โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

วิธีทดสอบดินเปรี้ยว-เค็มด้วยตัวเอง

รักบ้านเกิด

อัพเดต 18 ก.พ. 2563 เวลา 06.37 น. • เผยแพร่ 18 ก.พ. 2563 เวลา 06.37 น. • รักบ้านเกิด.คอม

การจะปลูกพืชใดๆให้ได้ผลดีนั้น ดินที่เหมาะสมกับพืช เป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญมากในการตัดสินว่า พืชจะเจริญเติบโตได้ดีหรือไม่ หลักการของการทำเกษตรแบบปลอดสารเคมีนั้น อยู่ที่การทำให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์มากที่สุดเพื่อที่พืชจะได้รับสารอาหารจากดินอย่างเต็มที่

Plant/539_1.jpg
Plant/539_1.jpg

มีข้อสังเกตหลายประการที่เราอาจจะไม่ทราบถึงเหตุผลที่ดินของเรานั้นขาดธาตุอาหารที่จำเป็นต่อพืชอยู่เช่น
- หน้าดินถูกรบกวน อาจเกิดจากการถูกขุดไปทำการก่อสร้าง เคลื่อนย้ายไปถมที่
- การเหยียบย่ำ ที่ทำให้หน้าดินแข็ง
- การปลูกพืชชนิดเดิมๆ เป็นเวลาติดต่อกันหลายปี โดยไม่มีการเติมอินทรียวัตถุให้กับดิน
- เชื้อราและแบคทีเรีย ในดินตายลงเนื่องจากการใช้ปุ๋ยเคมี
ลักษณะทางกายภาพ : ไม่เหมาะสม เช่น ดินไม่อุ้มน้ำ หรือมีค่า pH ไม่เหมาะสม
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับดินที่หลายๆท่านทราบจากชั้นเรียนวิชาเกษตรตอนเป็นเด็กก็คือ ดินแบ่งชนิดออกเป็น ดินเหนียว ดินร่วน และดินทราย ซึ่งมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำต่างกัน พืชจะชอบลักษณะใด อยู่ที่ความชอบน้ำของพืชแต่ละชนิด แต่วันนี้ เราจะมาดูคำจำกัดความของดินอุดมสมบูรณ์กัน เพราะไม่ว่าดินชนิดไหนก็อุดมสมบูรณ์ได้ไม่แพ้กันเมื่อประกอบไปด้วยเงื่อนไขต่างๆดังต่อไปนี้

  1. ค่าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ที่เหมาะสม
  2. ความชื้นที่เหมาะสม
    3.แบคทีเรีย และเชื้อรา ชั้นดีเป็นจำนวนมาก
  3. การระบายอากาศที่ดี
  4. ความร่วนซุย
    เมื่อองค์ประกอบทุกอย่างครบสมบูรณ์ ปัจจัยเหล่านี้จะช่วยปลดปล่อยธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินให้พืชนำไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นดินที่มีค่า pH ที่เหมาะสมเท่านั้นจึงจะเอื้อให้เกิดสภาพที่เหมาะสมในการปลูกพืชที่สุด
    แล้วเราจะเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินด้วยการปรับปรุงค่า pH ได้อย่างไร ?
    เริ่มแรกเราต้องทราบค่า pH ของดินในพื้นที่เราก่อน เพื่อทำการปรับปรุงให้เหมาะสมแก่การปลูกพืช ค่า pH นั้นเป็นค่าที่วัดระดับความเปรี้ยวหรือเค็มของดิน โดยแบ่งออกเป็นช่วงตั้งแต่ 1-14 เมื่อดินอยู่ระดับที่มีค่า pH ที่เหมาะสมประมาณ 6.0-7.5 ที่ระดับ pH นี้แร่ธาตุอาหารส่วนใหญ่จะสามารถละลายได้เต็มที่ และรากของพืชจะสามารถดูดซึมแร่ธาตุได้ก็ต่อเมื่อมันละลายแล้วเท่านั้น แต่เมื่อค่า pH นั้นลดต่ำกว่า 6 หมายถึงความเป็นกรดสูงการละลายของไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียมจะไม่ค่อยดี ซึ่งทำให้มีธาตุอาหารเหล่านี้ในดินน้อยลง เช่นเดียวกันกับเมื่อค่า pH เพิ่มขึ้นเกิน 7.5 ธาตุเหล็กแมงกานีส และฟอสฟอรัสก็จะมีปริมาณน้อยลง เนื่องจากไม่สามารถละลายสู่ดินที่เค็มเกินไปได้
    วิธีง่ายๆ ในการทดสอบดินเปรี้ยวหรือดินเค็ม ก็คือ ลองตักดินหนึ่งช้อนโต๊ะใส่ในน้ำฝน 1 แก้ว และเติมแอมโมเนียลงในแก้วประมาณ เศษ 2/3 ของแก้ว คนให้เข้ากันและทิ้งไว้สองชั่วโมงผลที่ได้ถ้าหากน้ำใสคือดินมีความเค็ม หากน้ำยังขุ่นอยู่หมายถึงดินเปรี้ยวและเป็นกรด
    หากต้องการทราบข้อมูลเกี่ยวกับค่า pH อย่างละเอียดมากขึ้นท่านสามารถส่งตัวอย่างดินของท่านตรวจสอบที่ห้องแลปของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้โดยท่านอาจจะซื้อเครื่องมือตรวจสอบ pH ของดินมาตรวจเองก็ได้
    การปรับปรุงดินให้ดีขึ้นนั้นสามารถทำได้หลายวิธี หนึ่งในวิธีที่ไม่ยุ่งยากนั้นก็คือการเพิ่มอินทรียวัตถุให้กับดิน อย่างเช่น การใส่วัสดุธรรมชาติ แร่ธาตุ มูลสัตว์ หรือ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมักจะช่วยให้ดินที่เค็มหรือเปรี้ยวส่วนใหญ่ มีสภาพที่เป็นกลางมากขึ้นสำหรับดินที่มีสภาพเป็นกรดมาก การแก้ไขอาจจะต้องมีการเติมปูนขาวลงในดินก่อนฤดูการเพาะปลูก ซึ่งปูนขาวนั้นจะย่อยสลายอย่างช้าๆในดินโดยปริมาณการใส่นั้น อาจจะใส่ในปริมาณ 50-100 กิโลกรัม ต่อ 1 ไร่ เพื่อเพิ่มค่า pH ให้สูงขึ้น 1 ขั้น โดยส่วนใหญ่แล้วเรามักจะเติมปูนขาวลงในดินเหนียวมากกว่าดินทราย ดังนั้นเราจำเป็นต้องรู้ค่า pH ตั้งต้นของดินก่อนที่จะทำการปรับปรุง ในบางกรณีเราอาจจะใส่ขี้เถ้าทุกๆสองสามปีเพื่อผลที่รวดเร็วขึ้น แต่ควรระวังว่าอย่าใส่มากเกิน 1 ตันต่อไร่
    ในพื้นที่มีดินเค็มนั้นการปรับปรุงสามารถทำได้โดยเติมกำมะถัน แต่ปริมาณการเติมนั้นก็ย่อมขึ้นอยู่กับค่า pH เริ่มต้นของดินเช่นกัน เพื่อความมั่นใจเราอาจจะต้องทำการส่งดินตรวจสอบและอ้างอิงคำแนะนำจากผลการตรวจดินในการแก้ไขเพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุด
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0