โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ลุ้นครม.เคาะอธิบดีกรมรางคนแรก

ฐานเศรษฐกิจ

เผยแพร่ 20 พ.ค. 2562 เวลา 00.42 น.

วงการระบบรางของไทยเริ่มคึกคักและเห็นภาพชัดเจนยิ่งขึ้นกับองค์กรใหม่ จับตา!!! พรุ่งนี้ครม. ตั้ง“ชยธรรม์  พรหมศร” นั่งอธิบดีกรมรางฯคนแรกของไทย ด้านวงในกระทรวงคมนาคมลือสนั่น“สราวุธ ทรงศิวิไล” อาจม้ามืดคว้าเก้าอี้แทน

แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคมเปิดเผยว่าการประชุมคณะรัฐมนตรี( ครม.) ในวันพรุ่งนี้ (21 พ.ค. 2562) กระทรวงคมนาคมจะเสนอชื่อให้ครม. พิจารณาแต่งตั้ง “อธิบดีกรมการขนส่งทางราง” คนแรกของไทยโดยนายอาคม  เติมพิทยาไพสิฐ  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมเป็นผู้คัดสรรข้าราชการระดับ 10 ภายในกระทรวงคมนาคมที่มีความเหมาะสมไปดำรงตำแหน่งดังกล่าวไว้เรียบร้อยแล้วซึ่งมีชื่อสื่อ ช.ช้าง และ ส.เสือ ให้ได้ลุ้นกัน โดยชื่อย่อ ช.ช้างนั้นคาดหมายกันว่าจะเป็นนายชยธรรม์  พรหมศร  รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.) ที่คาดว่าจะได้รับโปรโมทขึ้นดำรงตำแหน่ง “อธิบดีกรมการขนส่งทางราง” คนแรกของประเทศไทย

“เท่าที่ดูสถานการณ์ล่าสุดความเป็นไปได้ผมคิดว่านายชยธรรม์จะได้รับการแต่งตั้งให้เป็นอธิบดีกรมรางฯคนแรกเพราะถือเป็นผู้ที่มีความรู้และเหมาะสมในเรื่องของการขนส่งทางราง แต่ล่าสุดภายในกระทรวงคมนาคมยังมีชื่อย่อ ส.เสือ ซึ่งหมายถึงนายสราวุธ  ทรงศิวิไล ผอ.สนข. ที่อาจจะเป็นม้ามืดได้รับการแต่งตั้งเช่นกันแต่ทั้งนี้ทั้งนั้นก็ต้องรอดูผลการประชุมครม.ในวันที่ 21 พ.ค.นี้”

“นายสราวุธ ทรงศิวิไล”

แหล่งข่าวกล่าวต่ออีกว่าเมื่อวันที่ 14 พ.ค.ที่ผ่านมาภายหลังการประชุมครม.ในวันนั้นนายอาคมและนายชัยวัฒน์  ทองคำคูณ  ปลัดกระทรวงคมนาคมได้เรียกนายสราวุธ  ทรงศิวิไล  ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) เข้าพบเพื่อให้ สนข. เป็นพี่เลี้ยงรวมถึงเตรียมความพร้อมและสนับสนุนให้กับกรมการขนส่งทางรางทั้งด้านการจัดการเอกสารจัดสรรงบประมาณในโครงการพัฒนาระบบรางรวมถึงบุคลากรฝ่ายต่างๆในช่วงการเปลี่ยนผ่านของกรมการขนส่งทางรางจากนั้นล่าสุดเมื่อวันที่ 15 พ.ค. ที่ผ่านมานายสราวุธได้เรียกประชุมบุคลากรของกรมการขนส่งทางรางฝ่ายต่างๆเพื่อเตรียมความพร้อมให้กับกรมการขนส่งทางรางเช่นโครงสร้างบุคลากรของหน่วยงานการจัดสรรงบประมาณการกำหนดแผนและนโยบาย เป็นต้น

สำหรับประวัติการศึกษานายสราวุธ  ทรงศิวิไล ปี 2520 – 2523 ระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบดินทรเดชา(สิงห์สิงหเสนี) ปี 2523 – 2524 มัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ปี 2524 – 2528 วศ.บ. (วิศวกรรมโยธา) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และปี 2530 – 2532 วศ.ม. (ชนส่ง) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ในส่วนประวัติการทำงานนั้น  พ.ศ. 2529 – 2540 วิศวกรโยธาฝ่ายแผนงานกองบำรุงกรมทางหลวงพ.ศ. 2540 – 2545 หัวหน้าภาคตะวันออกเฉียงเหนือสำนักบริหารบำรุงทางกรมทางหลวง พ.ศ. 2545 – 2547 ผู้อำนวยการส่วนมาตรฐานผู้รับจ้าง(งานจดทะเบียนผู้รับเหมา) กรมทางหลวง พ.ศ. 2547 – 2549 ผู้อำนวยการสำนักงานบำรุงทางธนบุรี(แขวงการทาง) กรมทางหลวง พ.ศ. 2549 – 2550 ผู้อำนวยการแขวงการทางกรุงเทพ กรมทางหลวง พ.ศ. 2550 – 2552 ผู้อำนวยการกลุ่มกำหนดกลยุทธ์และแผนงานบำรุงทาง สำนักบริหารบำรุงทาง กรมทางหลวง พ.ศ. 2552 – 2556 ผู้อำนวยการสำนักทางหลวงที่8 (นครราชสีมา) กรมทางหลวง พ.ศ. 2556 – 2557 รองอธิบดีกรมทางหลวง(ฝ่ายวิชาการ) กรมทางหลวง พ.ศ. 2557 – 2560 รองอธิบดีกรมทางหลวง(ฝ่ายบำรุงทาง) กรมทางหลวง พ.ศ. 2560 – 2561 ผู้ตรวจราชการกระทรวงกระทรวงคมนาคม พ.ศ. 2561 – ปัจจุบัน ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร(สนข.)

