โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รู้ไหม? กดเลื่อนนาฬิกาปลุก อาจทำร้ายสุขภาพได้มากกว่าที่คิด

MThai.com

เผยแพร่ 25 พ.ค. 2563 เวลา 07.30 น.
รู้ไหม? กดเลื่อนนาฬิกาปลุก อาจทำร้ายสุขภาพได้มากกว่าที่คิด
เคยสงสัยไหม? ทำไมสมองของเราถึงตื่นตัวช้าเมื่อ กดเลื่อนนาฬิกาปลุก ในตอนเช้า สารเซโรโทนินในสมองจะสั่งการให้อยากกลับไปนอนต่อและหลับได้ง่ายกว่าเดิมด้วย

เสียงนาฬิกาปลุก เป็นเสียงที่คนส่วนใหญ่อาจจะไม่ชอบสักเท่าไร เพราะเป็นสัญญาณว่าคุณต้องตื่นแล้วนะ ต้องออกไปเรียน ไปทำงาน ยิ่งวันธรรมดาด้วยแล้วหลาย ๆ คนยิ่งรู้สึกอยากจะนอนต่อ พฤติกรรมอย่างเช่น การกดเลื่อนนาฬิกาปลุก จึงอาจเป็นสิ่งที่หลายคนต้องเคยทำแน่นอน แต่รู้ไหม? ว่าพฤติกรรมดังกล่าวอาจทำร้ายคุณได้มากกว่าที่คิด

เคยสงสัยไหม? ทำไมสมองของเราถึงตื่นตัวช้าเมื่อ กดเลื่อนนาฬิกาปลุก ในตอนเช้า

สมองสับสน

ดร.แดเนียล บารอน และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ จากมหาวิทยาลัย วิล คอแนล เมดิเคิล (Weill Cornell Medical College) เผยว่า เวลาที่คุณตื่นนอนแล้ว กดเลื่อนนาฬิกาปลุก จากนั้นก็นอนต่อนั้นสารเซโรโทนินในสมองจะสั่งการให้อยากกลับไปนอนต่อและหลับได้ง่ายกว่าเดิมด้วย ผลข้างเคียงคือ เมื่อคุณตื่นช้ากว่า 10-15 นาทีจากการเลื่อนนาฬิกาปลุก จะทำให้สมองเกิดความสับสนได้

ทั้งนี้ ดร.แดเนียล  ยังเผยอีกว่า “การตื่นนอนก่อนนาฬิกาปลุกนั้น หมายความว่าร่างกายของคุณได้พักผ่อนเพียงพอ” แต่ทว่าในบางครั้ง การตื่นนอนก่อนนาฬิกาปลุกเป็นชั่วโมง ๆ อาจแสดงว่าคุณมีความกังวล หรือไม่สบายใจ ทำให้คุณตื่นนอนก่อนเวลา เผ็นผลมาจากสมองมีการคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ ตลอดเวลา

ร่างกายและสมองของคนเรา หลับและตื่นในทันทีไม่ได้!

ร่างกายและสมองของคนเรานั้นไม่สามารถ เปิด-ปิด สวิทต์ การนอนหลับและตื่นได้ในทันที อาจต้องใช้เวลาถึง 2-3 ชั่วโมง กว่าที่สารเคมีในสมองจะเตรียมตัวในการตื่นนอนดังนั้นแล้วควรตั้งนาฬิกาปลุกในเวลาที่พร้อมตื่นจริง ๆ เพื่อป้องกันการบั่นทอนสุขภาพของคุณในอนาคต

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0