โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ร่วมค้นคำตอบ ‘ประเทศไทย’ จะสร้างความพร้อมสำหรับเติบโตได้อย่างไร ในยุค Digital Transformation

Marketing Oops

อัพเดต 16 ก.ค. 2561 เวลา 07.56 น. • เผยแพร่ 15 ก.ค. 2561 เวลา 02.43 น. • Lupang
ร่วมค้นคำตอบ ‘ประเทศไทย’ จะสร้างความพร้อมสำหรับเติบโตได้อย่างไร ในยุค Digital Transformation

สถาบัน IMD World Competitiveness Center  ได้ประเมินขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศไทยในปัจจุบันว่า อยู่ในอันดับที่ 30 ของโลก แต่เชื่อว่า หลายคนอาจยังสงสัยว่า ในยุคนี้ที่ Digital Transformation ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและมากมาย ไทยมีความพร้อมหรือไม่ และอะไรจะมาช่วยยกระดับขีดความสามารถของไทยให้แข่งขันกับประเทศอื่น ๆ  ได้

ในงาน Thailand Competitiveness Conference  2018 ของสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ที่จัดขึ้นภายใต้คอนเซปต์ Powering Thailand Competitiveness through Digital Transformation  การแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางเทคโนโลยีของโลกที่ส่งผลกระทบต่อรัฐบาลและภาคธุรกิจ  มีหลายประเด็นที่น่าสนใจ

หนึ่งในนั้น คือ การอภิปรายในหัวข้อ Digital Transformation : An Enabler for Growth and Inclusiveness การสร้างความพร้อมและรวมตัวกัน เพื่อจะเติบโตในยุคนี้ ยุคที่ Digital Transformation

cats
cats

กลินท์ สารสิน ประธานกรรมการหอการค้าไทย และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า ณ วันนี้เราได้ก้าวเข้าสู่ยุคของ Digitize ซึ่งทางภาครัฐเป็นผู้นำ จากที่ผ่านมาจะมีภาคเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อน โดยการที่ภาครัฐเป็นผู้นำ ก็เนื่องจากว่า มีข้อมูลที่มากมายมหาศาล ซึ่งถือเป็น Big Data ที่สำคัญ เป็นไปได้หรือไม่ที่จะนำข้อมูลที่มีค่าเหล่านี้มาแชร์ มาวิเคราะห์ เพื่อนำไปพัฒนาและยกระดับประเทศ

Value Chain เป็นอีกประเด็นที่น่าสนใจว่า เมื่อมีการยกระดับและพัฒนาด้านดิจิทัลแล้วใครได้ประโยชน์ อย่างอุตสาหกรรมท่องเที่ยวพบว่า 21% ต่างประเทศเป็นผู้ได้รับประโยชน์ ตั้งแต่การจองโรงแรม การวางแผนท่องเที่ยว ต่าง ๆ ทำให้ทางรัฐได้มีการพัฒนาแพลตฟอร์มขึ้นมา เป็นความร่วมมือกันกับ 33 องค์กรด้านท่องเที่ยว ที่จะเปิดตัวในอีก 1 เดือนข้างหน้า

ประโยชน์ที่จะได้รับจากแพลตฟอร์มนี้ สำหรับผู้ประกอบการ จะได้รับประโยชน์จาก Online Transaction รวมถึงเข้าถึงนักท่องเที่ยวมากขึ้นกว่าเดิม ขณะที่นักท่องเที่ยว จะเป็นช่องทางที่น่าเชื่อถือในการใช้จ่าย และได้รับความสะดวกสบาย ส่วนรัฐเอง จะใช้ Big Data ที่ได้จากแพลตฟอร์มนี้ เพื่อจัดทำนโยบายและแผนพัฒนาท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

“เราต้องการกระจายรายได้ให้ทั่วประเทศ อย่างที่รู้กับ ภาคท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้ 21% ของจีดีพี ดังนั้นถ้า Digital Transformation ได้จะสร้างอิมแพคมหาศาล และหวังว่า การ Transformation ดังกล่าวจะนำไปใช้กับอุตสาหกรรมอื่น ๆ”

