โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

วิธีกล่าวคำปฏิเสธอย่างสุภาพ

issue247.com

อัพเดต 11 ม.ค. 2562 เวลา 04.52 น. • เผยแพร่ 12 ม.ค. 2562 เวลา 00.00 น.

คนส่วนใหญ่มักจะตอบตกลงกับทุกคำเชิญ การขอความช่วยเหลือ และข้อเรียกร้องต่างๆเพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาและความรู้สึกอึดอัดที่จะกล่าวคำปฏิเสธ แต่การตอบตกลงทั้งที่ต้องการปฏิเสธจะทำให้จิตใจเหนื่อยล้าอย่างมหาศาล แต่โชคดีที่มีการกล่าวคำปฏิเสธที่ทำให้เรารู้สึกอึดอัดน้อยลง และด้านล่างนี้คือกลยุทธ์ในการกล่าวคำปฏิเสธใน 5 สถานการณ์แตกต่างกัน

 

สถานการณ์ที่ 1

คุณถูกขอร้องให้ไปทำงานแต่คุณวางแผนที่จะทำกิจกรรมบางอย่างแล้ว เช่น ออกไปเดินเล่นกับสุนัข นับว่ายากมากกับการปฏิเสธหากคุณมีเหตุผลที่ฟังดูค่อนข้างคลุมเครือหรือเหมือนไม่ค่อยสำคัญเท่าไหร่โดยเฉพาะถ้าคุณต้องปฏิเสธต่อหน้า กลยุทธ์ของเราคือทำให้คำแก้ตัวของคุณมีความหนักแน่นมากขึ้น เนื่องจากคำแก้ตัว เช่น “ช่วงนี้ฉันออกกำลังกายไม่พอ” นั้นช่างเบาหวิวเหลือเกิน แต่ถ้าคุณมีกิจกรรมชัดเจนอย่าง “ไปปั่นจักรยานกับบัสเตอร์” หรือ “ฉันมีแผนสำหรับคืนนี้แล้วแต่เดี๋ยววันหยุดนี้ฉันไปช่วยก็ได้” ก็แปลว่าคุณไม่มีเวลาไปทำงานให้จริงๆและสามารถกล่าวคำปฏิเสธได้

 

สถานการณ์ที่ 2

คณะกรรมการหรือกลุ่มเพื่อนร่วมงานขอให้คุณทำงานมากขึ้นกว่าเดิมเพียงเพราะว่าพวกเขางานยุ่งเหลือเกิน การกล่าวคำปฏิเสธกับกลุ่มเพื่อนร่วมงานจะยากมากเป็นพิเศษ นั่นเป็นเพราะคุณอาจต้องเผชิญกับความรู้สึกผิดหวังจากคนจำนวนมากไม่ใช่แค่คนๆเดียว อย่างไรก็ตามเราไม่จำเป็นต้องวิตกกังวลมากขนาดนั้นหรอก เนื่องจากคนส่วนใหญ่มักคิดว่าคนอื่นๆจะตัดสินตัวเองในแง่ลบมากกว่าความเป็นจริง แต่จริงๆแล้วพวกเขาจะเคารพการตัดสินใจของเรามากกว่าเดิมเพราะเรามีขอบเขตที่แน่วแน่ วิธีที่ดีที่สุดในสถานการณ์นี้คือให้ความเคารพตัวเองและบอกพวกเขาไปตรงๆว่าคุณต้องการอะไร บอกเลยว่าวิธีนี้จะให้ผลดีในระยะยาว คุณต้องยืนยันไปว่า “เสียใจด้วยนะแต่ฉันต้องรับผิดชอบงานของตัวเองในสัปดาห์นี้ก่อน”

 

