โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

รู้จัก F&N ยักษ์ใหญ่อาหาร-เครื่องดื่ม ภายใต้อาณาจักร”เจริญ สิริวัฒนภักดี”

Money2Know

เผยแพร่ 25 พ.ค. 2562 เวลา 11.48 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
รู้จัก F&N ยักษ์ใหญ่อาหาร-เครื่องดื่ม ภายใต้อาณาจักร”เจริญ สิริวัฒนภักดี”

เฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ, ลิมิเต็ด (F&N) ประกาศว่า บริษัท เอฟแอนด์เอ็น รีเทล คอนเน็คชั่น จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือเข้าร่วมกับ Maxim’s Caterers Limited (Maxim’s) ตั้งกิจการร่วมค้าชื่อ บริษัท คอฟฟี่ คอนเซ็ปต์ (ประเทศไทย) จำกัด (CCT) เพื่อเข้าซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท สตาร์บัคส์ คอฟฟี่ (ประเทศไทย) จำกัด

F&N ระบุว่าเป็นกลยุทธ์ล่าสุดของ F&N ในการสร้างการเติบโตให้ธุรกิจในประเทศไทย ที่ F&N ได้ทำธุรกิจมากว่า 20 ปีอย่างมั่นคงและยั่งยืน ซึ่งการเข้าซื้อหุ้นสตาร์บัคส์จะเพิ่มตราสินค้าชื่อดังให้แก่พอร์ตโฟลิโอของ F&N

F&N ใหญ่แค่ไหน และ เกี่ยวพันกับคนชื่อ "เจริญ สิริวัฒนภักดี"อย่างไร 

F&N ถือเป็นกลุ่มสินค้าอุปโภคบริโภครายใหญ่ของสิงคโปร์ มีเครือข่ายไปทั่วโลก และถือเป็นธุรกิจสัญชาติสิงโปร์ที่มีอายุยาวนานกว่า 100 ปี แต่เกิดการเปลี่ยนแปลงเมื่อไม่กี่ปีมานี้

เมื่อปี 2556 ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ ซึ่งเป็นปีที่อายุครบ 130 ปี เมื่อกลุ่ม TCC Group ของ เจริญ สิริวัฒนภักดี เข้าซื้อหุ้นจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยเสนอราคาสูงสุด ซึ่งในครั้งนั้นกลุ่มผู้ถือหุ้นรายอื่น ๆ ที่ถือหุ้นใน F&N มานานไม่ค่อยพอใจนัก แต่ในที่สุดการต่อต้านผู้ถือหุ้นรายใหญ่จากไทยก็สงบลง

หลังจากเข้าถือหุ้นใน F&N กลุ่ม TCC ได้สร้างความตื่นตะลึงให้กับกลุ่มผู้ถือหุ้นสิงคโปร์ เพราะก่อนการขายหุ้นให้กลุ่ม TCC ทาง F&N ถือหุ้นใน APB ซึ่งเป็นเจ้าตลาดเครื่องดื่มรายใหญ่ โดยเฉพาะเบียร์ไฮเนเก้นที่ได้สิทธิในการจำหน่ายในเอเซียแปซิฟิก ซึ่งในครั้งนั้นได้เปิดให้มีการแข่งขันเสนอซื้อเป็นการทั่วไป

กลุ่ม TCC เสนอซื้อหุ้นทั้งหมด ซึ่งมีคู่แข่งสำคัญ คือ ฮาซาฮีจากญี่ปุ่น และกลุ่มไฮเนเก้นจากเนเธอร์แลนด์ โดยการแข่งขันเสนอซื้อหุ้น APB เป็นไปอย่างดุเดือด จนฮาซาฮี ยอมยกธงขาว เหลือแต่ไฮเนเก้นส์

การเสนอราคาสู้กันอย่างดุเดือดระหว่างกลุ่ม TCC กับ ไฮเนเก้นส์ จนราคาไล่ขึ้นไปสูงขึ้นเรื่อย ๆ ในที่สุดกลุ่มไฮเนเก้นส์ต้องยื่นข้อเสนอสุดท้ายในราคาที่สูงในการซื้อหุ้น APB รวมทั้งในส่วนที่ F&N ถือหุ้นอยู่ด้วย

จากการขายหุ้น APB ครั้งนั้น สร้างผลกำไรอย่างมากกับกลุ่มผู้ถือหุ้น รวมทั้งกลุ่ม TCC ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ด้วย โดยมีการปันผลให้กับผู้ถือหุ้น 3.28 ดอลลาร์สหรัฐ/หุ้น รวม 4.73 พันล้านดอลลาร์ ซึ่งได้จากกำไรจากการขายหุ้น APB

ปัจจุบัน เจริญ สิริวัฒนภักดี นั่งเป็นประธานเฟรเซอร์ แอนด์ นีฟ, ลิมิเต็ด (F&N) ซึ่งธุรกิจของกลุ่มยังมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในอเซียนมีการเติบโตค่อนข้างสูงจากการขยายตลาดไปหลายประเทศ เช่น เมียนมาร์และเวียดนาม

