โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

ฤาจะเป็นเอเลี่ยน!? เมื่อ "เรนโบว์เทราต์" ถูกพบในแหล่งน้ำธรรมชาติบนยอดดอย

Amarin TV

เผยแพร่ 27 พ.ค. 2562 เวลา 05.31 น.
ฤาจะเป็นเอเลี่ยน!? เมื่อ
แม้จะเป็นข่าวดีสำหรับใครหลายๆ คน ที่จะได้ลิ้มรสปลาเรนโบว์เทราต์ที่ถูกเลี้ยงในบ้านเราเอง ซึ่งมีราคาถูกลง แถมยังสดกว่าปลานำเข้าเป็นอย่างมาก แต

แม้จะเป็นข่าวดีสำหรับใครหลายๆ คน ที่จะได้ลิ้มรสปลาเรนโบว์เทราต์ที่ถูกเลี้ยงในบ้านเราเอง ซึ่งมีราคาถูกลง แถมยังสดกว่าปลานำเข้าเป็นอย่างมาก แต่ก็เช่นเดียวกับทุกๆ อย่างบนโลกใบนี้มักมีดทั้งด้านดีและแย่ให้มองเสมอ และเจ้าปลาจากยอดดอยชนิดนี้ก็ไม่ใช่ข้อยกเว้น เพราะตัวมันเองก็ถูกต้องสงสัยว่าอาจจะกลายเป็นสายพันธุ์รุกรานด้วยเช่นกัน

ปลาเรนโบว์เทราต์ หรือ ปลาเทราต์สายรุ้ง (Rainbow trout) เป็นปลาชนิดหนึ่งในวงศ์ปลาแซลมอน อาศัยอยู่ในสาขาแม่น้ำที่ไหลสู่มหาสมุทรแปซิฟิกในทวีปเอเชียและทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นช่วงที่มีวงจรชีวิตอาศัยอยู่ในทะเล ปกติจะว่ายจากทะเลสู่แม่น้ำเพื่อวางไข่ ซึ่งดั้งเดิมอาศัยอยู่ในลำธารหรือทะเลสาบที่น้ำมีอุณหภูมิที่เย็นไม่เกิน 20 องศาเซลเซียส แต่ก็มีนำเข้าสู่ประเทศต่างๆ ที่ไม่ใช่แหล่งกำเนิดดั้งเดิมถึง 87 ประเทศ อาทิ เยอรมนี, ฟินแลนด์, แอฟริกาใต้, ออสเตรเลีย, นิวซีแลนด์, ญี่ปุ่น ทั้งในประเทศในเขตอบอุ่นและเขตหนาว หรือแม้แต่เขตร้อน เพื่อสนองความต้องการในการบริโภค เนื่องจากมี เนื้อมีรสชาติดี มีก้างน้อย และยังมีกรดไขมันไม่อิ่มตัวชนิด โอเมกา 3 อยู่ในปริมาณที่มากด้วย และด้วยนิสัยแบบปลานักล่า ทำให้มันมีพฤติกรรมสู้เบ็ดที่ดุดัน จึงทำให้มันเป็นที่นิยมในเกมกีฬาตกปลาด้วย

อย่างไรก็ตาม เรนโบว์เทราต์เป็นปลานักล่าที่กินอาหารได้ไม่เลือก ทั้งปลาและแมลงน้ำ ด้วยสรีระที่เป็นทรงกระสวย หางมีขนาดใหญ่ช่วยในการว่ายทวนกระแสน้ำได้เป็นอย่างดี ซึ่งจากรายงานของ สหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติและทรัพยากรธรรมชาติ (IUCN) ในการจัดอันดับชนิดพันธุ์ต่างถิ่นที่มีประสิทธิภาพในการรุกรานสิ่งมีชีวิตพื้นถิ่นให้เสียหายอย่างรุนแรง 100 อันดับแรก มีปลาอยู่ 5 ชนิด และหนึ่งในนั้นก็คือ ปลาเรนโบว์เทราต์

ปลาเรนโบว์เทราต์ ได้ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยด้วยการเป็นไข่ปลาจากสหรัฐอเมริกา ที่สถานีเพาะเลี้ยง ในโครงการหลวง ที่ดอยอินทนนท์ เมื่อปี พ.ศ. 2541 จนประสบความสำเร็จ มีลูกปลาที่รอดจากการฟักถึงร้อยละ 90 สามารถผลิตปลาได้ปริมาณสูงถึง 18-20 ตันต่อปี แต่ก็มีประชากรบางส่วนที่หลุดรอดไปสู่แหล่งน้ำธรรมชาติ มีรายงานการพบลูกปลาขนาดเล็กมีความยาวประมาณ 2-3 เซนติเมตร หลุดรอดออกมาจากสถานีเพาะเลี้ยง และพบปลาขนาดใหญ่ราว 1 ฟุตอยู่ในลำธารใกล้ ๆ สถานีเพาะเลี้ยง และมีการจับปลาขนาดใหญ่ได้ในช่วงท้ายน้ำของผู้คนพื้นถิ่น จากการให้สัมภาษณ์ของคนพื้นถิ่นพบว่า ตั้งแต่มีปลาเรนโบว์เทราต์เข้ามา ลูกปลาชนิดต่าง ๆ ก็ได้หายไปเป็นจำนวนมาก จึงหวั่นเกรงกันว่าจะเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อม

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0