โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

วางแผน ‘เศรษฐกิจส่วนบุคคล’...รับมือ COVID-19

Wealthy Thai

อัพเดต 11 ก.ค. 2563 เวลา 17.12 น. • เผยแพร่ 11 ก.ค. 2563 เวลา 17.12 น. • wealthythai
วางแผน ‘เศรษฐกิจส่วนบุคคล’...รับมือ COVID-19
ผ่านไตรมาสแรกของปี 2563 ด้วยความโหดร้ายอย่างมากเหลือเกิน ปีนี้ดูเหมือนจะไม่ใช่แค่ปีหนูไฟ

ผ่านไตรมาสแรกของปี 2563 ด้วยความโหดร้ายอย่างมากเหลือเกิน ปีนี้ดูเหมือนจะไม่ใช่แค่ปีหนูไฟ อย่างที่เคยคาดไว้ แต่เป็นปีหนูที่มาด้วยโรคระบาดอย่างรุนแรง เริ่มต้นจากประเทศจีน เข้าสู่ยุโรปและไประบาดอย่างหนักถึงอเมริกา ในระยะเวลาเพียง 1 เดือนกว่าเท่านั้น มีผู้ติดเชื้อทั่วโลกที่พุ่งขึ้นถึง 1 ล้านคน และ ‘วิกฤต’ ก็ยังดำเนินต่อไปในเดือน เม.ย.นี้  เราจะเจออะไรอีกบ้างในเดือน เม.ย. และต้องรับมือมากขึ้นอย่างไร 
ในตอนที่แล้วผมได้แนะนำเรื่องจัดสรรการลงทุนและข้อคิดในการรับมือกับ ‘วิกฤต COVID-19’ กันไปแล้ว ในตอนนี้ผมอยากแนะนำเพิ่มเติมสำหรับการวางแผนการใช้จ่ายและจัดสรรเงินในกลุ่มคนต่างๆ  
“ผลกระทบจาก COVID-19 ที่มีต่อเศรษฐกิจไทยนั้นคงชัดเจนแล้วว่าหนักหนาอย่างมาก ตัวเลขเศรษฐกิจในไตรมาส 1 นี้จะออกมาค่อนข้างแย่ ส่วนตลอดทั้งปีนี้ก็คาดว่าอาจจะติดลบอย่างมากเช่นกัน จะแย่มากหรือน้อยแค่ไหนก็ต้องจับตาดูกันว่าการระบาดจะถึงจุดสูงสุดเมื่อใด มาตรการภาครัฐที่ใช้ระยะเวลาควบคุมการระบาดถึงสิ้นเดือนนี้ เม.ย. จะได้เห็นกันว่าได้ผลเพียงใด”   

 

 