Vision ต้องชัด วางแผนให้ถูก

ธีรนันท์ ศรีหงส์ ประธานสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย (TMA) ประธานกรรมการคณะกรรมการ กำกับสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) และรองประธานกรรมการ TMA Center for Competitiveness กล่าวว่า การเข้าสู่ Digital Transformation ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมากมาย โดยเฉพาะในเรื่องดิจิทัล ที่สร้างประโยชน์และเพิ่มโอกาสในหลาย ๆ เรื่อง หากเราสามารถเลือกใช้เทคโนโลยีได้ถูกต้อง

อย่างเช่น เอสโตเนีย ประเทศต้นแบบด้านดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็น การนำบริการดิจิทัลมาใช้บริหารประเทศแบบเต็มตัว การนำบริการของภาครัฐทุกอย่างเข้าสู่ระบบออนไลน์ การทำธุรกรรมธนาคารอยู่ในระบบบล็อกเชน ฯลฯ ทำให้เป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าและพัฒนาอย่างรวดเร็ว

อย่างไรก็ตาม การจะก้าวสู่เป้าหมายได้ จำเป็นต้องมีวิชั่นที่ชัดเจน และต้องอาศัยความร่วมมือทั้งภาครัฐและเอกชน อย่างเช่น การพัฒนาหมู่บ้านในเรื่องอีคอมเมิร์ซ จะต้องแบ่งให้ชัดเจนว่า หมู่บ้านไหนมีศักยภาพ และมีศักยภาพอย่างไร แล้วมาวางแผนร่วมกัน เพื่อให้ทุกฝ่ายเข้าไปผลักดันให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการ ไม่เช่นนั้นจะเสียเปล่า

capture-20180714-232621
capture-20180714-232621

ขณะที่ตัวแทนภาครัฐอย่าง วรรณพร เทพหัสดิน ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ กล่าวถึงยุทธศาสตร์ Thailand 4.0 ว่า ถูกวางเป็นแผนระยะยาว 20 ปี ซึ่งมีหลายยุทธศาสตร์ที่ต้องดำเนินการ อย่างเช่น ยุทธศาสตร์การขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่เศรษฐกิจด้วยดิจิทัล ที่จะทำใน 5 ประเด็น ได้แก่

1. Digital SME การพัฒนา SME ไทยบนฐานเศรษฐกิจดิจิทัล ไม่ว่าจะเป็นผลักดันให้เข้าสู่การค้าออนไลน์ทั้งตลาดในและขยายไปยังตลาดโลก , การใช้เทคโนโลยีเข้ามาพัฒนาศักยภาพ และยกระดับ ฯลฯ

2. Digital Manufacturing ด้วยการถ่ายทอดองค์ความรู้ให้ผ็ประกอบการเข้าสู่ยุคอุตสาหกรรม 4.0 , การสนับสนุนการเชื่อมโยงระบบการผลิตของไทยไปยังเวทีโลก

3. DigitalAgriculture การพัฒนาเกษตรยุคใหม่ทั้งการผลิตและการจัดการสินค้า , การเปลี่ยนเกษตรแบบดั้งเดิมให้มาอยู่บนโลกดิจิทัล , การส่งเสริมด้านนวัตกรรมดิจิทัลด้านการเกษตร , ส่งเสริมการลงทุนปรับเปลี่ยนเป็นเกษตรสมัยใหม่ด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล

4. Digital Service สำหรับเพิ่มคุณค่าและมูลค่าด้านการบริการ

5. Digital Technology and Content Industry การส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลและดิจิทัลคอนเทนท์

capture-20180714-232716
capture-20180714-232716

นอกจากนี้ ทางรัฐเองยังมียุทธศาสตร์สร้างความเชื่อมั่นในการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล ทั้งขับเคลื่อนการพัฒนากฏหมายและมาตราฐานดิจิทัล ตลอดจนเสริมสร้างความมั่นคงปลอดภัยทางไซเบอร์ หรือ Cyber Security นั่นเอง ซึ่งทั้งหมดเป็นสิ่งที่ดำเนินการอยู่

“การขับเคลื่อนเรื่องนี้ เราต้องอาศัยแรงจากทุกฝ่าย เพื่อให้บรรลุผล ภาครัฐเองก็ดำเนินการอย่างเต็มที่ แต่ก็ต้องอาศัยเวลา”

 

 

อ่านบทความทั้งหมด ที่ MarketingOops.com

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0