โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

วัดเก่า ถนนสายไม้ หัวโขนเลื่องลือระดับโลก

Rabbit Today

อัพเดต 18 ก.ย 2562 เวลา 11.32 น. • เผยแพร่ 18 ก.ย 2562 เวลา 11.32 น. • ชัชฎาพร จุ้ยจั่น / โชติ เวสสวานิชกูล
วัดเก่า ถนนสายไม้ หัวโขนเลื่องลือระดับโลก

ถนนสายไม้

ถนนสายไม้
ถนนสายไม้

นอกจากชุมทางรถไฟบางซื่อ ยังมีสถานที่เก่าแก่ที่มีความสำคัญอย่าง ‘ถนนสายไม้’ หรือชุมชนประชานฤมิตร เป็นแหล่งรวมเครื่องไม้ที่ใหญ่เป็นอันตับต้นๆ ของเมืองไทยเอาไว้ได้เหมือนในอดีต 

ย้อนไปเมื่อปี พ.ศ.2522 ชาวจีนจากวัดญวน สะพานขาว ถนนดำรงค์รักษ์ สะพานดำ วัดสระเกศ และบางลำพู ได้ย้ายมาตั้งถิ่นฐานใหม่ในซอยประชานฤมิตรและซอยไสวสุวรรณ โดยนำอาชีพงานแกะสลักเครื่องไม้มาสืบทอด ทำให้ถนนสายไม้ (ซอยประชานฤมิตร) เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในหมู่ผู้ที่ชื่นชอบงานไม้มาถึงปัจจุบัน เปรียบเสมือนศูนย์รวมเรื่องไม้ ตั้งแต่วัสดุแผ่นไม้ที่นำไปใช้สร้างบ้าน ไปจนถึงผลิตภัณฑ์แปรรูปจากไม้ที่สวยงาม เช่น เฟอร์นิเจอร์ อุปกรณ์ตกแต่งบ้าน งานหัตถรรมฝีมือ ผลิตภัณฑ์จากไม้แกะสลัก ภายในประเทศและที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ 

อ้างอิง: thai.tourismthailand.org

หัวโขน ศิลปะช่างสิบหมู่ไทย

หัวโขน
หัวโขน

กว่า 5 ทศวรรษ ณ ชุมชนสะพานไม้แห่งบางซื่อ ได้รับการขนานนามว่าเป็นชุมชนหัวโขน ศิลปะช่างสิบหมู่ไทย เริ่มต้นจากอาจารย์สาคร ยังเขียวสด หรือโจหลุยส์ ศิลปินแห่งชาติสาขาศิลปะการแสดง หรือหุ่นละครเล็ก ใน พ.ศ.2539 ซึ่งในสมัยนั้นเรียกชุมชนละแวกบางโพ ประชาชื่น เป็นดงละคร ท่านมีอาชีพเล่นโขนและหุ่นกระบอก เมื่อหัวโขนหรือหุ่นกระบอกชำรุดจึงทำการซ่อมแซมเอง ความรู้ในการทำหัวโขนได้สะสมและถ่ายทอดอย่างต่อเนื่องภายในครอบครัว ต่อมาการจ้างโขนไปแสดงมีน้อยลง จึงหันมาประดิษฐ์หัวโขนเพื่อจำหน่ายแทน 

ครูประทีป รอดภัย
ครูประทีป รอดภัย

จากภูมิปัญญาการในการทำหัวโขนส่งต่อสู่ลูกหลาน ดังนั้น ‘ครูประทีป รอดภัย’ หลานของครูโจหลุยส์จึ งเป็นหนึ่งในศิษย์รุ่นแรกที่ได้เรียนรู้การทำหัวโขนที่ชุมชนสะพานไม้แห่งนี้ ซึ่งสมัย 50 ปีก่อน ถนนประชาชื่นยังเป็นลูกรัง มีท้องนา มีสวนผลไม้ของคนจีน ซึ่งช่วง พ.ศ.2525 ซึ่งมีการเฉลิมฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ 200 ปี ครูประทีปได้นำหัวโขนไปขายที่ร้านหนึ่ง แถวสนามหลวง 