แม้ว่าเศรษฐกิจของประเทศคงไม่ดีแน่ๆ ในปีนี้ แต่ ‘เศรษฐกิจส่วนบุคคล’ ของเราทุกคนนั้น เป็นอีกเรื่องที่เรายังสามารถบริหารและรับมือได้ครับ จากมาตรการของรัฐบาลที่จำเป็นต้องควบคุมนั้น แน่นอนว่ามีผลกระทบต่อการทำงานและวิถีชีวิตของคนทำงานจำนวนมากในทั่วประเทศ  นั่นคือเรื่องที่ผมอยากช่วยทุกท่าน ‘วางแผนเศรษฐกิจส่วนบุคคล’ รวมถึงโอกาสอะไรบ้างที่ที่รอเราอยู่หลังจากเรื่องนี้ผ่านไป 
เริ่มต้นที่ ‘กลุ่มคนที่มีรายได้รายวัน’ ที่ได้รับผลกระทบจากการหยุดกิจการต่างๆ ผมขอให้กำลังใจคนกลุ่มนี้มากๆ นะครับ (จะได้หรือไม่ได้รับเงินช่วยเหลือจากรัฐจำนวน 15,000 บาท) คนกลุ่มนี้ต้องวางแผนการใช้จ่ายเงินให้ดีนะครับ และถ้าหากจำเป็นต้องนำเงินออมมาใช้ แนะนำให้ใช้จ่ายในสิ่งที่จำเป็นจริงๆ และที่สำคัญคือทำบัญชีควบคุมการใช้จ่ายในแต่ละวัน เพื่อให้มีเงินเพียงพอสำหรับใช้จ่ายได้ในตลอดเดือนเม.ย.
กลุ่มต่อมาคือ ‘กลุ่มคนที่ยังมีรายได้ทุกเดือนจากงานประจำ’ คนกลุ่มนี้อาจไม่ได้รับผลกระทบมาก แต่ก็ต้องระมัดวังการใช้จ่ายนะครับเพราะยังไม่รู้สถานการณ์จะกินเวลานานหรือไม่ และอาจมีค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดเพิ่มขึ้น เช่น ค่าใช้จ่ายเรื่องการป้องกันสุขภาพ เช่น หน้ากากอนามัย เจลล้างมือทำความสะอาด ที่จำเป็นต้องใช้อย่างต่อเนื่องและราคาไม่ถูกนัก รวมไปถึงค่าอาหารที่มีรายจ่ายเพิ่มขึ้นจากค่าขนส่ง ตรงนี้หากวางแผนค่าใช้ได้อย่างดี จะเป็นโอกาสในการออมเงินเช่นกันนะครับ
ส่วน ‘กลุ่มคนที่ยังมีรายได้สูงและมีกำลังในการลงทุน’ สินทรัพย์หลักที่ผมแนะนำ ยังคงเป็นอสังหาริมทรัพย์  ทองคำ ตราสารหนี้ภาครัฐ และ ทยอยสะสมหุ้นขนาดใหญ่ที่มีปัจจัยพื้นฐานดีและราคาปรับตัวลงไปมาก เนื่องจากตลาดเริ่มสะท้อนข่าวลบในเรื่องต่างๆ ไปได้ในระดับหนึ่งแล้ว แม้จะมีความผันผวนอยู่แต่เป็นจังหวะเข้าเก็งกำไรในระยะสั้นได้ 
สิ่งที่ผมอยากให้ข้อคิดเพิ่มเติมในเวลานี้และต่อไปหลังจากนี้ ก็คือ นอกจาก “ความปลอดภัยของชีวิต” ที่เราทุกคนให้ความสำคัญกัน อีกเรื่องหนึ่งนั่นคือ “เศรษฐกิจของตัวเรา” เพราะนี่จะเป็นสิ่งที่จะมาดูแลชีวิตเรายามที่เกิดสิ่งที่ไม่คาดคิด  “เงินทองคือมายา ข้าวปลาคือของจริง แต่หากไม่มีเงินแล้วข้าวปลาก็หาได้ยากเช่นกัน” การสร้างรายได้และเก็บเงินออมหรือลงทุนในสินทรัพย์ต่างๆ จึงเป็นเรื่องสำคัญมากและเป็นเศรษฐกิจประจำตัวของทุกคนที่ต้องลงมือทำกันทุกคนนะครับ
“เดือน เม.ย. นี้จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของวิกฤตว่าจะเริ่มดีขึ้นหรือแย่ลงจนต้องยกระดับการใช้มาตรการป้องกันอื่นๆ และนั่นก็อาจจะนำมาซึ่งผลกระทบที่หนักขึ้นไปอีก” 
สุดท้ายแล้วในยามนี้ หลายคนอยู่ห่างไกลกัน ทั้งทำงานอยู่ที่บ้าน (Work From Home)  หรือ กักตัวอยู่บ้านเพื่อควบคุมความเสี่ยง นี่เป็นช่วงเวลาที่เราได้พัก ได้ทบทวนสิ่งที่เกิดขึ้น และศึกษาโอกาสดีๆ ที่อาจจะมีหลังจากนี้ เหนือสิ่งอื่นใด ‘กำลังใจ’ คือสิ่งที่สำคัญที่ทุกคนต้องสร้างให้มากอยู่เสมอ เพื่อก้าวต่อไปครับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0