โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ลดพาหะร้าย...ยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก

JS100 - Post&Share

เผยแพร่ 22 ก.ค. 2561 เวลา 07.54 น. • JS100:จส.100
ลดพาหะร้าย...ยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก
ลดพาหะร้าย…ยุงลาย ป้องกันโรคไข้เลือดออก

     ในช่วงฤดูฝนแบบนี้ การเพาะพันธุ์ของยุงลายสามารถเกิดได้ง่าย เมื่อจำนวนพาหะมีมากขึ้นโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้เลือดออกก็มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะหากเกิดกับช่วงวัยเด็กหรือแม้กระทั่งผู้ใหญ่ที่มีภาวะโรคอ้วน เบาหวาน ความดัน ก็มีความเสี่ยงถึงขั้นเสียชีวิตในที่สุด โดยโรคไข้เลือดออกสามารถป้องกันและลดจำนวนลงได้ ถ้าทุกคนช่วยกันกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลายให้หมดไป

     พญ.ฉัฐฐิมา เสาวภาคย์ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้ หอบหืด ภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลพระรามเก้า กล่าวว่า ไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขในประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศ ซึ่งมีมติร่วมกันให้ทุกวันที่ 15 มิถุนายน ของทุกปีเป็น วันไข้เลือดออกอาเซียน เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนตระหนักในการป้องกันโรคไข้เลือดออก และร่วมกันแก้ปัญหา  ส่วนสถานการณ์โรคไข้เลือดออกของประเทศไทย ในปี 2561 ตั้งแต่ 1 มกราคม 2561 ถึง 5 มิถุนายน 2561 พบผู้ป่วยแล้ว 14,973 ราย เสียชีวิต 19 ราย มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ส่วนอาการป่วยขึ้นอยู่กับว่าเคยติดเชื้อมาก่อนหรือไม่ ซึ่งหากพบผู้ป่วยที่ติดเชื้อครั้งแรกอาการมักไม่รุนแรง โดยอาการของผู้ป่วยหลังได้รับเชื้อไข้เลือด จะมีไข้สูง ปวดศีรษะ  ปวดเมื่อยตามตัว เบื่ออาหาร อาเจียน ปวดท้อง ให้รีบไปพบแพทย์โดยเร็ว เพื่อทำการตรวจวินิจฉัย และรักษาได้ทันเวลา แต่อาการจะรุนแรงขึ้นเมื่อติดเชื้อครั้งที่สองด้วยสายพันธุ์ที่ต่างไป ซึ่งจะทำให้มีภาวะเลือดออกและช็อกได้ 

     ทั้งนี้คุณหมอแนะนำว่าประชาชน และผู้ปกครองควรเน้นตั้งแต่ต้นเหตุ คือ การดำเนินการไม่ให้มีแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายในฐานพื้นที่ 6 ร. คือ โรงเรือน โรงเรียน โรงแรม โรงงาน โรงธรรมและโรงพยาบาล ซึ่งโรงพยาบาลเองนับว่าเป็นสถานที่สำคัญที่ต้องทำให้เป็นโรงพยาบาลสะอาดปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย  Green and Clean Hospital เพื่อปราศจากแหล่งเพาะพันธุ์ยุง และปลอดลูกน้ำยุงลาย เพราะโรงพยาบาลเป็นสถานที่ทำงานของบุคลากรทางการแพทย์ และเป็นสถานที่สาธารณะที่ประชาชนมาใช้บริการเป็นจำนวนมาก

     การป้องกันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยการปฏิบัติตามหลัก 5 ป. และ 1 ข. ได้แก่ ป.ปิด คือ ปิดภาชนะน้ำให้มิดชิด ป้องกันยุงลายลงไปวางไข่   ป.เปลี่ยน เปลี่ยนน้ำในแจกันทุกๆ 7 วัน เพื่อตัดวงจรลูกน้ำที่จะกลายเป็นยุง   ป. ปล่อย ปล่อยปลาหางนกยูงให้กินลูกน้ำในภาชนะ   ป.ปรับ ปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้ปลอดโปร่งโล่งสะอาดลมพัดผ่าน ไม่เป็นที่เกาะพักของยุงลาย   ป.ปฏิบัติ ปฏิบัติจนเป็นนิสัย   และ ข.ขัดไข่ยุงลาย รวมถึงการฉีดวัคซีนไข้เลือดออก ไวรัสเดงกี 4 สายพันธุ์ ก็นับว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะสามารถป้องกันและห่างไกลจากภัยเงียบไข้เลือดออกได้ ซึ่งจะมีประสิทธิภาพที่ดีในกลุ่มผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกมาก่อน ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะพิจารณารับวัคซีนทุกครั้ง ข้อมูลจาก : โรงพยาบาลพระรามเก้า

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0