โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

วันเพ็ญเดือนสิบสอง ‘ขยะ’ นองล้นตลิ่ง

กรุงเทพธุรกิจ

เผยแพร่ 11 พ.ย. 2562 เวลา 06.31 น.

เราต่างโตมากับความเชื่อที่ว่า การลอยกระทงคือการขอขมาและขอบคุณสายน้ำ ที่หล่อเลี้ยงคนไทยทั้งประเทศ ทว่ากระทงของพวกเรากำลังทำร้ายแม่น้ำและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่หรือไม่ และเราเองก็เริ่มถอยห่างเจตนารมย์ของประเพณีอันดีนี้ไปทุกที

หลายปีที่ผ่านมาผู้คนเริ่มตื่นตัวในการใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้น อย่างปีที่แล้วกับการรณรงค์ '1 กระทง 1 ครอบครัว' เพื่อลดจำนวนกระทงที่จะไปเป็นขยะในแม่น้ำ พร้อมๆ ไปกับการออกแบบกระทงให้ง่ายต่อการย่อยสลาย เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม แต่ดูเหมือนว่าปริมาณขยะยังไม่ลดลงเท่าไรนัก วัสดุที่ว่าย่อยสลายได้ยังต้องใช้เวลานานและต้องดึงออกซิเจนจากน้ำมาใช้ในกระบวนการย่อยสลายเมื่อจมลงใต้น้ำ มีผลต่อสิ่งมีชีวิตที่อาจกินขยะเข้าไปโดยไม่รู้ว่านั่นคือสิ่งที่อันตรายสำหรับมัน ถิ่นอาศัยใต้น้ำที่เคยดีกลับเริ่มเน่าเสีย เพราะน้ำมือมนุษย์

  • กระทงหลงทาง

ไม่ว่าจะวันเพ็ญเดือนสิบสองของปีไหนๆ เพียงชั่วข้ามคืนกระทงที่หญิงชายลอยลงแม่น้ำ ก็กลายเป็นซากกระทงที่เรียกว่า 'ขยะ' ทว่าปริมาณในแต่ละปีจากสถิติของศูนย์ข้อมูลกรุงเทพมหานคร ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั่วเมืองหลวง พบว่าปี 2561 ที่ผ่านมา กระทงที่เก็บได้ในแม่น้ำเจ้าพระยาสูงถึง 8.4 แสนใบ เป็นกระทงวัสดุธรรมชาติกว่า 7 แสนใบ โดยรวมแล้วเป็นขยะที่รอการย่อยสลายราวๆ 100 ตัน

"การลอยกระทงมันสร้างความเข้าใจผิดหลายๆ อย่าง ทำให้คนเกิดภาพจำในการเอาขยะลงในแม่น้ำได้โดยมีข้ออ้างว่าเป็นเทศกาลลอยกระทง"รศ.ดร. เจษฎา เด่นดวงบริพันธ์ภาควิชาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เอ่ยถึงภาพจำของการลอยในมุมของสิ่งแวดล้อม

และต้องบอกว่าการสร้าง'ภาพจำ'เป็นสิ่งที่อันตรายมากยิ่งความเชื่อที่ว่า เป็นการทิ้งความทุกข์ความโศกให้ไหลไปตามสายน้ำนั้น อาจารย์เจษฎาบอกว่า ฟังดูตลก เพราะนั่นเท่ากับคุณกำลังทิ้งสิ่งที่จะกลายเป็นขยะ กำลังทำลายแหล่งน้ำที่อ้างว่าหล่อเลี้ยงชีวิตอย่างจงใจ ต้องกลับมาทบทวนถึงวัตถุประสงค์กันให้ดี หากิจกรรมอย่างอื่นที่ไม่เป็นการเพิ่มขยะมหาศาลในวันๆ เดียว

"เราต่างก็รู้ดีว่า ไม่ว่าจะเอาสิ่งใดลงไปในน้ำ แม้จะเป็นกระทงวัสดุธรรมชาติ จากขนมปัง ล้วนแล้วแต่เป็นปัญหาขยะในแม่น้ำ เพราะฉะนั้นถ้าเราบอกว่าเป้าหมายคืออยากจะมีความสุขร่วมกันในเทศกาลสำคัญของไทย อยากจะรำลึกถึงสายน้ำที่หล่อเลี้ยงเรามาตามความเชื่อ ก็ต้องไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมด้วย"

อีกมุมหนึ่ง วันลอยกระทงหรือเทศกาลสำคัญๆ ในบ้านเรามักสร้างความตระการตา และดึงดูดนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลมาได้มาก กลายเป็นอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่ฉากหน้าคือการอนุรักษ์วัฒนธรรมอันดี แต่เบื้องหลังคือการทำลายสิ่งแวดล้อม

"ขยะที่ลอยเกลื่อนแม่น้ำ ย่อมส่งผลกระทบต่อแหล่งน้ำ จากที่เก็บได้ตามปากแม่น้ำเกือบๆ ล้านใบ ยังไม่นับที่จมลงไปใต้น้ำไม่สามารถเก็บได้อีก กลายเป็นสารตกค้างที่อยู่ในแม่น้ำ สร้างความเสียหายให้แหล่งน้ำอย่างต่อเนื่องไม่จบสิ้น" อาจารย์เจษฎา พูดถึงผลกระทบจากขยะในเทศกาลสำคัญ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0