ตั้งแต่นั้นมาที่ชุมชนสะพานไม้มีงานหัวโขนเข้ามาไม่ขาดสาย แต่แล้วปัจจุบันลูกหลานได้ไปประกอบอาชีพอื่น เหลือเพียงครูประทีปเท่านั้นที่ยังคงสานต่อตำนานชุมชนหัวโขนย่านบางซื่อ 

ขอบคุณภาพจากเพจ: Prateep Rodpai Khon Mask Maker ครูประทีป รอดภัย ช่างทำหัวโขน

วัดสร้อยทอง

วัดสร้อยทอง
วัดสร้อยทอง

วัดแห่งนี้เดิมมีชื่อ ‘วัดซ่อนทอง’ เป็นวัดโบราณ ไม่ทราบประวัติที่มาและผู้สร้างวัดแน่ชัด สันนิษฐานว่าสร้างโดยลูกหลานของเจ้าพระยาศรีพิพัฒน์ราชโกษา (แพ บุนนาค) ในปี พ.ศ.2394 สมัยรัชกาลที่ 4 ภายในวัดมีพระบรมธาตุเจดีย์ศรีสร้อยทองที่มองเห็นได้จากระยะไกลสวยงามเหลืองอร่าม และอุทยานการศึกษา จึงได้รับยกย่องเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี พ.ศ.2531     

วัดแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานปูชนียวัตถุสำคัญคือ ‘หลวงพ่อเหลือ’ เป็นพระพุทธรูปหล่อโลหะทองเหลือง ซึ่งเป็นโลหะที่เหลือมาจากการสร้างพระประธาน พ.ศ.2485 ภายในพระเกศของหลวงพ่อบรรจุผงทรายซึ่งทราบภายหลังว่าคือพระธาตุ 5 พระองค์ คือพระธาตุของพระสารีบุตร พระโมคคัลลานะ พระสีวลี พระองคุลิมาล พระพิมพาเถรี 

มีเรื่องมหัศจรรย์เกี่ยวกับหลวงพ่อองค์นี้คือ ในปี พ.ศ.2484 เกิดสงครามโลกครั้งที่ 2 ญี่ปุ่นทิ้งระเบิดตามจุดยุทธศาสตร์ของไทย และระเบิด 14 ลูก ที่ตั้งใจจะทิ้งลงสะพานพระราม 6 กลับเบี่ยงมาตกที่วัดสร้อยทอง ทำให้วัดได้รับความเสียหายอย่างมาก เหลือเพียงองค์หลวงพ่อที่เสียหายเล็กน้อย จึงเป็นที่เคารพในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์และความเชื่อเรื่องเหลือกินเหลือใช้อีกด้วย

หากใครได้ผ่านไปทางเขตบางซื่อ ใกล้สะพานพระราม 7 บนถนนประชาราษฎร์ สาย 1 จะเป็นที่ตั้งของวัดสร้อยทองพระอารามหลวง ชั้นตรีชนิดสามัญ ใกล้กับโรงเรียนโยธินบูรณะ ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวบางซื่อหรือแม้แต่ผู้คนต่างถิ่น มักจะมาไหว้พระทำบุญ ปล่อยนก ปล่อยปลา ที่วัดแห่งนี้อยู่เนืองๆ

ขอบคุณภาพจาก: th.wikipedia.org

วัดมัชฌันติการาม

วัดมัชฌันติการาม
วัดมัชฌันติการาม

ไม่มีประวัติปรากฏการสร้างชัดเจน จึงยากที่จะทราบประวัติความเป็นมาของวัดมัชฌันติการาม (วัดน้อย) ส่วนใหญ่จึงมาจากการเล่าสู่กันมาของคนในท้องถิ่น ประกอบกับหลักฐานที่พอจะรวบรวมได้ในปัจจุบันคือวัดนี้เริ่มสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เป็นวัดป่าที่ล้อมไปด้วยสวนทุเรียน สวนกล้วย สวนหมาก สวนส้ม ในสมัยนั้นยังไม่มีชื่ออย่างเป็นทางการ แต่เป็นสถานที่ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานของพระธุดงค์ที่ผ่านไปมา มีพระอยู่บ้าง ไม่มีบ้าง

