โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

วิธีป้องกัน งูเข้าแอร์ งูโผล่จากชักโครกต้องรู้ที่มางูเข้าบ้านได้ยังไง

MThai.com

เผยแพร่ 21 ก.ย 2562 เวลา 08.45 น.
วิธีป้องกัน งูเข้าแอร์ งูโผล่จากชักโครกต้องรู้ที่มางูเข้าบ้านได้ยังไง
ก็ต้องรู้ที่มากันเสียก่อนว่า พวกเขาเข้ามากันได้อย่างไร และมาจากทางไหนกันบ้าง

ปัญหาสัตว์มีพิษเข้าบ้านอย่าง งูเข้าแอร์ โผล่จากฝ้าเพดาน หรือ โผล่จากชักโครก มีให้พบเห็นอยู่บ่อยๆ ทั้งบ้านที่ตั้งอยู่ในชุมชน หรือ แถบชานเมืองก็ตาม ทำให้ผู้อยู่อาศัยอย่างเราๆ หวาดระแวงกันอยู่ไม่ใช่น้อย ถ้าอยากได้ วิธีป้องกันงูเข้าบ้าน ก็ต้องรู้ที่มากันเสียก่อนว่า พวกเขาเข้ามากันได้อย่างไร และมาจากทางไหนกันบ้าง

คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อดูวีดีโอ
คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อดูวีดีโอ

ดูวีดีโอ

งูมักจะเลื้อยเข้าตามรูที่จะสามารถเข้าได้จากภายนอกอาคาร แม้กระทั่งทางท่อระบายน้ำแอร์ ในช่วงที่ไม่มีน้ำไหล ซึ่งหากเปิดหน้ากากแอร์เพื่อทำความสะอาด บางครั้งก็เจอซากงูหรือเกล็ดลอกคราบของงูด้วย ส่วนการที่งูเข้าไปโผล่ตามชักโครกนั้นเกิดจาก 3 ประเด็น ดังนี้

1. ท่อระบายน้ำแตก ทั้งนี้ในการสร้างบ้านต้องมีการวางระบบท่อ และบ่อส้วมซึมไว้ใต้ดิน ซึ่งขุดบ่อไว้ด้านนอกและใช้ฝาปิด โดยนิสัยตามธรรมชาติแล้ว งูชอบอยู่ในพื้นที่ 3 ลักษณะ คือ โพรง ชื้น และมืด หากเกิดการชำรุด ท่อชักโครกที่ต่อตรงไปท่อบำบัดแตก อาจทำให้งูเลื้อยผ่านเข้าท่อระบายน้ำ แล้วหลุดเข้ามาที่บ่อเกรอะได้ ทำให้งูเลื้อยผ่านไปยังท่อที่เชื่อมกับคอห่านได้ง่ายดาย และทุกครั้งที่กดน้ำชักโครก น้ำจะรั่วซึมไหลตามท่อที่แตก ทำให้เกิดโพรงในดิน จนเกิดความชื้นและมืด งูจึงอาจเข้าไปทำรัง

2. ท่อระบายอากาศส้วม ซึ่งมีลักษณะเป็นรูปตัวทีสั้นๆ ขนาด 2 นิ้ว อยู่โผล่เหนือดิน งูสามารถเลื้อยเข้าได้

3. ถังบำบัดสำเร็จรูป ซึ่งอยู่ลึกใต้ดิน 10 – 20 เมตร ท่อไม่ได้ติดตาข่าย หรือฝาบ่อมีความชื้นและมืด หากแตกชำรุด เป็นโพรง งูอาจจะเข้าไปทำรังได้ หรือเลื้อยเข้ามาจากท่อที่เชื่อมบ่อเกรอะ

วิธีป้องกัน งูเข้าแอร์

ก่อนติดตั้งเครื่องปรับอากาศ ให้ช่างซื้อซีเมนต์ขาว, wall putty หรือ Acrylic มาอุดรู เพราะจะรื้อ กระเทาะ ตอนซ่อมแซม ได้ง่ายกว่าปูนทั่วไป

วิธีป้องกันงูเข้าบ้าน – โผล่จากชักโครก

ก่อนสร้างบ้าน-ส้วม เพื่อป้องกันทางไม่ให้งูโผล่ ผู้เชี่ยวชาญในเชิงวิศวกรแนะนำไว้ดังนี้ บ้านที่งูเข้ามาโดยมาก ตัวชักโครกและบ่อบำบัดจะอยู่ติดกัน พองูเข้ามาตามท่อก็โผล่มาที่ชักโครกเพื่อหาทางออก

