โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

วงการโฆษณามีหนาว! ยักษ์ใหญ่ Tech Company อย่าง Alibaba - Amazon แห่รุกธุรกิจ

Brandbuffet

อัพเดต 21 ก.ค. 2561 เวลา 16.49 น. • เผยแพร่ 20 ก.ค. 2561 เวลา 10.27 น. • Creativity

Alibaba Group ลุยเข้าซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นของFocus Media Information Technology ประเทศจีนเพื่อมองโอกาสใหม่ทางธุรกิจ โดย Alibaba จะจ่ายเงินทั้งหมด 1.43 พันล้านดอลลาร์สำหรับหุ้นจำนวน 6.62% ของ Focus Media ซึ่งปัจจุบันบริษัทแห่งนี้เป็นเจ้าของจอโฆษณาดิจิทัลบนท้องถนน รถไฟใต้ดิน และในลิฟท์ในกว่า 300 เมืองทั่วประเทศจีน มีศักยภาพเข้าถึงชนชั้นกลางจำนวน 200 ล้านคน และ Alibaba ยังประกาศอีกว่ามีแผนที่จะซื้อหุ้นเพิ่มอีก 5% ภายใน 12 เดือนนี้ด้วย

ไม่ใช่เพียงแค่ Alibaba โดยตรงเท่านั้น แต่ยังมีการซื้อหุ้นภายใต้ชื่อ New Retail Strategic Opportunities Fund กองทุนที่ Alibaba ลงทุน ก็เข้าซื้อหุ้น Focus Media อีก 1.37% ด้วยเช่นกัน ทำให้การลงทุนทั้งหมดของ Alibaba ใน Focus Media รวมเป็น 2.23 พันล้านดอลลาร์ หรือ 10.32% ทั้งนี้ยังไม่รวมกับอีกการเข้าซื้อในอนาคตอีก 5%

การเข้าซื้อ Focus Media นี้ ก็เพื่อทำให้เกิดการทำงานร่วมกัน ของ Alimama (บริษัทดิจิทัลมาร์เก็ตติ้งที่ใหญ่ที่สุดของ Alibaba) กับ Focus Media ให้เข้าขากันมากขึ้น เพื่อที่ตั้งเป้าหมายระยะกลางให้สื่อโฆษณาของเครือขยายไปยัง 500 เมืองทั่วประเทศจีนและเข้าถึงลูกค้าชนชั้นกลางได้ 500 ล้านคน นอกจากนี้ Alibaba ยังสามารถเสนอช่องทางดิจิทัลใหม่ผ่านการขายของผ่านแพลทฟอร์ม e-commerce ที่จะตอบสนองต่อผู้บริโภคที่มีกำลังซื้อมากขึ้น เรียกได้ว่าครบจบ ตั้งแต่โฆษณาจนปิดการขายออนไลน์ได้เลย…

โดยตอนนี้ Alibaba มีแผนการทำ“Uni Marketing” นำข้อมูลลูกค้ามาวิเคราะห์เพื่อช่วยเหลือแบรนด์ต่างๆ เมื่อได้สื่อ OHM ของ Focus Media เข้ามาเพิ่มก็ทำให้ Alibaba แข็งแกร่งทั้ง online และ offline

ในขณะที่อีกฝากหนึ่งของโลก Amazon ที่เริ่มหันมาทำโฆษณาในเว็บไซต์ของตัวเองนั้นกำลังทำงานร่วมกับแบรนด์โดยตรงและพยายามเบียดเอเจนซี่โฆษณาออกไป ที่ผ่านมาแม้ว่า Amazon จะมีการปฏิสัมพันธ์กับแบรนด์โดยตรงผ่าน Amazon Marketing Services ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจโฆษณาของ Amazon และรวมไปถึง Self-serve ads อยู่แล้ว แต่การทำงานร่วมกับแบรนด์ใหญ่โดยตรงและไม่ได้ผ่านเอเจนซี่โฆษณาแล้วถือเป็นปรากฎการณ์ใหม่สำหรับ Amazon โดยที่ผ่านมา Amazon ได้ส่งทีมงานไปคุยกับนักการตลาดและ CMO หลายบริษัทแล้วด้วย