จนมาถึง พ.ศ.2417 เจ้าจอมมารดาเที่ยง เจ้าจอมมารดาในรัชกาลที่ 4 เป็นองค์อุปถัมภ์ในการก่อสร้างศาสนวัตถุต่างๆ เพื่อให้เป็นวัดที่ถูกต้องตามพระวินัยและกฎหมายบ้านเมือง การสร้างวัดจึงเสร็จบริบูรณ์ในสมัยนี้ ดังนั้น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงรับเป็นพระธุระในการผูกพัทธสีมา และพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ ได้พระราชทานนามว่า ‘วัดมัชฌันติการาม’ ตามชื่อของผู้อุปถัมภ์ในการสร้างวัด คือมัชฌันติก และอารามซึ่งแปลตามตัวว่า ‘เที่ยง’ และ ‘วัด’ เมื่อรวมกันจึงแปลได้ว่า ‘วัดของเจ้าจอมมารดาเที่ยง’ 

เมื่อสิ้นบุญเจ้าจอมมารดาเที่ยงแล้ว ต่อมาเจ้าจอมมารดาแสร์ พระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอภันตรีปชาและจางวางตุ่ม เป็นผู้ให้การอุปถัมภ์สืบต่อกันมาตามลำดับ จนมาถึงประชาชนทั่วไปให้การอุปถัมภ์ดังที่ปรากฏให้เห็นในปัจจุบัน เนื่องจากสมัยก่อนการคมนาคมไม่เหมือนในปัจจุบัน เมื่อเจ้านายจะเสด็จฯ มาวัดมัชฌันติการามต้องเสด็จฯ มาทางเรือ โดยอาศัยคลองบางเขนใหม่ ซึ่งอยู่ทางทิศตะวันตกของวัด จึงเป็นที่มาของการสร้างอุโสถหันหน้าไปทางทิศตะวันตก อุโบสถได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.2418 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 60 เมตร

ปัจจุบันชาวบางซื่อจะคุ้นเคยกับหน้าวัดติดกับคลองบางเขนใหม่ โดยมีซอยวงศ์สว่าง 11 ผ่านเขตแยกวัดกับโรงเรียนวัดมัชฌันติการามอยู่คนละฝั่งซอย เลขที่วัด 102 วัดมัชฌันติการาม ถนนวงศ์สว่าง เขตบางซื่อ กรุงเทพฯ 

ขอบคุณภาพจาก: watmatchan.net

เตาปูนจากแหล่งผลิตปูนแห่งแรกของประเทศไทย

ปูนซีเมนต์ไทย
ปูนซีเมนต์ไทย

ปล่องหม้อเผาจากโรงเตาปูน จนมีหมู่บ้านชื่อตามยี่ห้อปูนเสมือนสัญลักษณ์สำคัญของย่าน และมีความสำคัญระดับประเทศ เนื่องจากเป็นแหล่งผลิตปูนแห่งแรกของประเทศไทยที่มีอายุยาวนานกว่าร้อยปี หรือตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 6 เป็นต้นมา

เพื่อลดการนำเข้าปูนซีเมนต์จากต่างประเทศ จึงมีการผลิตปูนใช้เอง ซึ่งหลังจากผลิตไปได้เพียง 2 ปี (พ.ศ.2458) ประเทศไทยก็เริ่มผลิตปูนซีเมนต์ส่งออกสู่ตลาดโลก และตั้งแหล่งผลิตปูนมาอยู่ใกล้ๆ สถานีรถไฟบางซื่อ เพื่อความสะดวกในการขนส่ง รวมถึงสะดวกในการหาส่วนผสมและวัตถุดิบบางอย่างเพื่อผลิตปูน จึงเป็นที่มาของย่านเตาปูน แลนด์มาร์กสำคัญของย่านบางซื่อ โดดเด่นด้วยปล่องเตาเผาที่สูงถึง 78 เมตร และที่นี่แหละคือหนึ่งในบริษัทที่คนในย่านนั้นมุ่งมั่นอยากจะเข้าทำงานเพื่อโอกาสดีๆ ในชีวิต

