โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รู้จัก "Super Spreader" พาหะแพร่เชื้อที่ซูเปอร์น่ากลัว! - จุดประเด็น

LINE TODAY

เผยแพร่ 27 ก.พ. 2563 เวลา 03.18 น. • AJ.

ขอยื่นไมค์ถามคนไทยว่า“ยังไหวกันมั้ยคร้าบบบ” เพราะนอกจากการเมืองที่แสนจะน่าปวดหัว ฝุ่นพีเอ็มที่กลับมาอีกแล้ว ล่าสุดสถานการณ์ Covid-19 ก็กลับมาทวีความรุนแรง สร้างความแตกตื่นไปทั่วราชอาณาจักร จากข่าวชาวไทยปกปิดข้อมูลการเดินทางไปญี่ปุ่น แล้วติดเชื้อไวรัส Covid-19!

ชี้แจงกรณีผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส COVID -19 ที่ โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์

โพสต์โดย โรงพยาบาล บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ เมื่อ วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ 2020

เรื่องสยองขวัญดังกล่าวเกิดจากแถลงการณ์ของ รพ.บี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ ที่มีสองสามีภรรยาไปหาหมอ แต่ไม่ได้แจ้งทีมแพทย์ว่ามีประวัติเดินทางไปสถานที่เสี่ยง ระหว่างทางตั้งแต่วันเดินทางจนถึงวันนี้ ก็ไม่ทราบแน่ชัดว่าสัมผัสใกล้ชิดใครไปกี่คน อาจทำให้มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้นกี่ราย แต่ที่ทราบตอนนี้คือ หลาน 8 ขวบที่ติดเชื้อจากปู่และย่า อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณะสุข (สธ.) ยังไม่ยืนยันว่าเป็นSuper Spreader

แล้วต้องขนาดไหนถึงเข้าข่าย Super Spreader

Super Spreader คือ บุคคลที่แพร่เชื้อให้คนทั่วไปจำนวนมาก ๆ โดย สธ. ให้คำอธิบายไว้ว่า คนที่มีความสามารถในการแพร่โรคไปยังบุคคลอื่น ๆ จำนวนมาก โดยเฉลี่ยคนหนึ่งคน จะแพร่เชื้อไปยังคนอื่น ๆ ได้อีก 2 คน

นอกจากนี้ยังพบว่าSuper Spreader คนหนึ่งจะแพร่เชื้อได้ถึง 20 คนอย่างต่ำ ซึ่งกรณีคนไทยที่ไปญี่ปุ่นมาแต่ปกปิดข้อมูล จนถึงตอนนี้ ยังมีผู้ติดเชื้อเพียง 1 คน เท่านั้น ต้องสืบสาวราวเรื่องกันอีกว่าในระยะเวลาที่ผ่านมา ผู้ป่วยได้สัมผัสบุคคลอื่นใดบ้าง

เราค้นประวัติของการเกิด Super Spreader ในโลก และพบว่านอกจากคุณป้าชาวเกาหลีที่เป็นกรณีโด่งดังในประเทศไทย ยังเคยมีกรณีคล้าย ๆ กันที่เกิดจากนักธุรกิจชาวอังกฤษ รวมถึงคุณหมอชาวจีนที่เป็นตัวการแพร่โรคซาร์ส (SARS) โรคระบาดเมื่อปี 2003 ที่มีผู้ติดเชื้อกว่า 8,000 คน รุนแรงไม่ต่างจาก Covid-19 ในวันนี้เลย

- นักธุรกิจชาวอังกฤษ - Super Spreader ของ Covid-19

สตีฟ (Steve Walsh) นักธุรกิจชาวอังกฤษที่ได้รับเชื้อ Covid-19 จากการเดินไปทำงานที่ประเทศสิงคโปร์ ว่ากันว่าเขาแพร่เชื้อให้ชาวอังกฤษ 11 คน 5 คนที่สกีรีสอร์ตที่เทือกเขาแอลป์ ประเทศฝรั่งเศส และอีก 5 คนตอนที่เขากลับบ้านที่ไบรท์ตัน ชายฝั่งทางใต้ของประเทศอังกฤษ ส่วนอีกคนติดตรวจพบเชื้อตอนอยู่สเปนแล้ว

ก่อนตรวจพบเชื้อ สตีฟนั่งสายการบิน Easyjet ที่มีผู้โดยสารกว่า 100 คน ไปเที่ยวผับในเมืองไบรท์ตัน และไปออกกำลังกายในคลาสโยคะที่โบสถ์หลังจากกลับจากการเดินทาง และแน่นอนว่าผู้คนที่อยู่ในวงจรชีวิตของสตีฟระยะนี้ มีโอกาสได้รับเชื้อ Covid-19 สูงปรี๊ด

เคสของสตีฟนี้เองที่ทำให้เราเรียนรู้ว่าแม้จะไม่แสดงอาการ แต่ Covid-19 ก็อาจแฝงตัวอยู่ในร่างกาย พร้อมแพร่เชื้อโดยที่เราไม่รู้ตัว

- คุณหมอชาวจีน - Super Spreader ของโรคซาร์ส เมื่อปี 2003

คุณหมอหลิว (Dr.Liu Jianlun) เข้าพักที่โรงแรม Metropole ในเกาลูน ประเทศฮ่องกง หลิวทำงานในโรงพยาบาลทางใต้ของจีน ซึ่งเป็นสถานที่รักษาผู้ป่วยโรคซาร์ส โดยคุณหมอเริ่มมีอาการป่วยก่อนวันเดินทางมายังเกาลูน เพื่อร่วมงานแต่งของหลาน แต่เมื่อตรวจสุขภาพแล้วไม่พบเชื้อที่ปอด คุณหมอจึงเดินทางต่อ เชื้อซาร์สที่ระบาดแค่ในจีนจึงถูกส่งออกมายังฮ่องกงด้วย

