โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รู้มั้ย? มีทีมวิจัยทำการศึกษาเกี่ยวกับ “เสียงสองในคนเรา” ด้วยนะ

Health Addict

อัพเดต 24 พ.ค. 2563 เวลา 01.17 น. • เผยแพร่ 24 พ.ค. 2563 เวลา 01.17 น. • Health Addict
การเปลี่ยนโทนเสียงไม่ใช่เรื่องแย่ แถมช่วยสร้างเสน่ห์ให้คนใกล้ตัวรู้สึกดีเมื่อพูดคุยกับคุณด้วย นักวิจัยบอกว่าการเปลี่ยนโทนเสียงนี้เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องเจรจากับผู้ที่อาวุโสกว่า
การเปลี่ยนโทนเสียงไม่ใช่เรื่องแย่ แถมช่วยสร้างเสน่ห์ให้คนใกล้ตัวรู้สึกดีเมื่อพูดคุยกับคุณด้วย นักวิจัยบอกว่าการเปลี่ยนโทนเสียงนี้เป็นเรื่องปกติของมนุษย์ โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องเจรจากับผู้ที่อาวุโสกว่า

ใครมีปัญหาเรื่องเสียงห้วน เสียงห้าว หรือโทนเสียงฟังดูไม่สมูทจนเพื่อนแอบไปนอยด์บ่อยๆ ลองเปลี่ยนโทนเสียงให้น่าฟังดูซิ หรือที่เราเรียกง่ายๆ ว่าการสร้าง “โทนเสียงระดับสอง”  เพราะนอกจากจะดีต่อใจคนฟังแล้ว งานวิจัยเขายังบอกว่า นี่ถือเป็นการปรับตัวที่มนุษย์เรามักทำ และมันก็เป็นเรื่องที่ปกติมาก
 

แล้วงานวิจัย “เสียงสองในคนเรา”  เขาทำกันยังไงนะ?  

เรื่องมีอยู่ว่า กลุ่มวิจัยของเว็บไซต์  journals.plos.org  เขาเซ็ตสัมภาษณ์ออนไลน์แบบหลอกๆ ขึ้นมาเพื่อสังเกตโทนเสียง และการโต้ตอบของผู้ถูกสัมภาษณ์ทั้งหมด 48 คนด้วยกัน  โดยจะพูดคุยผ่านคอมพิวเตอร์ซึ่งทุกคนต้องใส่หูฟังด้วย สถานการณ์จำลองนี้ ทางทีมบอกว่าพวกเขาเซ็ตทุกอย่างเหมือนจริงมาก

แล้วผลการทดลองก็พบว่า “คนเรามักเปลี่ยนโทนเสียง” เมื่อพูดคุยกับผู้มีอำนาจระดับสูง   

ผลการทดลองพบว่า การสัมภาษณ์ของนายจ้างที่อยู่ในตำแหน่งระดับสูงมีผลทำให้โทนเสียงของผู้ถูกสัมภาษณ์ “แหลมหรือสูงขึ้น” ส่วนนายจ้างระดับรองลงมา ไม่ส่งผลกระทบมากเท่าไหร่ เพราะโทนเสียงของพวกเขาทุ้มอยู่ในระดับปกติ และแทบจะไม่มีการเปลี่ยนโทนเสียงหรือวิธีการพูดคุยเลยด้วย

           (Source: Would you work for these men? a.) Neutral b.) Dominant c.) Prestigious. Leongómez et al (2017), Author provided) ทีมวิจัยเซ็ตคาแรคเตอร์ของผู้ให้สัมภาษณ์ในระดับต่างๆ มาเพื่อการทดลอง
และสิ่งที่ทีมค้นพบเพิ่มเติมก็คือ เมื่อผู้สัมภาษณ์ขอให้อาสาสมัคร “แนะนำตัว” ปฏิกิริยา/โทนน้ำเสียงของพวกเขาไม่เปลี่ยนมากเท่าไหร่ ต่างกับคำถามที่ว่า “เมื่อเกิดปัญหาระหว่างการทำงาน คุณจะชี้แจงปัญหาที่เกิด ให้ทีมและหัวหน้าฟังยังไงได้บ้าง” ซึ่งคำถามนี้เห็นชัดเลยว่า น้ำเสียงและวิธีการเรียบเรียงบทสนทนาในการจัดการปัญหาก็ต้องเปลี่ยนตามไปด้วย 

ที่สำคัญ! การมีเสียงสอง “ไม่ใช่เรื่องผิด”

การทดลองนี้ค้นพบว่า มนุษย์มักใช้โทนเสียงหรือน้ำเสียงให้เหมาะกับบริบทต่างๆ ที่กำลังเผชิญอยู่  เช่น การพูดคุยกับนายจ้างที่ลุคอาจดูโหดไปหน่อย ซึ่งคนเรามักทำแบบนี้โดยไม่คิดก่อนเลยด้วยซ้ำ  
เป็นยังไงกันบ้าง? เราเองก็เป็นคนหนึ่งที่ชอบเผลอหนีบเสียงเวลาพูดคุยใกล้ผู้ใหญ่ หรือบางทีก็เผลอพูดห้วนๆ ตอนแรกก็ไม่เข้าใจว่าทำไมเราควรปรับโทนเสียงอย่างพอดีและเหมาะกับบริบทต่างๆ รวมถึงต้องพยายามไม่ปล่อยเสียงจริงออกมา เพราะหลังจากศึกษางานวิจัยชิ้นนี้ คิดว่าคงต้องค่อยๆ ปรับวิธีการพูด และโทนเสียงเพื่อสร้างเสน่ห์ให้ตัวเองแล้วล่ะ ^^
 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0