โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ลุ้นใช้ ม.44 ทดลอง "กัญชา" ทางการแพทย์กับผู้ป่วย

คมชัดลึกออนไลน์ - ข่าวทั่วไป

เผยแพร่ 24 ก.ย 2561 เวลา 04.01 น.

จ.สุราษฎร์ธานี -24 ก.ย.61-นายศิรินทร์ยา สิทธิชัย เลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) เปิดเผยถึงกรณีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมสั่งการให้รวบรวมผลการวิจัยเกี่ยวกับกัญชาทางการแพทย์เพื่อขอใช้มาตรา 44 ให้สามารถใช้น้ำมันกัญชาทดลองรักษากับผู้ป่วยว่า หลังจากปี 2559 ที่กฎหมายอนุญาตให้ปลูกกัญชงเป็นพืชเศรษฐกิจได้ ขณะที่ในส่วนของพืชกัญชานั้นยังอยู่ระหว่างการพิจารณา โดยกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) มีกฏหมาย 2 ฉบับ ที่ให้อนุญาตหน่วยงานราชการ ปลูกและผลิตกัญชาเพื่อการศึกษาและวิจัยได้ ตั้งแต่ปี 2560 โดยให้อำนาจรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นผู้อนุญาตเพื่อผลิตซึ่งครอบคลุมถึงปลูก นำเข้า ส่งออก จำหน่าย แต่การอนุญาตนั้นจะให้เฉพาะทางการแพทย์ในการทดลองเท่านั้น เช่น มหาวิทยาลัยรังสิต ขออนุญาตผลิตน้ำมันกัญชาเพื่อนำไปทดลอง ขณะนี้มีน้ำมันกัญชาแล้วแต่ยังใช้ได้กับหนูทดลอง ยังไม่สามารถนำมาทดสอบในผู้ป่วยได้ เนื่องจากติดขัดข้อกฎหมาย ที่การเสพกัญชาไม่ว่าจะถูกแปรรูปเป็นลักษณะใดก็ยังมีความผิด. โดยร่างประมวลยาเสพติดที่อนุญาตให้เสพกัญชาเพื่อการรักษายังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.)

นายศิรินทร์ยา กล่าวอีก ส่วนประเด็นข้อกังวลที่เกรงว่ารัฐบาลชุดปัจจุบันจะออกกฎหมายยาเสพติดโดยเฉพาะเรื่องพืชกัญชาจะไม่ทันอายุรัฐบาลชุดนี้ และขอให้ใช้อำนาจ ม.44 นั้น ขณะนี้ พล.อ.อ.ประจิน จั่นตอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้มอบหมายให้ ป.ป.ส. ไปศึกษาความเป็นไปได้ว่าสามารถทำได้หรือไม่ เพราะเกรงว่ากฏหมายที่อยู่ในสภาฯจะล่าช้า ทั้งนี้คาดว่า ภายใน 7-10 วัน ป.ป.ส.จะเสนอรายละเอียดถึงความจำเป็นและเหตุผลต่อพล.อ.อ.ประจิน เพื่อเสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) และคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)พิจารณาต่อไป
"โอกาสความเป็นไปได้ในการใช้กฎหมายพิเศษกับกัญชาทางการแพทย์ ป.ป.ส.ไม่สามารถให้คำตอบได้ แต่ ป.ป.ส.มีหน้าที่ทำตามที่ พล.อ.อ.ประจิน สั่งการ คือศึกษาข้อดีข้อเสียทุกด้านอย่างละเอียด ซึ่งแนวโน้มพบว่ามีข้อดีมากกว่าข้อเสีย.ที่ผ่านมาจึงเสนอแก้ไขกฎหมายและยกร่างประมวลยาเสพติดขึ้น. ซึ่ง ครม.ก็อนุมัติเห็นชอบให้ผลิตเพื่อทดลองวิจัย. ติดอยู่ตรงที่ยังไม่สามารถทดสอบผลการรักษากับผู้ป่วยได้. หากสามารถคลายล็อกได้ ผู้ป่วยจะมีโอกาสเข้าถึงยา ปัญหาที่ต้องตัดสินใจในตอนนี้คือ มีความจำเป็นเร่งด่วนต้องใช้กฎหมายพิเศษหรือไม่" นายศิรินทร์ยา กล่าว
เลขาธิการป.ป.ส.กล่าวอีกว่า. จากการศึกษาดูงานในต่างประเทศพบว่า ในทางการแพทย์ยังมีความเห็นที่แตกต่างต่อกัญชาทางการแพทย์ โดยการเสพในปริมาณมากจะส่งผลกระทบต่อสมองของผู้เสพ.ในการรักษาโรคลมชัก พาคินสัน และมะเร็ง โดยบางรายรักษาไม่หาย ขณะนี้กัญชาจึงไม่ใช่ยาที่รักษาโรคได้ 100 % ประเทศออสเตรียปลูกกัญชาก็ปลูกอยู่ในเฉพาะโรงเรือนเพื่อนำมาสกัดน้ำมันกัญชา ซึ่งปลูกกัญชาเพียง 2 ไร่ เท่านั้น เพื่อนำมาใช้สำหรับทดลอง ไม่ใช่รณรงค์ปลูกในพื้นที่ 5,000 ไร่
นายศิรินทร์ กล่าวว่า สำหรับเรื่องการขออนุญาตต่างๆเกี่ยวกับพืชกัญชาต้องขอไปที่สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข เพื่อให้ รมต.สธ.พิจารณา ต่อไป ส่วนการดูแลตั้งแต่ต้นทาง กลางทาง ปลายทาง ทาง ป.ป.ส.เองมีความกังวลและต้องมีมาตรการจัดการดูแลอย่างรัดกุมสำหรับกลุ่มพืชกัญชา เนื่องจาก ป.ป.ส.เป็นกังวลว่าดอกกัญชาจะถูกนำไปใช้เป็นยาเสพติด เรื่องกัญชาต้องมีความละเอียดและเข้มงวดมากกว่ากัญชงที่มีปริมาณสารเสพติดเพียงเล็กน้อย
เลขาธิการ ป.ป.ส. กล่าวต่อว่า สำหรับพืชกระท่อมนั้น ในร่างกฎหมายใหม่ยังอนุโลมให้บางพื้นที่ใช้กระท่อมในวิถีชีวิต หรืออนุญาตให้การเคี้ยวใบกระท่อมสดสามารถทำได้ แต่ไม่ให้นำไปต้มดื่มหรือผสมเป็นยาเสพติด 4x100 เด็ดขาดเพราะผิดกฎหมาย โดยคาดว่ากฎหมายในส่วนของกระท่อมจะบังคับใช้ได้ในช่วงกลางปี 62

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0