ถ้าจะสร้างบ้านใหม่ ควรทำท่อให้ห่างจากบ้านให้มาก แต่ก็จะมีภาระในการดูแลรักษา เนื่องจากฝังใต้ดิน อาจแตกได้ เพื่อลดภาวะเสี่ยงในอนาคต ควรยึด 4 หลักของการสร้างบ้าน คือ ออกแบบดี ใช้วัสดุดี การก่อสร้างดี และการบำรุงรักษาที่ดี

  • กรณีท่อระบายอากาศอยู่ไม่สูงนัก ให้หาตะแกรงคลุมปลายท่อ และมัดให้แน่น แต่ปัจจุบันหมู่บ้านจัดสรร มีวิธีป้องกันโดยเดินท่อระบายอากาศแนบผนังให้อยู่สูงในระยะเกือบชั้นสองของบ้านที่งูไม่สามารถเลื้อยเข้าไปได้ ซึ่งหลายคนคิดว่า เพื่อตัดปัญหา งั้นไม่ต้องมีท่อระบายอากาศได้หรือไม่ ซึ่ง ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกร อธิบายว่า จะมีผลกระทบเวลากดปล่อยน้ำ อากาศจะดันทำให้การไหลลงของสิ่งปฏิกูลไม่มีประสิทธิภาพ เกิดน้ำเอ่อ ส่วนบ่อเกรอะก็ทำตาข่ายที่ปลายท่อกันไว้
  • ห้องน้ำชั้นล่างของบ้านมีโอกาสที่งูเข้าบ้านบ่อยกว่าห้องน้ำชั้นบน เพราะงูเลื้อยขึ้นไม่ได้ ต้องหมั่นตรวจสอบและแก้ไขระบบท่อ หากมีการรั่ว มีช่องโหว่ ให้รีบแก้ไข บริเวณปลายท่อน้ำทิ้งควรติดตั้งตะแกรงหรือตาข่ายป้องกันงูไม่ให้เลื้อยผ่านเข้ามายังท่อ ส่วนบ่อเกรอะหากเป็นระบบเก่า ให้ทำระบบใหม่ โดยเดินท่อให้ห่างจากชักโครก แต่เดี๋ยวนี้บ่อบำบัดสมัยใหม่ โอกาสงูจะเข้าตรงท่ออากาศมีน้อย เพราะมีแผงบำบัดน้ำเสียหลายขั้นตอน
  • บ่อพักน้ำในระบบระบายน้ำออกภายนอกอาคารควรมีฝาปิดและหมั่นดูแลบำรุงรักษาให้อยู่ในสภาพดี เนื่องจากบ่อพักน้ำมีลักษณะเป็นโพรงที่มีความชื้น ความเย็นและมืด เหมาะกับการอยู่อาศัยของงู จึงต้องตรวจสอบว่ามีงูหรือไม่
  • ควรติดตั้งตะแกรงกันงูตามท่อระบายน้ำทิ้งต่างๆ เช่น ท่อระบายน้ำจากครัว ท่อระบายน้ำทิ้งจากเครื่องปรับอากาศ ก็เคยพบซากงูในบริเวณคอยล์เย็น จึงเป็นอีกจุดที่ควรปิดด้วยตะแกรงที่เชื่อมออกไปนอกตัวบ้าน
  • ปิดประตูส่วนที่ติดกับพื้นที่นอกบ้าน เช่น ประตูครัว บานเปิดห้องรับแขกกับสวน และปิดประตูห้องน้ำให้สนิท ก่อนเข้าห้องน้ำหรือทำภารกิจควรสังเกตภายในห้องน้ำ คอห่านหรือชักโครก ว่ามีสิ่งผิดปกติหรือไม่ และทำการกดน้ำหรือราดน้ำก่อนใช้งาน
  • อุดรอยรั่ว รอยแยก หรือช่องต่าง ๆ ที่งูจะสามารถเข้าไปซ่อนตัวอาศัยได้ และกำจัดแหล่งอาหารของงู เช่น หนู จิ้งจก  ควรดูแลบ้านไม่ให้มีสัตว์เหล่านี้ โดยดูแลบ้านให้สะอาด ไม่รกรุงรังจนกลายเป็นที่อยู่ของหนู จัดเก็บทิ้งขยะให้เป็นที่เป็นทาง หรือหากชอบเลี้ยงสัตว์จำพวกนก ไก่ ก็ควรทำกรงเป็นที่อยู่ให้มิดชิด
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0