โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

รู้จักกับ Unlicensed Games อีกหนึ่งนิยามของคำว่าเกมเถื่อน

GamingDose

เผยแพร่ 19 ม.ค. 2562 เวลา 11.24 น. • GamingDose - ข่าวเกม รีวิวเกม บทความเกมจากเกมเมอร์ตัวจริง
รู้จักกับ Unlicensed Games อีกหนึ่งนิยามของคำว่าเกมเถื่อน

"เกมเถื่อน" ถือว่าเป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญของวงการเกม เพราะถือว่าเป็นการหยิบผลงานที่ถูกสร้างด้วยน้ำพักน้ำแรงของทีมพัฒนาอย่างยากลำบากมาเล่นกันแบบผิดลิขสิทธิ์ โดยที่นักพัฒนาไม่ได้เงินสักแดงเดียว ซึ่งอย่างไรก็ตาม ถึงแม้วีดีโอเกมที่ถูกลิขสิทธิ์จะได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ แต่เกมเถื่อนก็ยังคงไม่หมดไปจากโลกใบนี้อย่างแน่นอน

แต่ในบทความนี้เราจะไม่ได้มาพูดถึงเกมเถื่อนเหล่านั้นกัน เพราะแน่นอนว่าหลาย ๆ คนคงทราบกันดีเกี่ยวกับเกมเถื่อนเหล่านั้นกันอยู่แล้ว แต่เรื่องของเกมเถื่อนนี้มันก็มีอีกนิยามนึงที่น่าสนใจไม่แพ้กัน เพราะฉะนั้น GamingDose จึงขอพาทุกท่านให้รู้จักกับคำว่า"Unlicensed Games" อีกหนึ่งนิยามของคำว่าเกมเถื่อนกันครับ

Image result for multicart games
Image result for multicart games

Unlicensed Games คืออะไร ??

Unlicensed Games แปลได้ตรงตัวว่า "วีดีโอเกมที่ไม่มีใบอนุญาต" กล่าวคือเป็นเหล่าวีดีโอเกมที่ไม่ได้รับอนุญาตในการพัฒนาและวางจำหน่ายให้กับเครื่องเกมคอนโซล โดยผู้ที่จะให้สิทธิ์ในการให้อนุญาตเพื่อจัดจำหน่ายได้ก็คือเหล่าค่ายเกมที่เป็นเจ้าของเครื่องเกมคอนโซล อาทิเช่น Atari, Sega, Nintendo, Sony, Microsoft นอกจากนี้แล้วก็รวมถึงเหล่าวีดีโอเกมที่มีการหยิบเนื้อหาจากแหล่งอื่น ๆ หรือเกมอื่น ๆ โดยไม่ได้รับอนุญาตอีกด้วย

โดยในฝั่งของเกมบน PC นั้นจะไม่จำเป็นต้องมีการขออนุญาต เนื่องจากว่า PC นั้นเป็นแพลตฟอร์มฝั่ง Development ที่ต้องใช้งานเพื่อทำการพัฒนาเกม และไม่มีใครเป็นเจ้าของแพลตฟอร์มแบบแน่ชัด ยกตัวอย่างเช่น Mac OSX, Windows และ Linux ที่คุณสามารถทำการพัฒนาเกมได้อย่างเต็มที่เพื่อนำไปแจกฟรีหรือนำไปฝากขายในร้านค้าเกมออนไลน์ต่าง ๆ

แต่อย่างไรก็ดี ก็ใช่ว่าฝั่งของ PC จะไม่มี Unlicensed Games เพราะไม่ว่าจะเป็นเกม Fanmade หรือเป็นเกมที่หยิบเนื้อหาที่ไม่ได้รับลิขสิทธิ์อย่างถูกต้องมาใช้ในการพัฒนาเกม ก็ล้วนเป็นเกมที่ไม่ได้รับการอนุญาตเช่นกัน เพียงแต่เจ้าของคอนเทนต์ต้นฉบับจะมีความเคร่งขนาดไหนเท่านั้นเอง ซึ่งแน่นอนว่าเจ้าของคอนเทนต์ต้นฉบับมีสิทธิ์ที่จะสั่งยกเลิกผลงานหรือขอหยิบเนื้อหาใช้งานจากเกมเหล่านี้ได้ ถึงตอนนั้นเราอาจจะแสดงความไม่พอใจก็ได้ แต่เราก็คงไปหยุดอะไรเขาไม่ได้ เพราะอย่าลืมว่าเราหยิบเนื้อหาของคนอื่นมาทำผลงานของตนเอง

