โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

วิธีป้องกัน-ช่วยเหลือเด็กจมน้ำ ช่วงหน้าร้อน ที่พ่อแม่ต้องระวัง

UndubZapp

เผยแพร่ 16 เม.ย. 2560 เวลา 04.00 น. • อันดับแซ่บ
วิธีป้องกัน-ช่วยเหลือเด็กจมน้ำ ช่วงหน้าร้อน ที่พ่อแม่ต้องระวัง
ปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำอย่างไรให้ถูกวิธี เด็กไทยเสียชีวิตจากเหตุจมน้ำมากกว่าปีละ 1,400 คนต่อปี เพราะความประมาทหรือการได้รับความช่วยเหลือที่ไม่ถูกวิธี

สถิติจาก สสส. พบว่ามีเด็กไทยเสียชีวิตจากเหตุจมน้ำมากกว่าปีละ 1,400 คนต่อปี เฉลี่ยนวันละ 3 คน เพราะความประมาทหรือการได้รับความช่วยเหลือที่ไม่ถูกวิธี ทำให้สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายกว่าเดิม วันนี้ทาง Undubzapp ขอรวบรวมข้อมูลจาก สสส. ในการปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำอย่างไรให้ถูกวิธี ถ้าไม่อยากให้ลูกคนเป็น 1 ใน 1,400 คนนี้ ต้องรีบอ่านด่วนค่ะ

ถ้าเด็กจมน้ำ แต่ยังรู้สึกตัว ช่วยเหลืออย่างไร?

ถ้าหากเด็กยังหายใจเองได้แต่ยังตกใจกลัว ให้เช็ดตัว เปลี่ยนเสื้อผ้าแห้ง และอย่าประมาท ให้รีบพาไปส่งโรงพยาบาลด่วน เพราะถึงแม้ช่วงแรกจะหายใจได้แต่อาจมีอาการหายใจลำบากได้ในภายหลังสาเหตุจากถุงลมในปอดถูกทำลายจากการสำลักน้ำ

ดูแล เด็ก เล่นน้ำ
ดูแล เด็ก เล่นน้ำ

การปฐมพยาบาลเด็กจมน้ำที่ไม่หายใจ/หัวใจหยุดเต้น

  • จดเบอร์ไว้เลย 1669 สถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ ประชาชนบาดเจ็บ ป่วยฉุกเฉิน โทรฟรี 24 ชั่วโมง จะมีเจ้าหน้าที่ดูแลช่วยเหลือท่านอย่างใกล้ชิด
  • เปิดทางเดินหายใจ โดยให้เด็กนอนราบ กดหน้าผากลงและเชยคางขึ้นเบาๆ
  • ตรวจการหายใจในเวลา 3-5 วินาที โดย - มองหน้าอกหรือท้องว่ามีการเคลื่อนไหวหรือไม่ - ฟังดูว่ามีเสียงหายใจหรือไม่ - สัมผัส โดยแนบใบหน้าไปใกล้จมูกและปากของเด็กเพื่อสัมผัสลมหายใจ
  • ช่วยเด็กหายใจ ด้วยการให้ประกบปากของผู้ช่วยเหลือ ครอบจมูกและปากของเด็ก แล้วเป่าลมหายใจออก 2 ครั้ง แต่ละครั้งยาว 1-2 วินาที และสังเกตว่าหน้าอกของเด็กขยายตามการเป่าลมหรือไม่
  • ห้ามอุ้มเด็กพาดบ่าเด็ดขาด กดท้อง จับเด็กห้อยหัว เขย่าเพื่อกระแทกน้ำออก เพราะจะทำให้เด็กอาเจียน สำลัก ขาดอากาศหายใจได้ มีโอกาสในการรอดชีวิตน้อยลง

การป้องกัน-เฝ้าระวังเด็กจมน้ำ

การดูแล เด็กขณะเล่นน้ำ
การดูแล เด็กขณะเล่นน้ำ
  • เลือกที่เล่นน้ำให้เหมาะสมแก่เด็ก เช่น สระว่ายน้ำที่มี Security ที่ดี ปลอดภัย เลี่ยงการเล่นน้ำตามบึง คลอง แม่น้ำ ที่ลึกเกินไปไม่เหมาะกับเด็กเล็ก
  • ถ้าหากเลี่ยงการเล่นน้ำในบึง ลำคลอง แม่น้ำ ทะเลไม่ได้จริงๆ ต้องมีผู้ปกครองคอยดูแลอย่างใกล้ชิด อย่าให้คลาดสายตา
  • ฝึกเด็กให้มีพื้นฐานในการว่ายน้ำบ้าง เช่นสามารถตะกุยน้ำเข้าฝั่งได้ ว่ายท่าปลาดาว หรือท่าลูกหมาตกน้ำ
  • อย่าไว้ใจอุปกรณ์ชูชีพมากนักเช่น ห่วงยาง โฟม เสื้อชูชีพ เพราะเด็กวัยนี้มักชอบเล่นซน ถึงอย่างไรผู้ปกครองก็ควรดูแลอย่าให้คลาดสายตา
  • การเล่นน้ำ แช่น้ำในอ่างที่บ้าน เป็นอีกหนึ่งสถานที่ที่พบเด็กจมน้ำมากที่สุด เพราะฉะนั้นผู้ปกครองควรดูแลและระมัดระวังความปลอดภัยให้เสมอ
  • เรียนรู้ใช้หลักการระวังภัยจมน้ำยามฉุกเฉินจาก สสส. คือ “ตะโกน โยน ยื่น”

“ตะโกน” คือ การเรียกให้ผู้ใหญ่มาช่วยและโทร.แจ้งทีมแพทย์กู้ชีพ 1669

“โยน” อุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวเพื่อช่วยคนตกน้ำเกาะจับพยุงตัว เช่น เชือก ถังแกลลอนพลาสติกเปล่า ขวดน้ำพลาสติกเปล่า หรือวัสดุที่ลอยน้ำได้โดยโยนครั้งละหลายๆ ชิ้น

“ยื่น” อุปกรณ์ที่อยู่ใกล้ตัวให้คนตกน้ำจับ เช่น ไม้ เสื้อ ผ้าขาวม้า ให้คนตกน้ำจับและดึงขึ้นมาจากน้ำ โดยเน้นให้เด็กรู้วิธีการช่วยเหลือคนตกน้ำอย่างถูกต้องโดยต้องไม่กระโดดลงไปช่วย

CR : thaihealthPixabay

---

อัปเรื่องแซ่บ ฟีดเรื่องมันส์ เม้าท์ทันเพื่อน
Facebook: @UndubZapp
Instagram: @UndubZapp

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ความเห็น 0

ยังไม่มีความเห็น