สำหรับในไทย อยู่ภายใต้บริษัท เอฟแอนด์เอ็น แดรี่ส์ (ประเทศไทย) จำกัด ที่เริ่มก่อตั้งเมื่อปี ได้เริ่มก่อตั้ง  เมื่อปี  2550 ซึ่งมีรายได้และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในปี 2558 มีรายได้ 13,645.51 ล้านบาท

ปี 2559 มีรายได้ 13,680.41 ล้านบาท

ปี 2560 มีรายได้ 13,760.68 ล้านบาท

ปี 2561 มีรายได้ 14,077.71 ล้านบาท

กำไรสุทธิในปี 2558 รวม  982.91 ล้านบาท เพิ่มขึ้นมาเป็น 1,691.99 ล้านบาทในปี 2559 และเพิ่มขึ้นเป็น 1,873.97 ล้านบาทในปี 2560 และ เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวเป็น 2,037.15 ล้านบาทในปี 2561 เมื่อเทียบกับช่วงเมื่อเทียบกับช่วง 4 ปีที่ผ่านมา

สำหรับสินค้า F&N ในไทย เมื่อเอ่ยชื่อ ทุกคนก็จะรู้จักกันอย่างดี เช่น กลุ่มสินค้านมกระป๋อง โดยมี ทีพอท ตราหมี และคาร์เนชั่น เป็นตราสินค้ากลุ่มนมข้นหวาน นมสเตอริไลส์ และนมข้นจืด สินค้ากลุ่มไอศกรีมและนมในประเทศไทยด้วยการออกสินค้าใหม่จาก แมกโนเลีย ในปี 2561

F&N
F&N

หากดูรายชื่อภายใต้ F&N แทบนับไม่ถ้วนที่ปรากฏในท้องตลาด ตั้งแต่ผลิตภัณฑ์นมสเตอริไลส์ตราหมี ผลิตภัณฑ์ นมตราหมีโกลด์ ผลิตภัณฑ์นมข้นจืด และครีมเทียมข้นหวานพร่องไขมันตราคาร์เนชั่น ผลิตภัณฑ์นมข้นจืด และครีม เทียมข้นหวานพร่องไขมัน ตราทีพอท ผลิตภัณฑ์นมตราหมี ยูเอชที ผลิตภัณฑ์นมพร้อมดื่มไมโล ยูเอชที ผลิตภัณฑ์ พาสเจอร์ไรส์ตราเอฟแอนด์เอ็น แม็กโนเลีย ผลิตภัณฑ์น้ำผลไม้เอฟแอนด์เอ็น ฟรุท ทรี เฟรช ผลิตภัณฑ์กาแฟปรุง สำเร็จชนิดผง 3 อิน1 เอฟแอนด์เอ็น ครีเอชั่นส์ เครื่องดื่มรังนกแท้ผสมนมไขมันต่ำ และมอลต์สกัดตราเอฟแอนด์เอ็น โกลด์ นมคืนรูปพาสเจอร์ไรส์รสช็อกโกแล็ต ตราเอฟแอนด์เอ็น แมกโนเลีย ช็อกมอลต์ เครื่องดื่มนมตราเอฟแอนด์เอ็น แมกโนเลีย กู๊ดมอร์นิ่ง และ เอฟแอนด์เอ็น แมกโนเลีย กู๊ดไนท์ เป็นต้น

F&N ถือเป็นกลุ่มธุรกิจสินค้าอุปโภคบริโภคที่มียอดจำหน่ายแข็งแกร่งในอาเซียน ทั้งในสิงคโปร์ มาเลเซีย และไทย รวมทั้งกำลังขยายตลาดในหลายประเทศในอาเซียน

ธุรกิจของ F&N มีการแบ่งเป็นกลุ่มใหญ่ คือ สินค้าอุปโภคบริโภค กลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และกลุ่มสื่อและสิ่งพิมพ์

ดังนั้น การขยับของกลุ่ม F&N และกลุ่มเบียร์ช้าง ไม่ใช่แบบเศรษฐีมีเงินซื้อทุกอย่าง เหมือนที่คนเข้าใจ แต่เป็นการลงทุนในกลุ่มธุรกิจของเครือทั้งหมด แม้แต่การเข้าลงทุนในกลุ่มอมรินทร์ หรือ เอเชียบุ๊ค ก็เป็นไปตามกลยุทธ์ธุรกิจในกลุ่ม หรือ แม้แต่การซื้อ KFC ส่วนอสังหาริมทรัพย์ ให้เป็นบทบาทของกลุ่ม TCC

เป็นไปตามกลยุทธ์ที่เริ่มมานานนับสิบปีที่ต้องการออกมาประกาศความยิ่งใหญ่ นอกจาก "เหล้า-เบียร์"

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0