ซึ่งหลัก ๆ แล้วเจ้าคำดังกล่าวเรามักจะได้ยินจากในฝั่งของเกมคอนโซลมากกว่า โดยเฉพาะกับคอนโซลยุคเก่า ๆ และมีเหตุผลสนับสนุนของมันว่าทำไมคำ ๆ นี้ถึงได้เกิดขึ้นมา ซึ่งเราจะมาอธิบายกันในหัวข้อต่อไปครับ

Image result for multicart games
Image result for multicart games

ทำไมวีดีโอเกมต้องมีใบอนุญาต ??

เรื่องราวนี้ค่อนข้างเป็นเรื่องราวที่มีรายละเอียดที่น่าสนใจพอสมควร ว่าทำไมเหล่าวีดีโอเกมจะต้องมีอนุญาตในการวางจำหน่าย หากจะย้อนไปคงต้องย้อนไปไกลถึงช่วงต้นยุค 1980s เลยทีเดียว

ในช่วงต้นยุค 1980s กับวงการเกมถือว่าเป็นยุคที่ 2 ของเครื่องเกมคอนโซล (2nd Generation) ที่ในยุคนั้นเป็นการต่อสู้ระหว่างคอนโซลสามเจ้าใหญ่ ได้แก่ Atari 2600, ColecoVision และ Intellivision ซึ่งเจ้าตลาดในสมัยนั้นก็คือ Atari 2600

Related image
Related image

โดยทาง Atari ได้มีนโยบายเกี่ยวกับวีดีโอเกมตัวหนึ่งที่ส่งผลในแง่ของการพัฒนา นั้นก็คือ "ทุกเกมจะถูกวางจำหน่ายในชื่อของ Atari เท่านั้น" และเจ้าของเกมหรือนักพัฒนาเกมจะไม่มีสิทธิ์ที่สามารถใส่เครดิตหรือรายชื่อของตนเองลงไปได้ เรียกได้ว่าหากนโยบายสุดบ้าบิ่นตัวนี้มาอยู่ในยุคนี้คงโดนด่าเละเทะไปแล้ว

ซึ่งการห้ามของ Atari ก็ไม่เป็นอุปสรรคต่อคุณ Warren Robinett ผู้ให้กำเนิดวีดีโอเกมผจญภัยที่มีระบบกราฟิกเกมแรก ๆ ของโลกอย่าง Adventure เพียงแต่เขาอาจจะต้องเล่นซ่อนแอบกันเสียหน่อย โดยเขาได้ทำการซ่อนชื่อของเขาไว้ในห้องลับห้องหนึ่ง เพื่อให้ผู้เล่นสามารถไปเจอชื่อนั้นได้ด้วยตัวเอง และถือว่าเป็น 1 ในEaster Eggs ใบแรก ๆ ของวงการวีดีโอเกมเลยก็ว่าได้

Image result for warren robinett
Image result for warren robinett
Related image
Related image

แน่นอนว่าเมื่อปัญหาเป็นเรื่องของเครดิตผู้สร้างที่สมควรจะได้รับการยกย่อง ทำให้ในช่วงปี 1979 ค่ายเกม Third-Party ค่ายแรกของโลกอย่าง Activision จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา และกลายเป็นหลักไมล์สำคัญของวงการเกม เพราะ Activision ได้กำเนิดขึ้นมาเพื่อทำการถ่วงดุลอำนาจของ Atari เพื่อให้พวกเขาได้มีชื่อเครดิตในการพัฒนาวีดีโอเกมของพวกเขา โดยทาง Atari ก็พยายามจะขัดขวางและยื้อทุกวิถีทาง แต่สุดท้ายก็ทำอะไรไม่ได้เลย

