โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

วิธีปรับเวลานอน เมื่อคุณนอนไม่หลับ นอนดึก ไม่เป็นเวลา ส่งผลต่อการทำงาน

IT24Hrs

เผยแพร่ 23 ก.ค. 2562 เวลา 09.18 น. • iT24Hrs by ปานระพี
วิธีปรับเวลานอน เมื่อคุณนอนไม่หลับ นอนดึก ไม่เป็นเวลา ส่งผลต่อการทำงาน

วิธีปรับเวลานอน เมื่อคุณนอนไม่หลับ นอนดึก นอนใกล้เข้า แล้วตื่นมาลุยตอนบ่าย นั่นหมายความว่าคุณกำลังนอนไม่เป็นเวลา ส่งผลเสียต่อสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นอารมณ์ หรือการทำงานของสมอง ซึ่งส่วนมากเกิดจากนอนไม่หลับ โดยสาเหตุนอนไม่หลับนั้นแบ่งออกเป็น 3 แบบ

วิธีปรับเวลานอน เมื่อคุณนอนไม่หลับ นอนดึก
วิธีปรับเวลานอน เมื่อคุณนอนไม่หลับ นอนดึก

1.แบบชั่วคราว

หมายถึง นอนไม่หลับติดต่อกันเป็นหลายวัน แต่ไม่ถึงหลายสัปดาห์ หลายคนอาจจะเคยประสบกับปัญหานี้ ส่วนใหญ่จะเป็นเรื่องของความเครียด หรือความกังวลใจต่อเหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่ง เช่น ทะเลาะกับเพื่อนหรือ

2.แบบต่อเนื่อง

คือ อาการนอนไม่หลับที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง เป็นสัปดาห์ๆก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะหายหรือดีขึ้นส่วนใหญ่มักเป็นผลจากความเครียด หรือเหตุการณ์ที่ทำให้เครียดนั้นยังไม่คลี่คลาย เช่น ตกงาน ปัญหาเศรษฐกิจเงินทอง รวมถึงปัญหาครอบครัว

3.แบบเรื้อรัง

เกิดขึ้นต่อเนื่องเกือบทุกคืน ติดต่อกันหลายเดือน หรือแม้กระทั่งเป็นปีสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการ ก็จะเริ่มซับซ้อนมากขึ้น ไม่ตรงไปตรงมาเพียงแค่ ว่าเครียดแล้วนอนไม่หลับ หลายครั้งที่ความเครียดได้ เบาบางหรือหายไปหมดแล้ว แต่อาการนอนไม่หลับ กลับยังดำเนินอยู่ต่อ บางคนใจจดใจจ่อตลอดเวลา ว่าคืนนี้จะหลับหรือไม่หลับ ถ้าไม่หลับแล้วพรุ่งนี้จะเป็นอย่างไร จะทำงานได้อย่างแจ่มใสหรือไม่ ทำให้เกิดความรู้สึกกลัวการนอน ไม่กล้าที่จะนอน เลยทำให้แทนที่เวลานอนจะเป็นเวลาที่ให้ความสุข กลับกลายเป็นช่วงเวลาที่มีแต่ความทุกข์และทรมาน

วิธีปรับเวลานอน เมื่อคุณนอนไม่หลับ นอนดึก
วิธีปรับเวลานอน เมื่อคุณนอนไม่หลับ นอนดึก

อยากปรับพฤติกรรมการนอน ทำอย่างไร?

– ไม่ควรใช้เวลาอยู่บนเตียงนานๆ โดยที่ไม่หลับ ไม่ควรนอนค้างอยู่บนเตียงทั้งที่ไม่หลับ ด้วยความคิดที่ว่าอยากจะชดเชยการนอนให้มากที่สุด เพราะการกระทำลักษณะนี้จะยิ่งทำให้คุณภาพการนอนยิ่งแย่ลง และเกิดความไม่ต่อเนื่องของการหลับได้มากขึ้น

– ถ้าจะมีการงีบหลับในช่วงบ่าย อาจจัดเวลางีบหลับให้เป็นประจำสม่ำเสมอ โดยไม่ควรเกิน 1-2 ชม. และไม่ควรงีบหลับหลัง 15.00 นาฬิกา เพราะอาจมีผลต่อการนอนหลับในคืนนั้น.

– หาเวลาออกกำลังกายให้เหมาะสมกับสุขภาพร่างกายเป็นประจำสม่ำเสมอเป็นเรื่องสำคัญ เพราะจากการศึกษาพบว่าการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอในผู้สูงอายุนั้นมีความสัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับที่ดีขึ้น

– ควรตื่นนอนในตอนเช้าให้เป็นเวลาทุกวันสม่ำเสมอ

ซึ่งการปรับตัวการนอนหลับให้ได้นอนแล้วตื่นตามเวลาที่กำหนดนี้ ต้องใช้เวลาพอสมควรถึงจะเห็นผล

ข้อมูลจาก ศูนย์วิจัยสุขภาพกรุงเทพ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0