โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

วิกฤตเมดิเตอร์เรเนียน: ฝันร้ายของเหล่าฉลาม

WWF-Thailand

เผยแพร่ 26 พ.ย. 2562 เวลา 17.01 น.

“เราอยากเนรมิตให้เมดิเตอร์เรเนียนเป็นดั่งสวรรค์ใต้มหาสมุทร แต่สวรรค์จะขาดนางฟ้าไม่ได้” ครั้งยังเป็นเด็ก Danijel Kanski ได้อ่านเรื่องราวมากมายเกี่ยวกับปลาฉลามนางฟ้า ในหนังสือระบุว่าปลาฉลามนางฟ้านั้นขนาดมีเทียบเท่าปลาทูน่าโตเต็มวัย และอาศัยอยู่ในผืนน้ำแถบโครเอเชีย ซึ่งเป็นสถานที่ที่ Danijel เติบโตมา ทว่าเมื่อเวลาผ่านไป ไม่ว่าเขาจะดำน้ำลงไปนับพันครั้ง Danijel ก็ไม่อาจพบ “นางฟ้า” แห่งผืนทะเลโครเอเชียอีกเลย

เกิดอะไรขึ้นกับปลาฉลามนางฟ้ากันแน่ ? คำตอบมีอยู่ไม่มากนักและหลายคนอาจเดาได้ นั่นก็คือ “การประมงเกินขนาด” นั่นเอง

นี่เป็นสถานการณ์ที่ย่ำแย่ที่สุดในประวัติศาตร์ของเหล่าฉลาม และปลากระเบนในผืนน้ำแถบนี้ จากรายงานของ WWF หัวข้อ Sharks in crisis: a call to action for the Mediterranean กล่าวว่า ปลาฉลามในแถบนี้มักจะติดอวนประมงอยู่เสมอ ทั้งจากอวนที่จงใจล่าเหล่าฉลาม และจากการบังเอิญติดอวน ปัญหานี้เกิดจากการทำประมงที่เกินขนาด รวมถึงไม่มีมาตรการ และการจัดการที่รัดกุมพอสำหรับการประมง

สหภาพระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ (IUCN) ระบุว่า ปลาฉลาม และปลากระเบนกว่า 73 ชนิดที่อาศัยอยู่ในแถบเมดิเตอร์เรเนียน อยู่ในภาวะเสี่ยงและถูกคุกคามอย่างหนัก โดย 20 กว่าสายพันธุ์อยู่ในภาวะเสี่ยงใกล้สูญพันธุ์ ซึ่งปลาฉลามนางฟ้าได้ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มดังกล่าว

ปลาฉลาม ได้ชื่อว่าเป็น “พระเอก” ของระบบนิเวศในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เนื่องจากเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้ห่วงโซ่อาหารมีความสมดุล หากเสือโคร่งเป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ของผืนป่าแล้วนั้น ปลาฉลามก็เป็นตัวชี้วัดความอุดมสมบูรณ์ในโลกแห่งท้องทะเลเช่นเดียวกัน

ปลาฉลาม และปลากระเบนมีอัตราการเจริญเติบโตช้ากว่าสัตว์ทะเลชนิดอื่น ๆ และมีอัตราการสืบพันธุ์ที่ค่อนข้างต่ำ ดังนั้นอัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรฉลาม และปลากระเบน จึงไม่เพียงพอต่ออัตราการลดลง โดยสาเหตุหลักที่ทำให้จำนวนประชากรสัตว์ทะเลทั้งคู่ลดลงไปมากกว่าปกติก็คือการทำประมงเกินขนาดนั่นเอง

ปัญหาส่วนหนึ่งเกิดจากการใช้เครื่องมือประมงที่ขาดความรับผิดชอบ กล่าวคือเราอาจพบการใช้อวนลากที่มีขนาดตาถี่เพียง 10-20 มม. โดยอวนเหล่านี้จะขูดอยู่กับพื้นที่ทะเล และถูกเรือลากไปไกลเพื่อให้ได้ปลามากที่สุด พร้อมกันนี้เอง การทำประมงลักษณะดังกล่าวได้ก่อให้เกิดความเสียหายธรรมชาติ ทั้งอวนขูดแนวปะการัง รวมไปถึงการกวาดเอาทุกสิ่งอย่างในท้องทะเลเกินความจำเป็น ที่ทำให้สัตว์น้ำหายากติดขึ้นมาด้วย

ผลกระทบเหล่านี้อาจไม่ได้เกิดขึ้นเพียงแค่ในทะเลแถบเมดิเตอร์เรเนียนเพียงอย่างเดียว แต่อาจเกิดกับหลายพื้นที่ซึ่งมีการทำประมงเกินขนาด รวมถึงจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยว และเช่นเดียวกันกับ Danijel เด็ก ๆ ทั้งหลายที่คลั่งไคล้ปลาในทุกวันนี้อาจสงสัยว่า “เพราะเหตุใด ปลาชนิดหนึ่งที่สามารถพบได้ง่าย กลับกลายเป็นเพียงแค่สัตว์ในตำนานของทะเลเมดิเตอร์เรเนียน”

เช่นเดียวกับ Danijel ลูกสาวของเขาก็คลั่งไคล้เรื่องราวของฉลามเช่นเดียวกัน ถ้าหากเราทุกคน และหลายหน่วยงานร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเพื่อการประมงอย่างยั่งยืน รวมถึงผลักดันการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ให้มากขึ้น สักวันหนึ่ง ลูกสาวของเขาอาจได้แหวกว่ายในสวรรค์แห่งท้องทะเล ร่วมกับปลาฉลามนางฟ้า ดั่งที่พ่อของเธอเคยฝันถึงก็เป็นได้

ขอขอบคุณข้อมูลจาก https://medium.com/…/the-shark-crisis-reflects-the-state-of…

#WWFThailand #TogetherPossible

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0