และแม้คุณหมอจะเข้าพักที่โรงแรม Metropole แค่คืนเดียว แต่เขาแพร่เชื้อให้คนกว่า 7 คนที่พักในชั้นเดียวกัน พนักงานโรงแรม รวมถึงคุณหมอและพยาบาลที่เคยร่วมงานกันด้วย

องค์การอนามัยโลกประเมินว่าผู้ป่วยกว่า 4,000 คน (ซึ่งถือเป็นครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยโรคซาร์ส) ได้รับเชื้อที่ถูกส่งต่อมาเป็นทอด ๆ จากคุณหมอหลิวเพียงคนเดียว ทำให้โรงแรม Metropole กลายเป็น Ground Zero (ต้นตอหรือแหล่งกำเนิด) ของการระบาดไปทั่วโลกของโรคซาร์สเลยทีเดียว

ขอบคุณภาพจาก cnbc.com
ขอบคุณภาพจาก cnbc.com

ผลของการ “ปกปิด”

การเสพข่าว Covid-19 มาก ๆ อาจทำให้เราวิตกกังวล เพราะไม่ว่าจะคนใกล้ตัว คนในประเทศ หรือตัวเราเอง ถ้าติดเชื้อไปด้วยก็ตกที่นั่งลำบากทั้งนั้น ไม่แปลกที่บางคนจะตัดสินใจปกปิดประวัติการเดินทางของตัวเอง อาจเพราะกลัวกระแสสังคมหรือผลที่อาจตามมา แต่หารู้ไม่ว่าการโกหกอาจส่งผลมากกว่านั้น

จากแถลงการณ์ของโรงพยาบาลบี.แคร์ เมดิคอลเซ็นเตอร์ เปิดเผยว่าผู้ป่วยเดินทางมารักษาตั้งแต่วันที่ 23 ก.พ. แต่ปฏิเสธว่าไม่ได้เดินทางไปประเทศสุ่มเสี่ยง กว่าจะถูกส่งตัวไปรักษาอย่างถูกต้อง บุคลากรโรงพยาบาลที่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยโดยไม่ได้รับการป้องกันอย่างถูกวิธีก็ต้องถูกกักตัว ตามมาด้วยสถานที่อื่น ๆ อย่างสายการบินแอร์เอเชียเอ็กซ์ที่ต้องออกประกาศให้ผู้ที่เดินทางมาเที่ยวบินเดียวกับผู้ป่วยคนดังกล่าวไปพบแพทย์ ลูกเรือในเที่ยวบินก็ต้องพักงานไปด้วย ล่าสุดโรงเรียนพระหฤทัยดอนเมืองยังต้องปิดโรงเรียน เหตุจากหลานของผู้ป่วยที่ติดเชื้อก็ได้รับไวรัสด้วยเหมือนกัน

มีบทลงโทษจริงจัง!

ในสถานการณ์ที่ประเทศไทยประกาศให้ Covid-19 เป็นโรคติดต่อร้ายแรง ตาม พ.ร.บ. โรคติดต่อ 2558 การปกปิดข้อมูลเจ้าหน้าที่และแพทย์มีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท จำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากไม่ให้ความร่วมมือแก่เจ้าหน้าที่ควบคุมโรค มีโทษปรับไม่เกิน 20,000 บาทด้วย

รับผิดชอบสุขภาพตัวเอง

  • เพราะโรคติดต่อไม่ได้ทำลายแค่สุขภาพตัวเอง แต่ยังส่งผลกระทบต่อสังคม และเศรษฐกิจประเทศอย่างที่เห็น ๆ กันอยู่ ดังนั้นหากมีอาการ ควรรีบไปพบแพทย์และแจ้งประวัติการเดินทางให้ครบถ้วน ใครไม่มั่นใจในตัวเอง สามารถไปหาหมอและขอตรวจ Covid-19 ได้ที่โรงพยาบาล ตามนี้ :
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ค่าใช้จ่ายประมาณ 3,000 - 6,000 บาท
  • โรงพยาบาลราชวิถี ค่าใช้จ่ายประมาณ 3,000 - 6,000 บาท
  • โรงพยาบาลเปาโล ทุกสาขา ค่าใช้จ่ายประมาณ 5,000 - 13,000 บาท
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี ค่าใช้จ่ายประมาณ 5,000 บาท
  • โรงพยาบาลพญาไท 2 ค่าใช้จ่ายประมาณ 6,500 บาท
  • โรงพยาบาลแพทย์รังสิต ค่าใช้จ่ายประมาณ 7,000 บาท
  • โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณย์ ค่าใช้จ่ายประมาณ 9,900 บาท

ย้ำอีกครั้งว่า Covid-19 มีอาการเริ่มต้นเหมือนโรคไข้หวัดใหญ่ ถ้ามีประวัติเดินไปเที่ยวประเทศกลุ่มเสี่ยง หรือสัมผัสใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยวประเทศดังกล่าว แล้วมีอาการเป็นไข้ แนะนำให้ไปพบแพทย์ทันที ถ้าไม่อยากเป็น Super Spreader คนต่อไป!

--

อ้างอิง

1 / 2 / 3 / 4 / 5

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0