โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

วิกฤติราคาน้ำมัน กับ ‘หุ้นปตท.’

The Bangkok Insight

อัพเดต 21 ก.ย 2562 เวลา 15.51 น. • เผยแพร่ 22 ก.ย 2562 เวลา 01.30 น. • The Bangkok Insight
วิกฤติราคาน้ำมัน กับ ‘หุ้นปตท.’

เป็นช่วงที่หุ้นกลุ่มพลังงานกลับมาได้รับความสนใจจากตลาดอีกครั้ง หลังเกิดเหตุโจมตีโรงกลั่นน้ำมันในประเทศซาอุดิอาระเบีย ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบพุ่งเกือบ 20% ภายในวันเดียว นับเป็นการปรับขึ้นระหว่างวันสูงสุดในรอบ 28 ปีเลยทีเดียว 

เหตุการณ์นี้สำคัญอย่างไร ทำไมถึงกระทบต่อราคาน้ำมันทั่วโลกขนาดนี้ คำตอบคือนี่เป็นโรงกลั่นน้ำมันของ Saudi Aramcoรัฐวิสาหกิจน้ำมันยักษ์ใหญ่ของซาอุฯ ซึ่งมีแผนกำลังจะเข้าตลาดตลาดหลักทรัพย์ฯ ภายในปี 2020 

ว่ากันว่าหากSaudi Aramco เข้า IPO จะกลายเป็นบริษัทที่มีมูลค่าซื้อ-ขายสูงที่สุดในประวัติศาสตร์ ทุบสถิติของ Alibaba แบบขาดลอย ด้วยมูลค่าที่คาดว่าจะสูงกว่า 66 ล้านล้านบาท หรือใหญ่เป็น 2.5 เท่า ของบริษัท APPLE 

ตอนนี้ทุกฝ่ายจึงจับตามองกันว่า Saudi Aramco จะสามารถกลับมาเร่งผลิตน้ำมันได้ตามปกติเมื่อไหร่ เพราะ ณ ปัจจุบันบริษัทต้องลดกำลังผลิตลงกว่า 50% ส่งผลต่อปริมาณน้ำมันในตลาดโลกหายไปถึง 5.7 ล้านบาร์เรล/วัน 

 

“เปิดสถิติวิกฤติปริมาณน้ำมันดิบครั้งใหญ่ของโลก”

1.เหตุโดรนถล่มโรงกลั่นซาอุดิอาระเบีย (ก.ย. 2019) : ปริมาณผลิตหายไป 5.7 ล้านบาร์เรล/วัน

2.ปฏิวัติอิหร่าน (1978-1979) : ปริมาณผลิตหายไป 5.6 ล้านบาร์เรล/วัน

3.สงครามอาหรับ-อิสราเอล (1973-1974) : ปริมาณผลิตหายไป 4.3 ล้านบาร์เรล/วัน

4.สงครามอิรัก-คูเวต (1990-1991) : ปริมาณผลิตหายไป 4.3 ล้านบาร์เรล/วัน

5.สงครามอิหร่าน-อิรัก (1980-1981) : ปริมาณผลิตหายไป 4.1 ล้านบาร์เรล/วัน

6.วิกฤติเวเนซุเอลา (2002-2003) : ปริมาณผลิตหายไป 2.6 ล้านบาร์เรล/วัน

7.สงครามกลางเมืองในอิรัก (2003) : ปริมาณผลิตหายไป 2.3 ล้านบาร์เรล/วัน

8.สหรัฐ ระงับอิรักส่งออกน้ำมัน (2001) : ปริมาณผลิตหายไป 2.1 ล้านบาร์เรล/วัน

9.วิกฤติคลองสุเอซ (1956-1957) : ปริมาณผลิตหายไป 2 ล้านบาร์เรล/วัน

10.สงคราม 6 วัน อิสราเอล-อียิปต์ (1968) : ปริมาณผลิตหายไป 2 ล้านบาร์เรล/วัน

* รวบรวมข้อมูลโดย StockRadars 

“PTT – PTTEP กอดคอรับอานิสงส์” 

กลับมามองที่ประเทศไทยกันบ้าง อย่างที่บอกไปข้างต้นครับ“ท่ามกลางวิกฤติ ย่อมมีโอกาส” เพราะเมื่อราคาน้ำมันพุ่งแรงอยู่แบบนี้ แน่นอนว่าหุ้นกลุ่มที่ได้รับอานิสงส์ไปเต็มๆ คงหนีไม่พ้นกลุ่มพลังงาน 

โดยเฉพาะ 2 พี่ใหญ่ตลาดหุ้นไทยของกลุ่มปตท. ได้แก่ PTT  บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ  PTTEPบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) นั่นก็เพราะที่ผ่านมา ราคาน้ำมันดิบมีความสัมพันธ์กับ PTT และ PTTEP อย่างมาก คือในช่วงที่ราคาน้ำมันดิ่งลง ราคาหุ้นก็จะลดลงตาม กลับกันหากราคาน้ำมันปรับสูงขึ้น นั่นก็หมายถึงปัจจัยบวกต่อกำไรของทั้ง 2 บริษัทด้วย โดยเฉพาะ PTTEP ที่ผลประกอบการอิงกับราคาน้ำมันดิบอย่างมาก

ขณะที่ PTT อาจจะมีความผันผวนกับราคาน้ำมันน้อยกว่า เนื่องจากบทบาทของบริษัทลดการพึ่งพิงรายได้จากธุรกิจน้ำมันลงเหลือราว 50% ดังนั้นความน่าสนใจจึงมักอยู่กับบริษัทลูกอย่าง PTTEP มากกว่า ซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันโดยตรง

นอกจากจะได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมันแล้ว ทั้ง 2 ยังถือเป็นหุ้นที่มีน้ำหนักต่อดัชนีมากๆ เพราะเมื่อเรามองไปที่บริษัทที่ทำกำไรมากที่สุดในช่วงครึ่งปีแรก 2562 พบว่า อับดับหนึ่งเป็นของ PTT มีกำไรสุทธิ 55,250.21 ล้านบาท ส่วนอันดับสองก็คือPTTEP ซึ่งมีกำไรสุทธิ 26,163.22 ล้านบาท เรียกว่ากอดคอกันโต กอดคอกัน รับผลบวกเต็มๆ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0