โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รู้เอาไว้...ยาที่ทำให้ง่วงซึม เป็นอันตรายขณะที่ขับรถได้

Spiceee.net

เผยแพร่ 18 ม.ค. 2563 เวลา 03.00 น. • AkiNe_Noxx
pixabay.com
pixabay.com

คนเรายามที่รู้สึกไม่สบายหรือว่าเกิดอาการเจ็บปวดใดๆ ขึ้นมา ก็จำเป็นที่จะต้องรับประทานยาเพื่อรักษาแก้ไขอาการที่เป็นอยู่เหล่านั้น แต่การรับประทานยาก็มักเกิดผลข้างเคียงที่ทำให้รู้สึกง่วงซึม เพราะยานั้นจะไปออกฤทธิ์ที่ประสาทส่วนกลาง ซึ่งจะส่งผลทำให้คนที่รับประทานรู้สึกง่วงซึมได้ จะเกิดอันตรายแน่ๆ ถ้าหากว่ากินแล้วมาขับรถ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร จึงมักมีคำเตือนเอาไว้บนฉลากอยู่เสมอ ดังนั้นจึงอยากให้รู้จักกันเอาไว้ก่อน ว่ามียาชนิดไหนที่กินแล้วไม่ควรขับรถบ้าง

pixabay.com
pixabay.com

#1. ยานอนหลับ

pixabay.com
pixabay.com

ชื่อยาก็บ่งบอกอยู่แล้วว่ากินแล้วหลับแน่นอน หลายๆ คนต้องใช้ยาตัวนี้เนื่องจากมีปัญหาในการนอน รู้สึกเครียดมากมีปัญหาทางด้านจิตใจจนไม่สามารถที่จะหลับได้ ทำให้มีความจำเป็นต้องใช้ยาชนิดนี้ แต่ในการใช้เองก็ต้องระมัดระวังด้วย หากว่าคุณมีแผนที่จะขับรถหรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร เพราะอาจจะมีการง่วงซึมไม่ได้สติในยามที่ยาออกฤทธิ์ได้ และยาอาจจะออกฤทธิ์ช้ากว่าที่คุณคิดเอาด้วยในบางครั้งค่ะ

#2. ยาแก้ปวดหัว

pixabay.com
pixabay.com

ยาแก้ปวดหัวประเภท Migraine Cocktail เป็นยาที่ฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ มี 3 ชนิดซึ่งได้แก่ ยากันชัก ยาแก้อักเสบกลุ่มที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ และยาฉีดสเตียรอยด์ซึ่งใช้ระงับอาการปวดหัวอย่างรุนแรง หลังได้รับยาผู้ป่วยมักจะมีอาการง่วงซึม ดังนั้นจึงควรต้องหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือว่าการทำงานที่ใช้เครื่องจักรกลค่ะ ส่วนยาแก้ปวดอื่นๆ ก็ต้องคอยอ่านคำเตือนบนฉลากให้ดี ว่ารับประทานแล้วจะง่วงซึมไหม ถ้ามีก็ควรวางแผนเวลากินยาให้ดีด้วย

#3. ยาแก้แพ้ ยาลดน้ำมูก

pixabay.com
pixabay.com

บางคนเวลามีอาการแพ้ จะทำให้เกิดน้ำมูกมาก รู้สึกคัดจมูก คันตา จนถ้าไม่กินยาก็จะรู้สึกทนไม่ไหว จนลืมไปว่ายาแก้แพ้นั้นทำให้เกิดอาการง่วง อยากนอน หากจำเป็นต้องขับรถ พวกยาแก้แพ้ในกลุ่ม Maxiphed, คลอเฟนนิรามีน, Actifed มักจะกดประสาทส่วนกลางทำให้ง่วง จึงไม่ควรรับประทานยานี้ถ้าหากว่าต้องขับรถค่ะ

#4. ยาคลายกล้ามเนื้อ

pixabay.com
pixabay.com

เหล่าชาวออฟฟิศและผู้ใช้แรงงาน มักจะประสบกับปัญหาอาการเจ็บปวดกล้ามเนื้อ เลยรับประทานยาคลายกล้ามเนื้อเพื่อบรรเทาอาการปวด แม้จะขึ้นชื่อว่าเป็นยาคลายกล้ามเนื้อ แต่เวลาที่ออกฤทธิ์จริงๆ แล้วจะออกฤทธิ์กับสารเคมีในสมองส่วนกลาง ช่วยทำให้รู้สึกผ่อนคลายและลดความตึงเครียดของกล้ามเนื้อ ซึ่งจะส่งผลทำให้ง่วงนอนไปด้วย ยาชนิดนี้ควรใช้ภายใต้การดูแลของแพทย์ และคำแนะนำจากเภสัชกรเท่านั้น เมื่อจำเป็นต้องกินควรที่จะหลีกเลี่ยงการทำงานกับเครื่องจักรหรือขับรถด้วยค่ะ

#5. ยาคลายเครียด

pixabay.com
pixabay.com

ยาคลายเครียด หรือยาประเภทต้านอาการซึมเศร้านั้น จะส่งผลต่อระบบทางประสาทโดยตรง หากรับประทานแล้วจะทำให้รู้สึกง่วงซึมมาก ยิ่งถ้ากินกับยาตัวอื่นๆ ร่วมกันแล้ว อาจจะส่งผลทำให้ง่วงอยากนอนจนประคองสติเอาไว้ไม่ได้ ไม่เหมาะกับการขับรถ และใช้เครื่องจักรกลเวลาทำงานด้วย ผู้ป่วยควรระมัดระวังในการใช้ยาประเภทนี้เสมอ

pixabay.com
pixabay.com

ยาส่วนใหญ่จะออกฤทธิ์ภายใน 1 ชั่วโมง และมีฤทธิ์คงอยู่อีกอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง ดังนั้นแล้วจึงควรการวางแผนที่จะทำงานหรือว่าขับรถเสมอ หากมีความจำเป็นจะต้องใช้ยาเหล่านี้ ก็เพื่อหลีกเลี่ยงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้กับตัวคุณเองและคนอื่นๆ ด้วยค่ะ ปลอดภัยไว้ก่อน เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญเสียเป็นทางออกที่ดีที่สุดค่ะ

pixabay.com
pixabay.com
0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0