‘เกตเวย์ บางซื่อ’ ศูนย์การค้าทันสมัยใกล้ Hub Transit

เกตเวย์ บางซื่อ
เกตเวย์ บางซื่อ

ศูนย์การค้าครบวงจรแห่งแรกและแห่งเดียวในย่านบางซื่อ ที่จะมาเติมเต็มทุกความต้องการให้กับคนเมือง ทั้งด้านไลฟ์สไตล์และชีวิตประจำวัน ซึ่งย่านบางซื่อถือเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ทางการค้าและศูนย์กลางทางด้านเศรษฐกิจที่รายล้อมด้วยสถานที่สำคัญและแหล่งเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานราชการรวมทั้งรัฐสภาแห่งใหม่ อาคารสำนักงานขนาดใหญ่ โรงเรียนและมหาวิทยาลัย รวมถึงโรงพยาบาลขนาดใหญ่ และยังมีโครงการที่อยู่อาศัยจากบริษัทอสังหาริมทรัพย์ชั้นนำมากมาย 

นอกจากนี้ บางซื่อยังถูกวางให้เป็นศูนย์กลางการคมนาคมที่ใหญ่ที่สุดของไทย และจะกลายเป็นศูนย์กลางธุรกิจแห่งใหม่ในอนาคต (New CBD: New Central Business District) ของคนกรุงเทพฯ ซึ่งความน่าสนใจของศูนย์การค้าเกตเวย์ บางซื่อ คือการดึงดูดผู้คนในพื้นที่ให้หันมาท่องเที่ยวชิลล์เอาตใกล้บ้านตัวเอง ที่สำคัญ ผู้คนจากย่านปริมณฑลก็สามารถเดินทางมาสัมผัสความสนุกและบรรยากาศใหม่ๆ ได้ที่นี่เช่นกัน

สำหรับ ศูนย์การค้าเกตเวย์ แอท บางซื่อ ถูกพัฒนาภายใต้แนวคิด ‘Simple, Complete, Fun and Friendly’ จึงกลายเป็นนิยามของศูนย์การค้าฯ คือ ‘Fulfill Your Everyday Life-เติมเต็มทุกความต้องการในแบบคุณ’ โดยเน้นการสร้างความหลากหลายของสินค้าเพื่อตอบโจทย์ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายอย่างครบครัน ประกอบด้วย

  • โซน Urban Market มีกลิ่นอายความเป็นมาร์เก็ตที่ยกระดับมาตรฐานการบริการ ไม่ว่าจะเป็น Supermarket ชั้นนำของประเทศ อาหารคาวหวาน สินค้าเครื่องครัวเครื่องใช้ และสินค้าและบริการเกี่ยวกับการดำรงชีวิตพื้นฐาน
  • โซน Everyday Fashion รวมสินค้าทั้งแบรนด์แฟชั่นเสื้อผ้า ชุดกีฬา รองเท้า กระเป๋า เครื่องสำอาง
  • โซน Fast Fashion Brand มีแบรนด์ชั้นนำมากมายให้เลือกสรรง่ายๆ ตามสไตล์คุณ รวมถึง Urbano ที่รวมเทรนด์แฟชั่นไว้อย่างครบครันเพื่อให้ลูกค้าได้สนุกไปกับการแต่งตัว
  • โซน Lifestyle Living สินค้าและบริการต่างๆ เกี่ยวกับการตกแต่งบ้าน ร้านหนังสือ บริการทางการเงิน และไอที ไว้อย่างครบครัน
  • โซน Lifestyle Dining แหล่งรวมร้านอาหารชื่อดังไว้มากมาย เพื่อให้นักชิมได้ลิ้มลองและอิ่มอร่อยกับทุกเมนูในทุกๆ มื้อ
  • โซน Play & Learn แหล่งรวมความสนุก ความรู้ และส่งเสริมทางความคิด ไอเดียสร้างสรรค์ ให้กับทุกเพศทุกวัย ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนสอนพิเศษ ติวเตอร์ Kids Zone สำหรับวัยเด็กและวัยเรียน
  • โซน Office พื้นที่สำนักงานเช่าสำหรับวัยทำงาน
  • โซน Entertainment บริการโรงภาพยนตร์จำนวน 6 โรง ทั้งหมด 1,450 ที่นั่ง และบริการด้านเกม รวมถึงฟิตเนสสำหรับคนรักสุขภาพที่เปิดให้บริการ 24 ชม.

ติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมที่ Facebook: Gateway at Bangsue

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0