โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ลุ้น สนช.ไฟเขียว พ.ร.บ. อีเพย์เมนต์

ไทยโพสต์

อัพเดต 15 ต.ค. 2561 เวลา 03.07 น. • เผยแพร่ 15 ต.ค. 2561 เวลา 03.07 น. • ไทยโพสต์

 

ลุ้น สนช. ไฟเขียวกฎหมายอีเพย์เมนต์ ปูพื้นโครงสร้างทางการเงินประเทศ จี้แบงก์รายงานธุรกรรมลูกค้าถี่ยิบ ป้องกันเลี่ยงภาษี-ทุจริต

นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รมช.การคลัง เปิดเผยว่า วันที่ 19 ต.ค. นี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) จะพิจารณาร่างแก้ไขพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่…) พ.ศ. … เพื่อรองรับระบบภาษีและเอกสารธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงการพื้นฐานระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติ (อี-เพย์เมนต์) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.การคลัง ให้ความสำคัญมาก เพราะถือเป็นการวางโครงสร้างทางการเงินและเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศ

สำหรับสาระสำคัญของกฎหมาย จะให้สถาบันการเงิน ธนาคารพาณิชย์ สถาบันการเงินของรัฐ และผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ รายงานการทำธุรกรรมการเงินของลูกค้าให้กรมสรรพากรรับทราบ

ทั้งนี้ ข้อมูลที่ต้องรายงานประกอบด้วย การฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3 พันครั้ง/ปี และการฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 200 ครั้ง และมียอดรวมของกันตั้งแต่ 2 ล้านบาทขึ้นไป โดยกรมสรรพากรจะเก็บข้อมูลเป็นเวลานาน 10 ปี หากไม่ปฏิบัติตามปรับ 1 แสนบาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 1 หมื่นบาท จนกว่าจะรายงานข้อมูลให้ถูกต้อง

“คาดว่ากฎหมายจะได้รับความเห็นชอบจาก สนช. และประกาศผลบังคับใช้ในปี 2562 ซึ่งจะทำให้การเก็บภาษีของประเทศมีประสิทธิภาพมากขึ้น และรองรับนโยบายของรัฐบาลที่จะพัฒนาประเทศไทย 4.0 เป็นยุคของเศรษฐกิจดิจัทัล ที่มีการเปลี่ยนแปลงการทำธุรรรมการอย่างรวดเร็ว ดังนั้นการปรับปรุงกฎหมายให้เท่าทันจึงเป็นเรื่องสำคัญ” นายวิสุทธิ์ กล่าว

แหล่งข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายดังกล่าว คือ ร้านค้าออนไลน์ที่ยังไม่อยู่ในระบบภาษี ข้าราชการที่ทุจริตมีโอนเงินเข้าบัญชี และธุรกิจผิดกฎหมาย ซึ่งทำให้ผู้ประกอบการเข้ามาอยู่ในระบบภาษีมากขึ้น รวมถึงป้องกันการทุจริตของข้าราชการ และการค้าขายของผิดกฎหมายที่เป็นภัยอันตรายต่อประชาชนและประเทศ

อย่างไรก็ดี โครงการอีเพย์เมนต์มีส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับการเก็บภาษี โดยต่อไปการจ่ายชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ทุกรายการข้อมูลจะถูกส่งไปที่กรมสรรพากรทั้งหมด ทำให้การเก็บภาษีมีประสิทธิภาพมากขึ้น มีช่องรั่วไหลลดลง และการเลี่ยงภาษีทำได้ยากขึ้น กระทรวงการคลังคาดว่าเมื่อระบบอีเพย์เมนต์เชื่อต่อกับระบบขอกรมสรรพากรอย่างสมบูรณ์ จะทำให้เก็บภาษีได้เพิ่มขึ้นกว่า 1 แสนล้านบาท โดยที่ไม่ต้องเพิ่มอัตราภาษี

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0