โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

วิกฤต! ถ้าโลกร้อนขึ้นแค่ 2 องศา “ภาวะโลกร้อน” จะแก้ไม่ได้ตลอดกาล!

TheHippoThai.com

เผยแพร่ 14 ส.ค. 2561 เวลา 11.00 น. • Mr.Vop

วิกฤต! ถ้าโลกร้อนขึ้นแค่ 2 องศาภาวะโลกร้อนจะแก้ไม่ได้ตลอดกาล!

หลายคนกำลังตื่นเต้นกับข่าวคลื่นความร้อนบุกญี่ปุ่น ยุโรป กรีซ สหรัฐฯ แคนาดา ปากีสถาน และเกิดความสงสัยว่า กำลังเกิดอะไรขึ้นกับโลกใบนี้

การเกิดคลื่นความร้อนเข้าปกคลุมพื้นที่ต่างๆ เป็นเรื่องปกติที่เกิดมาตลอด ในอดีตเคยเกิดมาหลายครั้ง โดยสถิติร้อนสุดของยโรปคือ 48°C เกิดที่กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ เมื่อเดือนกรกฏาคมปี 1977 แต่ครั้งร้ายแรงที่มีจำนวนผู้เสียขีวิตมากที่สุดนั่นคือคลื่นความร้อนยุโรปในปี 2003 ทีทำให้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 30,000 ราย เฉพาะในฝรั่งเศสประเทศเดียวปีนั้นก็เสียชีวิตเกิน 14,000 รายแล้ว 

แต่ทำไมข่าวในไทยพูดถึงคลื่นความร้อนในปีนี้  (2018) มากกว่าปีอื่นๆ นั่นอาจเป็นเพราะโซเชียลมีเดียในยุคนี้ที่ทำให้เข้าถึงข้อมูลได้มากขึ้น แต่ที่สำคัญก็คือคลื่นความร้อนในปีนี้ ได้เข้าจู่โจมประเทศที่เราสนใจ นั้นคือประเทศญี่ปุ่น ทำให้เรารู้สึกว่าภัยนี้ใกล้ตัวยิ่งกว่าปีใดๆที่ผ่านมา

ฤดูร้อนปีนี้ประเทศญี่ปุ่นถูกหย่อมความกดอากาศสูง 2 หย่อมปกคลุมหลังวันที่ 9 ก.ค. เป็นต้นมาโดยไม่ขยับ ทำให้อากาศเย็นจากรอบด้านไม่เช้ามาสับเปลี่ยน อุณหภูมิจึงสูงขึ้นเรื่อนๆ จนเมื่อวันที่ 23 ก.ค. ที่ผ่านมา ญี่ปุ่นก็ร้อนทำลายสถิติตลอดกาลของประเทศตัวเองที่ 41.1 °C ในเมืองคุมากายะ จังหวัดไซตามะ และมีผู้เสียชีวิตจากคลื่นความร้อนครั้งนี้ถึง 116 ราย

แต่หย่อมความกดอากาศสูงไม่ใช่สาเหตุหลักของคลื่นความร้อนในยุโรป ปีนี้ยุโรปต้องเจอกับปัญหาคลื่นความร้อนก็เนื่องมาจากการแผ่ข้ามทะเลของมวลอากาศร้อนเหนือทะเลทรายซาฮารา และก็แตกต่างไปในกรณีของคลื่นความร้อนในสหรัฐฯอันมีสาเหตุมาจากความผิดปกติของกระแสลมเจ็ทสตรีม

แม้ว่าสาเหตุการเกิดคลื่นความร้อนเฉพาะแห่งจะแตกต่างกัน สิ่งที่เชื่อมโยงถึงกันก็คือการเกิดคลื่นความร้อนปีนี้ เกิดในทุกทวีปของซีกโลกเหนือ คือเกิดในทุกทวีปที่เข้าฤดูร้อนเวลานี้ (ฤดูร้อนในซีกโลกเหนือเกิดระหว่างเดือน มิ.ย. ถึง ก.ย.) ที่มาของปรากฏการณ์นี้อาจน่ากังวลกว่าที่เราคิดไว้ คลื่นความร้อนปีนี้จึงไม่ใช่แค่เกิดแล้วก็ผ่านๆไปเมื่อเข้าฤดูอื่นเหมือนปีที่แล้วๆมา

ล่าสุดจากการวิจัยที่ตีพิมพ์ ลงในวารสาร Proceedings of the National Academy of Science ระบุว่า หากอุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศโลกเวลานี้ (เฉลี่ยทั้งปีไม่ใช่แค่ฤดูร้อน) สูงกว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศโลกเมื่อก่อนยุคอุตสาหกรรมคือก่อนช่วงปี ค.ศ. 1850 เกินว่า 2°C โลกเราจะหันไปสู่จุดที่จะกลายสภาพเป็นเรือนกระจกถาวรไม่หวนกลับ จุดที่เราจะแก้ปัญหาโลกร้อนไม่ได้อีกเลย

ข่าวร้ายคือ ตอนนี้เราใช้โอกาสหมดไปแล้วครึ่งทาง อุณหภูมิเฉลี่ยของบรรยากาศโลกสูงเกิน 1°C จากจุดเริ่มต้นแล้ว นั่นคือเหลืออีก 1°C เราก็จะไปถึงจุดต้องห้าม จุดที่สภาพบรรยากาศโลกจะเลวร้ายจนไม่หวนกลับ จุดที่นักวิทยาศาสตร์เรียกว่าโลกในยุค  'Hothouse Earth' ถึงตอนนั้นไม่ใข่แค่คลื่นความร้อน แต่สภาพอากาศเลวร้ายสุดขั้วจะเกิดตามมา อากาศในฤดูร้อนจะร้อนกว่าปกติอีก 5°C ขึ้นไป

จะเกิดพายุหมุนเขตร้อนที่รุนแรงและมีขนาดใหญ่กว่าที่มีมา ฝนจะตกหนักเป็นพันมิลลิเมตร เกิดพายุลูกเห็บก้อนยักษ์ และอื่นๆ จนมนุษยชาติต้องอพยพย้ายถิ่นที่อยู่กันหลายประเทศ โลกในวันนี้จะเหลือพิ้นที่ๆเหมาะสมกับการอยู่อาศัยไม่มาก 

จริงอยู่ที่เวลานี้หลายประเทศพยายามลดการปล่อยคาร์บอนไดออกไซค์สู่ชั้นบรรยากาศ แต่ดูเหมือนจะไม่ทันประเทศที่กำลังทำลายป่าอย่างมโหฬารเพื่อก้าวเข้าสู่ความเจริญ เช่นพม่า ลาว ฯลฯ โดยเฉพาะป่าฝนผืนใหญ่ 2 แห่งสุดท้ายในโลกคือในบราซิล และอินโดนีเชีย การทำลายป่าจะทำให้ปริมาณคาร์บอนในบรรยากาศโลกเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและเข้าสู่วงจรโลกร้อนตามที่เรากังวลกัน

นักวิทยาศาตร์ทุกคนกล่าวไปในทางเดียวกันว่าอยากให้ผลการวิจัยของตนนั้นผิด เพื่อโลกจะได้ไม่เดินหน้าไปสู่หายนะอย่างที่ประเมินกันไว้ แต่ดูเหมือนผลวิจัยจากเกือบทุกสำนักจะชี้ไปในทางเดียวกัน ที่เหลือคงเป็นหน้าที่ของพวกเราที่จะต้องช่วยกันแก้ไข ก่อนที่ทุกอย่างจะสายเกินไป

 

เรียเรียงโดย Mr.Vop

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0