Activision
Activision

น่าจะเดาเหตุการณ์กันได้ไม่ยากเพราะเมื่อมีคนนำแล้วก็ย่อมมีคนตาม เหล่าค่ายเกมจำนวนมากได้ทุกจัดตั้งขึ้นมาเพื่ออิสระในการพัฒนาเกมและการมีตัวตนของพวกเขา ซึ่งฟังดูเหมือนจะดีและไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่มันกลับก่อให้เกิดเหล่าค่ายเกมจำนวนมากที่ไม่มีประสบการณ์และไม่มีความสามารถในการทำวีดีโอเกม จนนำมาสู่ "กองทัพวีดีโอเกมไร้คุณภาพ" ล้นตลาด แถมยังไม่สามารถควบคุมได้ เพราะ Atari เองก็ไม่ได้คิดในส่วนนี้ จนกลายเป็น 1 ในเหตุผลที่ทำให้วงการเกมของอเมริกาล่มสลายในปี 1983

จนมาถึงยุคของ Nintendo Entertainment System หรือช่วง 3rd Generation ในปี 1984 Nintendo ก็ได้กระโดดเข้าสู่วงการเกมของทางฝั่งอเมริกา และเพื่อให้มั่นใจว่าจะไม่เกิดเหตุการณ์เกมไร้คุณภาพล้นตลาดอีก ทำให้ปู่นินได้ทำการออกตราสัญลักษณ์ "Original Nintendo Seal of Quality" ที่เหมือนเป็นการคัดเกรดเกมคุณภาพเกมว่าเกมที่จะขายได้บน NES จะต้องเป็นเกมที่มีคุณภาพเท่านั้น ซึ่งเจ้าสัญลักษณ์นี้ก็ถือว่าเป็น "ใบอนุญาต" ในการวางขายวีดีโอเกมบนเครื่อง NES ได้อย่างถูกต้อง เพราะทุกเกมที่ได้ตราสัญลักษณ์นี้จะได้รับ"Licensed by Nintendo" อีกด้วย ส่วนเกมไหนที่ไม่มีตราสัญลักษณ์นี้ตอนวางจำหน่ายก็จะถือว่าเป็น "เกมเถื่อน" ในสายตาของ Nintendo และกลายเป็นเกมที่ไม่มีใบอนุญาตไป และนี่เป็นจุดกำเนิดของคำว่า Unlicensed Games รวมถึงการที่วีดีโอเกมจะต้องมีใบอนุญาตสำหรับวางจำหน่ายวีดีโอเกมบนเครื่องคอนโซล

File:Original Nintendo Seal of Quality.svg
File:Original Nintendo Seal of Quality.svg

การอุดหนุน Unlicensed Games มีผลกระทบต่อวงการเกมไหม ??

คำถามนี้ถึงแม้อาจจะฟังดูเหมือนว่าจะเป็นคำถามแนว ๆ "เล่นเกมเถื่อนมีผลกระทบต่อวงการเกมไหม" แต่เอาเข้าจริงแล้วคำตอบของคำถามดังกล่าวกลับมีอะไรที่แตกต่างกันออกไป เพราะหากมองในแง่ของผู้พัฒนาแล้ว พวกเขาก็ยังคงได้เงินจากเราอยู่ แม้วีดีโอเกมเหล่านั้นจะไม่มีใบอนุญาตก็ตาม เพียงแต่เจ้าของแพลตฟอร์มจะไม่ได้ค่าลิขสิทธิ์เครื่อง ซึ่งก็ถือว่าเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์อย่างหนึ่ง เพราะยังไงหากเราจะทำเกมลงเครื่องเราก็ต้องจ่ายมัน

