โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

กีฬา

วิกฤติ! “เรือใบสีฟ้า” ส่อเค้าอับปาง กรณีผิดกฎ “ไฟแนนเชียล แฟร์เพลย์”

สยามรัฐ

อัพเดต 21 ก.พ. 2563 เวลา 17.10 น. • เผยแพร่ 21 ก.พ. 2563 เวลา 17.10 น. • สยามรัฐออนไลน์
วิกฤติ! “เรือใบสีฟ้า” ส่อเค้าอับปาง กรณีผิดกฎ “ไฟแนนเชียล แฟร์เพลย์”

ช็อกวงการฟุตบอลอังฤกษ! กับมติการสั่งแบน “เรือใบสีฟ้า” แมนเชสเตอร์ซิตี ทีมแชมป์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาลที่ผ่านมา จนกลายเป็นข่าวใหญ่ในวงการกีฬาของเมืองผู้ดี หลังจากที่ "คณะกรรมการควบคุมเงินของสโมสร" หรือ “ซีเอฟซีบี” ของสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า) มีคำสั่งห้ามทีม "แมนเชสเตอร์ ซิตี" ลงแข่งขันในรายการ "ยูฟ่าแชมเปี้ยน ลีก" รวมทั้งรายการอื่นๆในเวทียุโรป จำนวน 2 ปี ฐานความผิดอย่างรุนแรงต่อกฎควบคุมการเงิน หรือ "ไฟแนนเชียล แฟร์เพลย์" ด้วยการแต่งบัญชีรายรับของสโมสรฯช่วงปี 2012-2016 ซึ่งโทษแบนจะมีผลในฤดูกาล 2020-2021 และ 2021-2022 พร้อมกับถูกปรับเงินถึง 30 ล้านยูโร หรือประมาณ 1,020 ล้านบาท

โดย “ยูฟ่า” ประกาศใช้กฎควบคุมการเงินในปี 2011 กับสโมสรที่ร่วมแข่งขันฟุตบอลถ้วยยุโรป เพื่อให้เกิดความเสมอภาคในการทำทีมมากขึ้น เลี่ยงการใช้เงิน "ซื้อความสำเร็จ" เพียงอย่างเดียว ด้วยการทุ่มเงินมหาศาลเป็นค่าตัวและค่าเหนื่อยนักเตะดังๆ ฝีเท้าดี โดยได้เงินจากมหาเศรษฐีเจ้าของทีม ทั้งที่รายรับของสโมสรอาจจะไม่เพียงพอที่จะจับจ่ายดังกล่าว

ซึ่งกฎการเงินระบุว่า แต่ละทีมต้องมีบัญชีรายรับรายจ่ายที่สมดุล โดยยอมให้ขาดทุนได้ไม่เกิน 45 ล้านยูโร (1,530 ล้านบาท) ในช่วงแรก (ปี 2012-2013) ก่อนจะลดเพดานดังกล่าวลงในเวลาต่อมา การกระทำของแมนฯซิตี้จึงถือเป็นความผิดอย่างชัดเจน

คดีดังกล่าว ผู้ตรวจสอบบัญชีของฟีฟ่า รายงานว่า จากการตรวจสอบพบว่า 84% ของรายได้เชิงพาณิชย์อื่นๆ ที่เป็นรายงานของสโมสร มาจากผู้สนับสนุนในกลุ่มอาบูดาบี ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ โดยพบสัญญา 3 ใน4 ฉบับ ประกอบด้วย บริษัท โทรคมนาคม Etisalat, บริษัท ลงทุน Aabar, สำนักงานการท่องเที่ยวอาบูดาบี และองค์กรวัฒนธรรมอาบูดาบี ปรากฏว่า การลงนามกับ บริษัทจากอาบูดาบีมีมูลค่าสูงเกินไป เพราะมันสูงถึง 80% จากสิ่งที่ถูกพิจารณาว่าเป็น “มูลค่ายุติธรรม” สำหรับดีลเอกสารที่ตีพิมพ์โดยนิตยสารเยอรมัน “Der Spiegel” เมื่อปีที่แล้ว ที่ได้รับข้อมูลจากแฮกเกอร์ที่ชื่อ “รุย ปินโต้” ชี้ให้เห็นว่าในปี 2015 เอติฮัด เคยจ่ายเพียง 8 ล้านปอนด์ต่อปี เพิ่มไปถึง67.5 ล้านปอนด์ต่อปี

ทั้งนี้ เอกสารแสดงต่อมาที่ ผู้ตรวจสอบของสหพันธ์ฟุตบอลยุโรป เปิดเผยก็คือ ผู้สนับสนุนอาบูดาบี 2 แห่ง คือ บริษัทการลงทุนของรัฐ Aabar และ บริษัท โทรคมนาคมของรัฐ Etisalat พบว่า มีการเติมเงินตัวเองลงไป จำนวนเงินดังกล่าวคือ 59.5 ล้านปอนด์

อย่างไรก็ตาม นักวิจัยของยูฟ่า กล่าวถึงสัญญาของ Aabar ว่า มี “มูลค่ายุติธรรม” อยู่ที่ 3-4 ล้านปอนด์ตามรายงานเบื้องต้น แต่มีมูลค่าไปถึง 15 ล้านปอนด์ และสิทธิ์การสนับสนุนของ Etisalat ถูกประเมินว่ามี “มูลค่ายุติธรรม” อยู่ที่ 4-5 ล้านปอนด์ต่อปี แต่มีการจ่ายเองไปจนถึง16.5 ล้านปอนด์ต่อปี