ด้านนายชยธรรม์ พรหมศร รองผู้อำนวยการสนข. มีประวัติการศึกษาที่น่าสนใจได้แก่ปี 2538 ระดับปริญญาเอก Ph.D.in Civil Engineering (Transportation) The University of Texas at Austin, Texas, U.S.A (โดยทุนรัฐบาลไทย) 2535 ระดับปริญญาโท M.Sc.in Civil Engineering  (Transportationเลย) The University of Texas at Austin, Texas, U.S.A ( โดยทุนรัฐบาลไทย) 2533 ได้รับคัดเลือกเป็นนักเรียนทุนรัฐบาลในระดับปริญญาโท-เอก ประเทศสหรัฐอเมริกา 2532 ระดับปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต(วิศวกรรมโยธา) เกียรตินิยมอันดับ2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 2527 ระดับมัธยมปลายโรงเรียนเซนต์คาเบรียล

“นายชยธรรม์  พรหมศร”

ในส่วนประวัติการทำงานปี 2559 – ปัจจุบันระดับบริหารต้นรองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร 2554 – 2559 ระดับอำนวยการสูงผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการทางหลวงระหว่างประเทศกรมทางหลวง 2552 – 2554 ระดับอำนวยการสูงผู้อำนวยการสำนักมาตรฐานการก่อสร้างและประเมินผลกรมทางหลวง 2551 – 2552 วิศวกรโยธาเชี่ยวชาญ(ระดับ9) กรมทางหลวง 2547 – 2551 ระดับอำนวยการต้นผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศ กรมทางหลวง

สำหรับประสบการณ์งานที่สำคัญได้แก่ ปี 2554 – 2556 ประธานคณะเจรจาและพิจารณาโครงการรับความช่วยเหลือด้านการเงินจากรัฐบาลญี่ปุ่นในงานบูรณะทางหลวงพิเศษมอเตอร์เวย์หมายเลข9 วงแหวนด้านตะวันออกปี 2553 – 2554 ประธานคณะทำงานจัดจ้างโครงการก่อสร้างขยายสี่ช่องจราจรบนทางหลวงสายหลักเชื่อมโยงระหว่างประเทศโดยใช้เงินกู้จากธนาคารพัฒนาเอเชีย ปี2549 กรรมการในคณะกรรมการพิจารณาความเหมาะสมด้านเทคนิคโครงการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชน กระทรวงคมนาคมปี 2544 – 2546 กรรมการในคณะกรรมการเร่งรัดงานก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ

ส่วนประสบการณ์งานทั่วไป อาทิ ปี 2554 – ปัจจุบันกรรมการในคณะกรรมการกำกับการศึกษาการออกแบบและกำกับงานก่อสร้างโครงข่ายทางหลวงระหว่างประเทศและสะพานเชื่อมต่อประเทศเพื่อนบ้านหลายแห่ง เช่นสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 เชียงของ- ห้วยทรายสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 5 บึงกาฬ- ปากซันสะพานมิตรภาพไทย-พม่าข้ามแม่น้ำเมยแห่งที่ 2 และสะพานมิตรภาพไทย-มาเลเซียที่ตากใบปี2555 – ปัจจุบันกรรมการในคณะกรรมการควบคุมและกำกับการก่อสร้างทางหลวงเชื่อมต่อต่างประเทศสาย12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) และสาย359 (พนมสารคาม-สระแก้ว) ภายใต้เงินกู้ธนาคารพัฒนาเอเชีย(Asian Development Bank) ปี2554 – 2556 กรรมการในคณะกรรมการควบคุมและกำกับการก่อสร้างสะพานมิตรภาพ4 (เชียงของ- ห้วยทราย) 

ปี 2555 – 2556 กรรมการในคณะกรรมการกำกับการศึกษาและกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนก่อสร้างและบริหารทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง(Motorway) ในรูปแบบPublic Private Partnership (PPP) ของกรมทางหลวงภายใต้ความช่วยเหลือด้านการเงินจากธนาคารพัฒนาเอเชียปี 2555 – 2556 กรรมการในคณะกรรมการกำกับการศึกษาและกำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนในการบำรุงรักษาทางหลวงแบบ Performance Based Contract ของกรมทางหลวง ภายใต้โครงการเงินกู้จากธนาคารโลก

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0