สถานการณ์ที่ 3

คุณได้รับเชิญไปงานเลี้ยงแต่คุณเหนื่อยและสงสัยว่าตัวเองจะไม่สบาย มนุษย์เรามักจะเลือกสิ่งที่ตัวเองพึงพอใจในปัจจุบันมากที่สุดแทนที่จะเลือกสิ่งที่ดีที่สุดเพื่ออนาคต เช่น งานเลี้ยงที่แสนสนุกสุดเหวี่ยง เราจะตัดสินใจได้ดีขึ้นเมื่อนึกถึงอนาคต ไม่ใช่เอาแต่คิดว่าเราจะพลาดอะไรไปในตอนนี้ ลองคิดถึงครั้งสุดท้ายที่คุณอดนอนเพื่อไปเที่ยวสิและพยายามนึกให้ออกว่าเกิดอะไรขึ้น ถามตัวเองสิว่าพรุ่งนี้เช้าคุณจะรู้สึกและมีสภาพอย่างไรหากอดนอนหรือไม่ได้พักผ่อนในคืนนี้?

 

สถานการณ์ที่ 4

งานของคุณล้นแล้ว แม้ว่าจะขัดกับความรู้สึก แต่การมีเวลาไม่พอหรือมีเวลาจำกัดจะทำให้เรายิ่งจัดการสิ่งต่างๆได้ยากขึ้นไปอีก ยิ่งเรายุ่งมากเท่าไหร่ เราจะยิ่งเอ่ยคำปฏิเสธยากมากขึ้นเท่านั้นในการขอร้องครั้งต่อไป ทางแก้ล่ะ? ฝึกใช้เหตุผลในการปฏิเสธ เช่น “ถ้าช่วยได้ก็จะช่วยแต่สัปดาห์นี้ฉันงานยุ่งมากเลย” นอกจากนี้เมื่อเรารู้สึกเหนื่อยหรือเครียดก็มีแนวโน้มที่เราจะทำทุกอย่างตามความเคยชิน แต่เราสามารถฝึกสมองให้ชินกับการปฏิเสธแทนที่จะเอาแต่ตอบตกลงได้โดยการซ้อมรับมือเมื่อมีคนมาขอความช่วยเหลือ

 

สถานการณ์ที่ 5

มีคนขอร้องให้คุณทำเรื่องผิดจรรยาบรรณ เช่น ปกปิดเรื่องที่พวกเขาโดดงาน แม้ว่าชาวอเมริกันจะชื่นชมผู้ที่กล้าเผชิญหน้ากับแรงกดดัน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการปฏิเสธคำร้องขอที่ผิดจรรยาบรรณจะเป็นเรื่องง่ายนะ ล่าสุดมีการทดสอบให้อาสาสมัครขอให้คนแปลกหน้าทำในสิ่งที่ผิดจรรยาบรรณ เช่น ขอให้เขียนข้อความลงไปในหนังสือของห้องสมุด ปรากฏว่าคนแปลกหน้าเกินกว่าครึ่งหนึ่งยอมทำตามที่ขอ ที่สำคัญการปฏิเสธคำขอร้องแบบนี้จะยิ่งยากถ้าอีกฝ่ายเป็นเพื่อนของคุณ ทางที่ดีคุณควรเตือนสติตัวเองและเพื่อนของคุณว่าอะไรคือสิ่งสำคัญที่สุด เช่น “ฉันเข้าใจความพยายามของเธอนะและฉันก็หวังว่าจะช่วยได้ แต่ฉันไม่สามารถโกหกได้จริงๆเพราะความซื่อสัตย์เป็นเรื่องสำคัญสำหรับฉันมาก”

คำว่า “ไม่” อาจเป็นคำที่เพื่อนของคุณไม่อยากได้ยิน ขณะที่คุณก็ไม่อยากพูดออกไปเช่นกัน ดังนั้นจงยืนยันคำปฏิเสธพร้อมกับความเห็นใจให้มากที่สุด การใช้คำพูดเดิมซ้ำๆจะเป็นการย้ำเตือนว่าคุณจะไม่ทำเช่นนั้นเด็ดขาดต่อให้อีกฝ่ายสร้างแรงกดดันให้คุณมากขนาดไหนก็ตาม

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0