ย้อนกลับมาที่รายได้เชิงพาณิชย์ในปัจจุบันของ แมนฯซิตี จำนวน 130 ล้านปอนด์ มาจากผู้สนับสนุนในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่ซึ่งเจ้าของสโมสรอย่าง "ชีค มานซูร์" คือผู้ทรงอิทธิพลอย่างมากต่อพันธมิตร อย่างเช่น เอติฮัด เชื่อว่าจะจ่ายปีละ 80 ล้านปอนด์เพื่อสปอนเซอร์เสื้อ โดยข้อตกลงปัจจุบันรวมกับสิทธิ์การตั้งชื่อสนามกีฬาและทรัพย์สินอื่นๆ ของ แมนฯซิตี มีข้อตกลง 10 ปีระหว่าง 2011-12 ถึง 2020-21 ดังนั้นการยัดเงินตัวเองเพื่อมูลค่าเสื้อ เพื่อให้ทีมยิ่งดูมีมูลค่า ทั้งที่จริงแล้วการคาดหน้าอกบนเสื้อ น่าจะมีมูลค่าไม่เกิน 50 ล้านปอนด์ต่อปี

นอกจากนี้ แมนฯซิตี อาจจะโดน พรีเมียร์ลีก ตรวจสอบซ้ำอีก ซึ่งหากพบว่ามีความผิดจริงก็เสี่ยงจะโดนลงโทษตัดแต้มในเกมลีก หรือถึงขั้นอาจโดนริบแชมป์ฤดูกาลก่อนๆ ในช่วงที่ระบุว่าเป็นช่วงที่ทีมเรือใบทำผิดกฎการเงินอีกด้วย โดยแชมป์ในปีนั้นอาจจะถูกส่งต่อให้กับ "ลิเวอร์พูล" ที่เป็นทีมรองแชมป์แทน ซึ่งเป็นปีเดียวกับนัดที่ "สตีเวน เจอร์ราร์ด" อดีตกัปตันทีมลื่นล้มในเกมที่พบกับทีม "เชลซี" จนทำให้เสียประตูและพ่ายแพ้ไปในที่สุด

ล่าสุด สโมสรฯเตรียมยื่นอุทธรณ์กับ “ศาลอนุญาโตตุลาการกีฬาโลก” หรือ ซีเอเอส (Court of Arbitration for Sport) โดยยืนยันว่า สโมสรฯมีหลักฐานเพียงพอที่จะชี้แจงกับศาลว่า คำตัดสินของยูฟ่านั้นผิดจากความเป็นจริง และย้ำแล้วย้ำอีกว่ามีหลักฐานที่ยืนยันได้ว่า “ชีค มานซูร์” ไม่ได้สนับสนุนงบประมาณผ่านรายได้จากสปอนเซอร์ตามที่ยูฟ่าระบุแต่อย่างใด

จากแถลงการณ์ของสโมสรแมนฯซิตี้ มีเวลา 10 วันในการยื่นอุทธรณ์ แก่ ศาลอนุญาโตตุลาการกีฬาโลก ซึ่งหากยังคงยืนยันคำเดิมก็จะทำให้ทีมหมดสิทธิลงแข่งขันรายการยูฟาแชมเปี้ยนส์ ลีก 2 ฤดูกาล ซึ่งหมายถึง “ยูโรปา ลีก” ก็จะไม่ได้ร่วมแข่งด้วยนั้น โดยสิทธิทั้งหมดจะหล่นลงมาในตาราง พรีเมียร์ ลีก อังกฤษ ฤดูกาล 2019-2020 กรณีที่ "เรือใบสีฟ้า" คว้าแชมป์ ยูฟา แชมเปียนส์ ลีก ในปีนี้ ก็จะไม่ได้กลับมาป้องกันแชมป์ รวมถึงไม่ได้เตะ "ยูฟ่า ซูเปอร์ คัพ" และ "ฟีฟ่า คลับ เวิลด์ คัพ" หรือเกม “ชิงแชมป์สโมสรโลก”

จากสถานการณ์ที่ตึงเครียดของทีมในขณะนี้ อาจส่งผลกระทบไปถึงรายได้ที่สโมสรฯต้องสูญเสียไป กว่า 200 ล้านปอนด์ (8,000 ล้านบาท) ทั้งส่วนแบ่งลิขสิทธิ์ถ่ายทอด ค่าตั๋วเข้าชมการแข่งขัน รายได้จากสปอนเซอร์ การขายสินค้า และสิทธิประโยชน์ต่างๆ ซึ่งรายได้เหล่านี้ส่วนหนึ่งจะแบ่งเป็นค่าเหนื่อยนักเตะอย่าง "เควิน เดอ บรอยน์" กองกลางเบลเยียม ที่มีค่าเหนื่อยแพงถึงสัปดาห์ละ 350,000 ปอนด์ นอกจากนี้ศักยภาพในการหาซื้อนักเตะใหม่มาเสริมทัพในช่วงซัมเมอร์นี้ก็จะลดลงอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

ทั้งนี้ ยังไม่รวมถึง "เป๊ป กวาร์ดิโอลา" ยอดกุนซือของทีม จะไม่ต่อสัญญาใหม่หลังหมดสัญญาในปีหน้า รวมทั้งบรรดานักเตะที่เป็นสตาร์ของทีมทั้งหลาย โดยเฉพาะ "ราฮีม สเตอร์ลิ่ง" แนวรุกอังกฤษ ที่จะมีค่าตัว 180 ล้านปอนด์ ทางสโมสรฯอาจจำเป็นที่จะต้องขายออกไป เพราะแบกภาระค่าเหนื่อยไม่ไหว และอีกหลายคนที่อาจจะไม่มีการต่อสัญญาและขอย้ายทีมออกไปอีก นั้นหมายถึงยอดทีมอย่าง "เรือใบสีฟ้า" อาจถึงขั้น “อับปาง” ลงก็ได้

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0