าง

  • รู้สึกเศร้าใจ หม่นหมอง หงุดหงิด หรือรู้สึกกังวลใจ ไม่สบายใจ
  • ขาดความสนใจต่อสิ่งแวดล้อมรอบข้าง หรือสิ่งที่เคยให้ความสนุกสนานในอดีต กลับกลายเป็นเฉยๆไม่รู้สึกอะไร
  • น้ำหนักลดลง หรือเพิ่มขึ้นมาก ความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงไป
  • นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินกว่าปกติ
  • รู้สึกผิด สิ้นหวัง หรือรู้สึกว่าตนเองไร้ค่า
  • ไม่มีสมาธิ ไม่สามารถตัดสินใจเองได้ ความจำแย่ลง
  • อ่อนเพลีย เมื่อยล้า ไม่มีเรี่ยวแรง
  • กระวนกระวาย ไม่อยากทำกิจกรรมใดๆ
  • คิดถึงแต่ความตาย และมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย

หากคุณมีอาการเหล่านี้มากกว่า 2 ข้อ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ขึ้้นไป ควรลองไปพบแพทย์ เพื่อสอบถามเบื้องต้นก่อนจะดีกว่านะคะ

ชนิดของโรคซึมเศร้า

  • โรคซึมเศร้าชนิดรุนแรง (Major Depression) เป็นอาการซึมเศร้าอย่างที่ส่งผลกระทบถึงชีวิตการทำงานหรือการเรียน รวมไปถึงการนอนหลับและการกินอยู่ได้อย่างเป็นปกติสุขอย่างรุนแรง
  • โรคซึมเศร้าเรื้อรัง (Persistent Depressive Disorder) แม้จะมีอาการและความรุนแรงของอาการน้อยกว่า แต่ภาวะซึมเศร้าชนิดนี้จะคงอยู่กับผู้ป่วยยาวนานกว่ามาก เป็นเวลาอย่างน้อยตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป ซึ่งผู้ที่ป่วยเป็นโรคซึมเศร้าเรื้อรังก็อาจมีบางช่วงเวลาที่ต้องเผชิญภาวะซึมเศร้าชนิดรุนแรงร่วมด้วย

สาเหตุของโรคซึมเศร้า

  • ความผิดปกติของสมอง ทำงานผิดปกติ หรือระดับของสารเคมีในสมองไม่สมดุลกัน
  • พ่อ แม่ หรือ ญาติเป็นโรคซึมเศร้า หรือ โรคทางอารมณ์อื่นๆ มีโอกาสเป็นมากกว่าผู้ที่ไม่มีญาติเป็นโรคนี้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะไม่สามารถเป็นได้
  • สภาพจิตใจ สืบเนื่องมาจากการเลี้ยงดู เช่น พ่อแม่ชอบทะเลาะกัน พ่อแม่ที่ชอบกดดันลูก หรือเปรียบเทียบกับลูกคนอื่น
  • เป็นผลมาจากโรคอื่น เช่น ไทรอยด์ ลมชัก หรือไบโพลาร์

การรักษาโรคซึมเศร้า

พอเป็นโรคที่เกี่ยวข้องกับจิตใจ มันก็จะหายยากกว่าโรคที่สามารถผ่าตัดแล้วหายขาดได้เลย ดังนั้นต้องบอกก่อนว่าโรคนี้สามารถหายขาดได้ และสามารถกลับมาเป็นใหม่ได้เช่นกัน จึงต้องได้รับความร่วมมือจากคนรอบข้างเป็นอย่างดี

