โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ละเมิดกฎ และไม่ทำตามระเบียบกักตัวที่จริงจัง ทำไมออสเตรเลียถึงการ์ดตก เกิดการระบาดรอบ 2?

The MATTER

อัพเดต 14 ก.ค. 2563 เวลา 08.58 น. • เผยแพร่ 14 ก.ค. 2563 เวลา 08.44 น. • Social

การระบาดระลอกที่ 2 พบผู้ติดเชื้อคลัสเตอร์ใหม่ เป็นเรื่องที่ทางการแพทย์ และเจ้าหน้าที่ต่างๆ มีการประกาศเตือนการเฝ้าระวังของโรคอยู่เรื่อยๆ รวมถึงเป็นสถานการณ์ที่หลายประเทศประสบอยู่ในขณะนี้

ไม่ว่าเป็นจีน ที่เป็นประเทศต้นทางเอง หรือหลายประเทศที่เหมือนจะคุมสถานการณ์ได้ อย่างเกาหลีใต้ หรือสิงคโปร์ ทำให้ต้องมีมาตรการล็อกดาวน์ หรือคุมเข้มกันใหม่อีกครั้ง

ซึ่งหนึ่งในประเทศที่ตอนนี้กลับมาเจอการระบาดระลอก 2 ใหม่ จนสถานการณ์ในประเทศที่ดูเหมือนจะผ่อนคลายเปลี่ยนไป คือ ‘ออสเตรเลีย’ ที่กำลังอยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ที่เข้มข้นอีกครั้ง

การกลับมาระบาดใหม่ในออสเตรเลีย

ในช่วงปลายเดือนเมษายน สถานการณ์การระบาดของเชื้อ COVID-19 ในออสเตรเลีย ดูจะมีแนวโน้มที่ดีขึ้น มีการพบผู้ติดเชื้อน้อยลง มาอยู่ในหลักสิบ และในบางวันเพียงแค่หลักเดียว ซึ่งตัวเลขนี้ก็นิ่งๆ ลงมาถึงกลางเดือนมิถุนายน ทำให้ประเทศเองมีการผ่อนปรนล็อกดาวน์ และมีแผนจะทำการ Travel Bubble เส้นทางเที่ยวปลอดโรคร่วมกับนิวซีแลนด์ด้วย

แต่แล้วตัวเลขที่นิ่งๆ เหล่านี้ กับเริ่มเจอผู้ติดเชื้อพุ่งสูงขึ้นจากแค่ 10 กว่ารายเป็นจำนวนทวีคูณ และกลายเป็นหลักร้อย หรืออย่างล่าสุดในวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา ผู้ติดเชื้อรายใหม่ก็พุ่งไปถึง 300 รายเลยด้วย

cr.EPA

มีการคาดว่า การระบาดระลอกใหม่นี้ มีได้จากหลายสาเหตุ ทั้งการผ่อนปรน และการ์ดตกของประชาชน การคลายล็อกดาวน์ที่อาจทำให้กลุ่มเสี่ยงเดิมจากคลัสเตอร์โรงฆ่าสัตว์ ไปถึงหนึ่งในปัจจัยที่ถูกพูดถึงมาก โดยเฉพาะในรัฐวิกตอเรียนี้ คือการละเมิดกฎ และไม่ปฏิบัติตามระเบียบการกักตัวที่เพียงพอ

ปัจจัยนี้ เกิดขึ้นโดยคาดว่ามาจากพนักงานรักษาความปลอดภัยในโรงแรมที่ใช้กักตัวผู้โดยสารที่กลับมาจากต่างประเทศ ละเมิดกฎการควบคุมการติดเชื้อในโรงแรมซึ่งเป็นสถานกักกัน โดยรมว. กระทรวงบริการฉุกเฉิน ลิซ่า เนวิลล์ กล่าวว่า ความเสี่ยงเหล่านี้เกิดจากการควบคุมผู้เดินทางกลับที่ ‘ไม่จริงจังมากพอ’

เป็นมาตรการที่คล้ายๆ กับทุกๆ ประเทศ ที่ใครก็ตามที่เดินทางมาถึงออสเตรเลียจะต้องได้รับการกักกันตัวเป็นเวลา 14 วัน ในสถานที่ซึ่งรัฐบาลเป็นผู้ดำเนินการ แต่กลับมีรายงานว่าพนักงานรักษาความปลอดภัยในโรงแรมไปมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ถูกกักตัวอยู่ มีการใช้ที่จุดบุหรี่ร่วมกัน รวมถึงการไม่คุมเข้ม ให้ครอบครัวที่พักกันอยู่คนละห้องยังสามารถไปมาหาสู่ระหว่างกันได้ด้วย ทำให้เมื่อพนักงานเหล่านี้เดินทางกลับบ้านไป จึงนำเชื้อเหล่านี้ไประบาดนอกพื้นที่กักกันด้วย

นอกจากนี้ ยังมีรายงานว่าเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเหล่านี้ ซึ่งเป็นพนักงานจ้างสัญญา ยังขาดการฝึกฝน ฝึกอบรม โดยหนึ่งในเจ้าหน้าที่ได้ให้สัมภาษณ์กับรายการทีวี Today ว่าพวกเขาได้รับการฝึกเพียงแค่ 5 นาทีก่อนที่จะต้องเริ่มต้นงาน ซึ่งกับรัฐอื่นๆ นั้นไม่ประสบปัญหานี้

จากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น จนเกิดการแพร่เชื้อขึ้นมา ทาง เกร็ก ฮันท์ รมต.สาธารณสุขออสเตรเลียเองก็ยอมรับว่า มีช่องโหว่ที่เกิดขึ้น ซึ่งเมื่อถูกถามถึงกรณีที่มีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยไปมีความสัมพันธ์ทางเพศกับแขก เขาเองก็บอกว่า "ถ้าเรื่องเหล่านั้นเป็นความจริง ถือเป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้” เลยด้วย

ซึ่งล่าสุด ในสัปดาห์ที่ผ่านมา มีการประกาศถึงคลัสเตอร์การระบาดระลอก 2 ในออสเตรเลีย โดยเฉพาะในนครเมลเบิร์นเอง ถึง 30 คลัสเตอร์แล้ว

ปิดพรมแดนระหว่างรัฐ ห้ามออกนอกบ้าน ล็อกดาวน์อีกครั้ง

แน่นอนว่าเมื่อสถานการณ์แย่ลง มาตรการที่ผ่อนคลายก็ต้องกลับมาคุมเข้มขึ้น จากที่ประชาชนในประเทศเริ่มกลับเข้าสู่สภาวะปกติ การล็อกดาวน์ก็กลับมาอีกครั้ง โดยในนครเมลเบิร์น รัฐวิกตอเรีย ก็มีการปิดเมืองอีกครั้ง รวมถึงเมืองใหญ่อันดับ 2 ของออสเตรเลีย โดยมีการประกาศกักตัวผู้คน 3,000 คน ในย่านเคหะ ห้ามออกจากบริเวณดังกล่าวเนื่องจากพบผู้ติดเชื้อ ก่อนที่จะมีอีกคำสั่งให้ประชากรกว่า 5 ล้านคนในนครนี้ ต้องอยู่ภายใต้คำสั่งอยู่บ้าน ห้ามออกจากเมือง ยกเว้นเหตุจำเป็น เป็นเวลาถึง 6 สัปดาห์

ไม่เพียงเท่านั้น ยังมีการสกัดการแพร่เชื้อจากรัฐวิกตอเรียด้วยการปิดพรมแดนระหว่างรัฐวิกตอเรีย และนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกในรอบ 100 ปีที่ปิดพรมแดนนี้

การล็อกดาวอีกรอบนี้ กระทบต่อเสรีภาพ และความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตของประชาชน แต่แน่นอนว่า ในมุมของเศรษฐกิจ จากที่มีทีท่าว่าจะดีขึ้นนั้น ก็กลับถูกมองว่า การล็อกดาวน์รอบ 2 จะกระทบอย่างรุนแรงเหมือนหายนะ ซึ่งแม้แต่ แดเนียล แอนดรูว์ส มุขมนตรีรัฐวิกตอเรียเองก็ยังยอมรับว่า การล็อกดาวน์ 6 สัปดาห์จะก่อให้เกิด ‘ความเสียหายจำนวนมหาศาล’ ต่อเศรษฐกิจ และสวัสดิภาพของประชาชน

ยังมีการคาดการณ์ว่า ข้อจำกัดต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ จะสร้างภาวะถดถอยที่ยืดเยื้อต่อเศรษฐกิจออสเตนเลียในรอบ 30 ปี ทั้งรัฐวิกตอเรียที่มีขนาดใหญ่ ยังมี GDP สูงประมาณ 1 ใน 4 ของทั้งประเทศ และการปิดพรมแดน แยกตัวจากรัฐอื่นๆ ยังสร้างความกังวลเรื่องการเดินทาง และขนส่งด้วย

ข้อ จำกัด ในการกวาดนั้นคุกคามให้ลึกซึ้งยิ่งขึ้นและยืดเยื้อภาวะถดถอยครั้งแรกของออสเตรเลียในรอบเกือบ 30 ปี วิคตอเรียมีส่วนร่วมในผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศประมาณหนึ่งในสี่ แต่ตอนนี้ถูกแยกออกจากส่วนที่เหลือของประเทศเนื่องจากรัฐอื่น ๆ ปิดกั้นพรมแดนของพวกเขาจากความกังวลที่เพิ่มขึ้นในการส่งผ่านชุมชน

“การหวนคืนสู่การล็อกดาวน์ จะฆ่า SMEs จำนวนมาก เนื่องจากพวกเขาจะไม่สามารถอยู่รอดในเส้นทางระยะยาว ก่อนกลับสู่เศรษฐกิจปกติได้” จอห์น วาซ อาจารย์อาวุโสของ Monash Business School ในเมลเบิร์นกล่าว ทั้งจากประสบการณ์ของเขา เขายังมองว่า มันจะใช้เวลามากถึง 3-5 ปีที่จะกลับมาสู่สถานการณ์ก่อนการเกิด COVID-19

การระบาดที่ยังไม่จบสิ้นนี้ ถือเป็นความท้าทายของออสเตรเลีย ที่แม้ว่าจะเคยแสดงให้เห็นว่าสามารถจัดการ และควบคุมจนสถานการณ์ดีขึ้นได้ แต่ออสเตรเลียก็ถือเป็นหนึ่งสถานการณ์ที่แสดงให้เราเห็นบทเรียนว่า ความผิดพลาด และ ‘การการ์ดตก’ ของภาครัฐในการจัดการปฏิบัติตามกฎ ก็พลิกสถานการณ์กลับให้รุนแรง และซ้ำแผลที่ยังไม่หายดี ให้ช้ำขึ้นกว่าเดิมได้

อ้างอิงจาก

straitstimes.com

edition.cnn.com

abc.net.au

scmp.com

nzherald.co.nz

9now.nine.com.au

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0