เพียงแต่ว่าเราแทบจะไม่สามารถยืนยันได้เลยว่า "นักพัฒนาจะจริงใจกับเรามากขนาดไหน" เพราะอย่างน้อยหากเรามาดูวีดีโอเกมที่ไม่มีใบอนุญาตในช่วงปี 1980s จะพบว่าหลาย ๆ เกมนั้นกลับมีคุณภาพที่แย่ และที่แย่ไปกว่านั้นก็คือมีการต้มตุ๋นหลอกลวง หนึ่งในเกมเหล่านั้นก็คือ "Action 52" เกมประเภท Multicart (ตลับมัดรวมเกม) แบบไม่มีใบอนุญาตที่มีกิจกรรมให้ผู้เล่นเล่นเกมในนั้นอย่าง Ooze จนจบ และถ่ายรูปหน้าจอเพื่อรับเงินรางวัลกว่าแสนดอลล่าร์สหรัฐ แต่สุดท้ายก็ไม่มีใครทำได้ เพราะตัวเกมได้ทำการวางยาทำให้เกม Crash โดยความตั้งใจของผู้สร้าง และทำการเชิดเงินหนีไป (หรือจริง ๆ อาจจะไม่มีเงินรางวัลแต่แรกแล้วก็ได้)

Image result for action 52
Image result for action 52

ซึ่งเอาจริง ๆ หากเรามองในยุคนี้ ต่อให้เกมจะมีใบอนุญาตขนาดไหน แต่ด้วยโลกธุรกิจของวงการเกมที่หมุนไวไปไวนั้น มันกลับทำให้เราไม่สามารถเชื่อใจได้ว่าวีดีโอเกมเหล่านี้จะมีคุณภาพหรือไม่ หรือจะมีความจริงใจกับเรามากน้อยขนาดไหน หรือสรุปง่าย ๆ ก็คือคำว่า "Unlicensed Games" เป็นศัพท์ที่มีผลต่อวงการเกมในยุคเก่า และไม่ค่อยมีผลมากนักกับเกมยุคใหม่ เรียกได้ว่าเนื้อหาตรงนี้เหมือนมาศึกษาเพื่อให้เรารู้เรื่องราวของวงการเกมมากกว่า เพราะยุคนี้เราก็เห็นอยู่ว่าขนาดเกมใหญ่ ๆ AAA จากค่ายที่ไม่คิดว่าจะทำเกมแย่ก็ทำออกมาแย่ได้

todd howard
todd howard

ในขณะเดียวกัน หากเป็นมุมมองของเกม Fanmade เอาจริง ๆ ในส่วนนี้ถือว่าเป็นส่วนที่ค่อนข้างจะละเอียดอ่อนพอสมควร เพราะถึงแม้เราก็ต้องยอมรับว่าเหล่าเกม Fanmade หลาย ๆ เกมมีคุณภาพมากกว่าต้นฉบับก็จริง แต่เราก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าพวกเขาก็หยิบเนื้อหาจากเกมต้นฉบับมาทำ ทำให้เรื่องของเกมแฟนเมดเป็นเรื่องที่ออกไปทางสีเทาค่อนไปทางดำเสียเล็กน้อย ยังไงซะผู้ที่จะทำเกมแบบนี่ได้ก็ควรที่จะมีทุนทรัพย์ในระดับนึง เพราะการระดุมทุนหรือการเปิดรับบริจาคเพื่อนำไปทำเกมแฟนเมดนั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฏหมายของหลาย ๆ ประเทศ

Image result for AM2R
Image result for AM2R

โดยถึงแม้ว่าคำว่า "Unlicensed Games" เราจะไม่ได้เห็นกันบ่อยแล้วกับวงการเกมที่มาไกลถึงขนาดนี้ แต่การที่เราได้รู้เรื่องเกี่ยวกับวงการเกมที่มากขึ้นจากการได้เห็นสิ่งเหล่านี้ก็ย่อมเป็นอะไรที่ไม่เสียหายที่จะลองศึกษาความรู้ดูบ ซึ่งเรื่องราวสาระแบบนี้ยังมีอีกเยอะแยะในวงการเกม และทางผู้เขียนก็จะนำมาเสิร์ฟให้ทุกท่านได้รู้กันเรื่อย ๆ อย่างแน่นอนครับ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0