  • ใช้ยาปฏิชีวนะ ซึ่งต้องเป็นไปตามคำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ห้ามไปซื้อยารับประทานเองโดยเด็ดขาด เพราะจะเกิดผลข้างเคียง ซึ่งอาจส่งผลเสียตามมา หากใช้ยาไม่ถูกต้อง ทั้งนี้แต่ละคนอาจจะตอบสนองต่อยาแต่ละชนิดไม่เหมือนกัน จึงต้องมีการรับประทานยาและไปพบคุณหมอเป็นประจำ เพื่อตรวจดูอาการ หากมีอาการดีขึ้นจะได้ลดจำนวนยาลง
  • การเยียวยาสภาพจิตใจ ทำจิตบำบัดกับแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยการค้นหาสาเหตุที่ทำให้เป็นโรคซึมเศร้า เช่น เครียดสะสมจากที่ทำงาน ก็ให้ไปแก้ที่ตรงนั้น  เป็นการแก้ไขในระยะยาว เพื่อจะได้ไม่เกิดขึ้นซ้ำอีก เมื่อทราบถึงต้นตอที่แท้จริง ซึ่งอาจมีมากกว่า 1 อย่างแล้วนั้น ก็ดำเนินการปรับสภาพจิตใจและความคิดให้คิดบวก มองโลกในแง่ดี แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องอาศัยความร่วมมือจากบุคคลที่อยู่รอบตัวเขาด้วย
  • รักษาด้วยไฟฟ้า เป็นนวัตกรรมทางการแพทย์ที่สามารถช่วยให้หายเป็นปกติได้เร็วยิ่งขึ้น

คำแนะนำเพิ่มเติม

  • อย่าซื้อยามารับประทานเอง ต้องปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
  • อย่านำตัวเองเข้าไปอยู่ในสถานการณ์ที่ซับซ้อนและยากจะจัดการ
  • อย่าตั้งเป้าหมายไว้สูงเกินไป เอาแต่พอดีที่ตนเองสามารถทำได้
  • พยายามหากิจกรรมทำ อย่าปล่อยให้ตัวเองว่าง เพราะจะทำให้คิดฟุ้งซ่าน
  • ออกไปพบปะผู้คน เพื่อนฝูง เฮฮาปาร์ตี้ เม้าท์มอยกัน เพื่อลดความตึงเครียด การได้ระบายความในใจออกมาก็เป็นทางออกที่ดีอย่างหนึ่ง ดังนั้นควรหาเพื่อสนิทที่ไว้ใจได้และพร้อมจะรับฟังเรา อย่างน้อยสักคนหนึ่งก็ยังดี
  • ออกกำลังกาย การออกกำลังกายเหมือนเป็นยาวิเศษ เมื่อเรากำลังออกกำลังกายตั้งแต่ 20 นาทีขึ้นไป ร่างกายจะหลั่งสารเอ็นโดรฟิน หรือสารแห่งความสุขออกมา ทำให้สดชื่นขึ้น
  • สวดมนต์ นั่งสมาธิ อย่างที่ได้บอกไปข้างต้นว่า ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการสมาธิสั้น ความจำแย่ลง การนั่งสมาธินั้นจะช่วยให้มีสมาธิมากขึ้น รู้จักคิดไตร่ตรองมากขึ้น

คงไม่มีใครอยากฆ่าตัวตาย และคงไม่มีใครอยากเห็นคนที่ตนเองรักเป็นอะไรไป โดยไม่ได้รับรู้หรือช่วยเหลืออะไรเลย ดังนั้นโปรดสนใจคนรอบข้างของคคุณ อย่าให้เขารู้สึกว่าเขาอยู่เพียงลำพังบนโลกใบนี้ ทำให้เขารู้ว่ายังมีคุณและอีกหลายๆคนอยู่เคียงข้างเขา หากใครสงสัยว่าตนเองหรือคนรอบข้างเป็นโรคซึมเศร้าหรือเปล่า อย่ารีรอที่จะไปปรึกษาแพทย์ การไปหาจิตแพทย์ไม่ได้หมายความว่าคุณเป็นบ้า แต่คุณแค่ต้องการคนที่จะมาช่วยชี้แนะคุณ บอกถึงวิธีการดูแลตัวเองที่ดีขึ้น มีความสุขมากขึ้น สดใสมากขึ้น ก็เท่านั้นเอง

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0