ถือเป็นเรื่องที่นักการตลาดหลายคนในบางประเทศรอมานานแล้ว เนื่องจากการลงทุนใน Amazon เป็นการจัดการที่ครบสูตร ตั้งแต่การเปิดร้านทางออนไลน์ การรีวิว และการส่งของ รวมทั้งระบบโฆษณา บริการที่ Amazon นำเสนอมากขึ้นเรื่อยๆ ในระยะหลัง

Seth Dallaire รองประธานฝ่ายขายโฆษณาและการตลาด ของ Amazon กล่าวว่า บริษัทได้ทำงานโดยตรงกับแบรนด์เพื่อให้เกิดความลุ่มลึกของการทำข้อมูลการค้าปลีกมาวิเคราะห์ เช่น ทำไมของเหล่านี้ถึงขายดีจนหมดเกลี้ยง และจะตั้งราคาสินค้าอย่างไรและจะเสนอให้ลูกค้าอย่างไร

แบรนด์ขายคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ IT ต่างๆ อย่าง HP ก็ถือเป็นลูกค้าแบรนด์ใหญ่ของ Amazon ในตอนนี้ จากการสัมภาษณ์ Dan Salzman หัวหน้าแผนกสื่อระดับโลกกล่าวว่า Amazon ได้กลายมาเป็นพันธมิตรสื่อลำดับที่สาม รองจาก Facebook และ Google โดยที่แบรนด์พบว่า Amazon มีประโยชน์มาก เมื่อมาถึงสิ่งที่ Salzman เรียกว่า “lower funnel activities” (การมีลำดับขั้นที่ลดลงของการทำงาน) 

“สิ่งสำคัญที่ Amazon มี คือสามารถให้คำตอบได้ว่าอะไรที่ทำให้มันขายได้ การค้นหาผ่าน Amazon และมีการรีวิวสินค้าบนแพล็ตฟอร์ม เป็นส่วนหลักที่ทำให้เกิดเส้นทางการซื้อของลูกค้า HP และโฆษณาของ Amazon นั้นก็เป็นเครื่องมือที่ใช้ได้ผลในการต้อนลูกค้ามาให้กับแบรนด์” Salzman แสดงความเห็น และยังกล่าวเสริมอีกว่า “การทำงานโดยตรงต่อทีมของ Amazon ทำให้ใช้เวลาน้อยและการทำงานที่มีประสิทธิภาพมาก”

จากการรายงานผลกำไรในช่วงไตรมาสแรกของ Amazon รายได้จากโฆษณาเพิ่มขึ้น 132% ต่อปี และตอนนี้ Amazon มีรายได้จากด้านนี้แล้วถึง 2 พันล้านดอลลาร์

สิ่งที่ Amazon ทำในตอนนี้ไม่ใช่อะไรใหม่ เพราะก่อนหน้านี้ Google ก็ทำในแบบเดียวกันและแบรนด์เริ่มที่จะเดินหนีออกจาก Agency มากขึ้นเรื่อยๆ รวมทั้งการตลาดในปัจจุบันที่มีการพึ่งพาและขับเคลื่อนด้วยข้อมูลมากกว่าในอดีตนั่นเอง…คำถามที่เปิดขึ้นก็คือ วงการโฆษณา โดยเฉพาะอย่างยิ่ง มีเดีย และหรือ ดิจิทัล เอเจนซี่ ทั้งหลาย จะทำอย่างไรในเมื่อยักษ์ใหญ่ของวงการไอที ที่คุมช่องทางการขาย ต่างก็รุกคืบเข้าสู่วงการโฆษณามากขึ้นทุกทีๆ 

Source

Source

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0