โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ลุยอาชญากรรมเศรษฐกิจในตลาดทุน ชงผู้บริหารโกงเข้าคดีฟอกเงิน

ไทยรัฐออนไลน์ - Economics

เผยแพร่ 24 พ.ค. 2562 เวลา 02.20 น.
ภาพไฮไลต์
ภาพไฮไลต์

ก.ล.ต.ผนึกกำลังดีเอสไอ-ปปง.

นางสาวรื่นวดี สุวรรณมงคล เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เปิดเผยว่า ก.ล.ต.ได้หารือกับคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ปปง.) หลังวันก่อนได้เข้าหารือกับกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เนื่องจากต้องการร่วมทำงานกับหน่วยงานในกระบวนการยุติธรรมทางอาญา เพื่อให้การบังคับใช้กฎหมายในตลาดทุนมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งถือเป็นการทำงานเชิงบูรณาการ โดยการหารือกับ ปปง.ในครั้งนี้ มีความเห็นร่วมกันใน 5 ประเด็นสำคัญคือ 1.ตั้งคณะกรรมการร่วมกันเพื่อปรับเนื้อหาในบันทึกความร่วมมือฉบับใหม่ (MOU) ให้สอดคล้องกับกฎหมาย ปปง.และ พ.ร.บ.หลักทรัพย์ที่มีการแก้ไขใหม่ รวมทั้งให้ครอบคลุมถึงธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัลที่อยู่ในการกำกับของ ก.ล.ต.ด้วย

2.ก.ล.ต.เสนอให้ 3 หน่วยงานคือ ดีเอสไอ ปปง.และสำนักงาน ก.ล.ต. มีการทำงานร่วมกันตั้งแต่จุดเริ่มต้นหรือขั้นตอนแรกในการสืบสวนสอบสวน กรณีที่มีการกระทำความผิด พ.ร.บ.หลักทรัพย์ ถือเป็นครั้งแรกของทั้ง 3 หน่วยงานเพื่อจะได้ไม่ต้องส่งข้อมูลต่อกันไปมา เพื่อให้เกิดความรวดเร็วด้านคดี 3.เรื่อง KYC หรือการทำความรู้จักและการยืนยันตัวตนที่แท้จริงของลูกค้า ซึ่งเป็นด่านแรกในการทำธุรกรรมในธุรกิจหลักทรัพย์ โดยจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลกับฐานข้อมูลของ ปปง.เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องตรงกัน มีประสิทธิภาพและรวดเร็ว

4.จะร่วมกับ ปปง.ที่มีการเดินสายออกไปให้ความรู้และเตือนภัยประชาชนในต่างจังหวัด เพื่อป้องกันการหลอกลวงด้านต่างๆ โดย ก.ล.ต.ได้ขอความร่วมมือให้เตือนภัยกรณีที่มีการหลอกลวงที่เกี่ยวกับกฎหมายหลักทรัพย์ด้วย 5.ก.ล.ต.เสนอให้เพิ่มการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.หลักทรัพย์ โดยเฉพาะการกระทำความผิดของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียน ที่กระทำทุจริตต่อบริษัทและผู้ถือหุ้น รวมทั้งการปั่นหุ้น การใช้ข้อมูลภายในซื้อขายหุ้น ซึ่งเป็นการเอาเปรียบผู้ลงทุน โดยให้เพิ่มประเภทความผิดในบัญชีแนบท้ายของกฎหมาย ปปง. เพื่อให้ ปปง.สามารถใช้อำนาจในการยึดอายัดทรัพย์ของผู้กระทำความผิดได้ทันทีและรวดเร็ว เป็นการปกป้องคุ้มครองผู้ลงทุน ซึ่งถือเป็นภารกิจที่สำคัญของ ก.ล.ต. “เป็นการมองเห็นประโยชน์ร่วมกันในการป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดที่ถือเป็นอาชญากรรมทางเศรษฐกิจในตลาดทุน โดยเฉพาะการกระทำความผิดของผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนที่มีมากขึ้น ซึ่ง ปปง.เองก็มีแนวคิดนี้อยู่แล้ว”.

ข่าวอื่นที่เกี่ยวข้อง

ตามข่าวก่อนใครได้ที่
- Website : www.thairath.co.th
- LINE Official : Thairath

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0