โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

อาหาร

วิกฤตแรงงานไทย ตกงานไม่ทันตั้งตัวช่วง COVID-19

Thai PBS

อัพเดต 02 พ.ค. 2563 เวลา 12.29 น. • เผยแพร่ 02 พ.ค. 2563 เวลา 12.29 น. • Thai PBS
วิกฤตแรงงานไทย ตกงานไม่ทันตั้งตัวช่วง COVID-19

ผู้ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19 หลายคนมาต่อแถวรอรับอาหารบริจาค ที่วัดบุญศรีมุนีกรณ์ เขตคันนายาว กรุงเทพฯ มีทั้งแม่ค้า มอเตอร์ไซค์รับจ้าง แรงงานข้ามชาติ และคนตกงาน

หนึ่งในนั้นคือ นางบัวผัด สายสุรินทร์ วัย 47 ปี ที่มาพร้อมลูกชายวัย 10 ขวบ อาหารที่ได้รับช่วยเธอและลูกชายอยู่รอดไปอีกมื้อ เธอกลายเป็นคนตกงาน หลังนายจ้างเลิกจ้างกระทันหัน ตั้งแต่วันที่ 22 มี.ค.ที่ผ่านมา

 

บัวผัดเป็นลูกจ้างรายวัน ตำแหน่งแม่บ้านบริษัทเอกชนแห่งหนึ่ง ทำงานสัปดาห์ละ 3 วัน ได้ค่าแรงวันละ 500 บาท ไม่มีสวัสดิการใด ๆ เพราะไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ขณะนี้ได้รับสิทธิเงินเยียว 5,000 บาทจากรัฐบาลแล้วรอการโอนเงินเข้าบัญชี

 

ห้องเช่าเล็ก ๆ ในซอยนวมินทร์ 163 เขตบึงกุ่ม เป็นที่อาศัยของบัวผัดและลูกชาย ส่วนสามีของเธอรับจ้างขับรถขนส่งสินค้าจะกลับมาหาสัปดาห์ละ 1 ครั้ง และให้เงินไว้ 300 บาท เพื่อเป็นค่าอาหารสำหรับสองแม่ลูก

"เราก็กินมื้อเดียวก็พอจบ แค่เอาน้ำประทังชีวิตไปก่อนตอนนี้ เพราะว่าต้องเตรียมไว้ให้ลูกชายกินทุกวัน ตอนนี้มีแต่ไข่ ตอนที่ยังไม่ตกงานก็ยังซื้อปลากระป๋องไว้บ้าง แต่ตอนนี้เหลือปลากระป๋องแค่เพียงกระป๋องเดียว" บัวผัด เล่า

เมื่อไม่มีรายได้แต่รายจ่ายเท่าเดิม ทั้งค่าเช่าบ้านเดือนละเกือบ 3,000 บาท และยังเป็นหนี้นอกระบบอีก 10,000 บาท กลายเป็นความเครียดจนเธอคิดฆ่าตัวตายมาแล้ว แต่ได้ก็กำลังใจจากลูกชายเป็นแรงผลักดันให้สู้ชีวิต

"คิดบางวันก็อยากตาย แต่มองหน้าลูกไม่รู้จะทำอย่างไร อยากนอนแบบไม่ตื่น ลูกชายต้องเก็บยาซ่อนแบบมันเหนื่อย เพราะเราเคยมีรายได้แต่ตอนนี้ไม่มีเลย"

รศ.ยงยุทธ แฉล้มวงษ์ ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาแรงงาน ทีดีอาร์ไอ ระบุว่า การแพร่ระบาดของ COVID-19 ถือวิกฤตของแรงงานไทย เพราะเกิดผลกระทบ เป็นวงกว้างทั้งในและนอกประเทศ และรุนแรงกว่าวิกฤตต้มยำกุ้งในปี 2540 ที่ผลกระทบจำกัดในกลุ่มสถาบันการเงินและบางธุรกิจ ซึ่งแรงงานนอกระบบที่มีอยู่ 20 กว่าล้านคน เป็นกลุ่มที่น่าเป็นห่วงมากที่สุด เพราะไม่มีสวัสดิการใดรองรับ

"แรงงานนอกระบบเป็นแรงงานที่ทำงานชั่วคราว ทำงานอิสระ ไม่ได้มีนายจ้าง มีบางส่วนเท่านั้นที่อยู่ในระบบประกันสังคมมาตรา 40 ส่วนใหญ่ต้องพึ่งการรักษาการพยาบาล 30 บาทรักษาทุกโรค ดังนั้นการประกันรายได้ก็ไม่มี และมักจะไม่มีเงินเก็บ" รศ.ยงยุทธ กล่าว

ดังนั้น จึงเสนอให้รัฐต้องมีมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยต่อไป และต้องสำรวจข้อมูลให้คนเข้าถึงสวัสดิการรัฐทุกกลุ่มที่สำคัญกระทรวงแรงงานต้องสนับสนุนการจ้างงาน เพื่อแก้ปัญหาคนว่างงาน ให้มีรายได้เลี้ยงปากท้องในยามวิกฤตเช่นนี้

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0