โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

ลุ้น กสทช.ปรับราคาคลื่น700 หลังค่ายมือถือบอกยังแพง

ฐานเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 22 พ.ค. 2562 เวลา 10.32 น.

นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการสำนักงานกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กล่าวระหว่างการเป็นประธานเปิดการรับฟังความคิดเห็นสธารณะร่างประกาศสำนักงาน กสทช.เรื่องการอนุญาตให้ใช้ความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 703-733 และย่าน 758-788 เมกะเฮิรตซ์ ว่า สำหรับรื่องของราคาการเปิดประมูลคลื่น700 เมกะเฮิรตซ์ที่ผู้ประกอบการโทรศัพท์ดคลื่อนที่มองว่ามีราคาที่สูงเกินจริงนั้น ทางกสทช.จะนำเรื่องนี้ไปพิจารณาอีกครั้ง โดยจะดำเนินการให้เกิดผลกระทบต่อประเทศน้อยที่สุดถ้าในวันที่ 19 มิถุนายนนี้ ไม่มีเอกชนยื่นคำขอรับใบอนุญาตใช้คลื่นความถี่ 700 เมกะเฮิรตซ์ จะส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อการนำเงินที่จะนำไปช่วยเหลือทีวีดิจิทัล

ขณะที่ นายจักรกฤษณ์ อุไรรัตน์ บริษัท ทรูมูฟ เอช ยูนิเวอร์แซล คอมมิวนิเคชั่น จำกัด กล่าวว่า โดยส่วนตัวมองว่าราคาตั้งต้นที่ กสทช.กำหนดราคา17,584 ล้านบาทยังเป็นราคาที่แพงมาก เพราะ กสทช.คิดจากต้นทุนเต็ม 100% แต่ไม่ได้มองว่าผู้ประกอบการสมารถใช้ได้ครบ 100%  เพราะยังมีความกังวลเรื่องคลื่นรบกวนบริเวณชายแดน เพราะประเทศเพื่อนบ้านยังมีการใช้งานคลื่น 700เมกะเฮิรตซ์ สำหรับอุตสาหกรรมโทรทัศน์เช่นเดียวกัน ดังนั้น กสทช.ควรคำนึงถึงปัจจัยในส่วนนี้

ด้านนายนฤพนธ์ รัตนสมาหาร ผู้อำนวยการอาวุโส สายงานรัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น จำกัด (มหาชน) หรือดีแทค กล่าวว่า ดีแทค เป็นโอเปอเรเตอร์รายหนึ่งที่ยื่นขอให้รัฐบาลช่วยขยายระยะเวลาในการชำระค่าธรรมเนียมใบอนุญาตคลื่น 900 MHz แต่ไม่ได้บอกว่าจะเข้าไปซื้อคลื่น

 เมื่ออุตสาหกรรมมีปัญหาเป็นเรื่องดีที่รัฐต้องให้ความช่วยเหลือ แต่ กสทช.ก็ไม่ควรมีเงื่อนไขให้เข้าร่วมการจัดสรรคลื่น 700 MHz เพราะคำสั่ง คสช. ไม่ได้บอกว่า กสทช.ต้องมัดมือชกบังคับให้เอกชนต้องซื้อคลื่น 700 MHz เมื่อดูราคาการจัดสรรในทวีปยุโรป อยู่ที่ 1.7 พันล้านบาท ในเอเชียอยู่ที่ 1.3 หมื่นล้านบาท ขณะที่ราคาของประเทศไทยอยู่ที่ 17,584 ล้านบาท ดีแทค จึงอยากขอให้กสทช.ทบทวนราคาและระยะเวลาจัดสรรให้เหมาะสมกว่านี้

ขณะที่นายสุเทพ เตมานุวัตร์ หัวหน้าฝ่ายงานธุรกิจสัมพันธ์และพัฒนา บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ท เวอร์ค จำกัด (เอดับบิวเอ็น) บริษัทในเครือ เอไอเอส กล่าวว่า การเปิดจัดสรรคลื่ความถี่ในครั้งนี้ เอกชนทราบดีว่าการไปสู่ 5G จะไม่สามารถไปได้ด้วยคลื่นความถี่เพียงย่านเดียวได้ซึ่งโรดแมพของ กสทช. เตรียมนำคลื่นในย่านอื่นๆ ออกมาประมูลเพิ่มเติมในปีปลายปีนี้ ดังนั้นราคาคลื่นควรนึกถึงระบบนิเวศน์ในอนาคตมารวมด้วย  และ กสทช.ควรจัดสรรงบประมาณคลื่นรบกวนเข่นเดียวกันด้วย

 

อย่างไรก็ตามหลังจบประชาพิจารณ์แล้วขั้นตอนหลังจากนี้ทาง กสทช.จะนำข้อเสนอแนะที่ได้ไปพิจารณา และจะมีการสรุปผลในสัปดาห์ถ้ามีการปรับแก้เงื่อนไขจะประกาศให้ทราบในวันต่อไป

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0