โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รู้จักกับกล้องโทรทรรศน์ชนิดต่าง ๆ และสอนวิธีการใช้งาน

SPACETH.CO

เผยแพร่ 19 ม.ค. 2563 เวลา 09.22 น. • SPACETH.CO
รู้จักกับกล้องโทรทรรศน์ชนิดต่าง ๆ และสอนวิธีการใช้งาน

กล้องโทรทรรศน์ หรือจะเรียกว่ากล้องดูดาว นั้นเป็นหนึ่งในอุปกรณ์สำคัญสำหรับการใช้งานของนักดาราศาสตร์และผู้ที่สนใจในดวงดาวและอวกาศ ซึ่งในบทความนี้ผู้เขียนจะพาทุกท่านมาทำความรู้จักกับกล้องโทรทรรศน์ชนิดต่าง ๆ รวมทั้งวิธีใช้งานของมันกัน

เริ่มที่ชนิดของกล้องโทรทรรศน์กันก่อนเลย กล้องโทรทรรศน์สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดด้วยกัน โดยแบ่งตามหลักการทำงานของมัน ได้แก่

1. กล้องโทรทรรศน์ชนิดสะท้อนแสง

การทำงานคือ แสงจะเดินทางจากซ้ายมากระทบยังกระจก Primary และจะสะท้อนไปยังกระจก Secondary ที่เฉียงเป็นมุม 45° รับกับเลนส์ตา ดังนั้นแสงจากกระจก Secondary จะถูกส่งไปยังเลนส์ตา และเลนส์ตาทำการขยายภาพให้ตาของเรา

ภาพจำลองการทำงานของกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงแบบ Newtonian – ที่มา Krishnavedala via Wikipedia
ภาพจำลองการทำงานของกล้องโทรทรรศน์สะท้อนแสงแบบ Newtonian – ที่มา Krishnavedala via Wikipedia

2. กล้องโทรทรรศน์ชนิดหักเหแสง

การทำงานคือ แสงจะเดินทางผ่านเลนส์วัตถุแล้วจะถูกเลนส์วัตถุทำการหักเหแสงให้มาเจอกันที่จุดโฟกัส และส่งตรงไปยังเลนส์ตา ซึ่งเลนส์ตาจะทำหน้าที่ขยายภาพส่งมายังตาของเรา

ภาพจำลองการทำงานของกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงแบบ Keplerian – ที่มา Szőcs Tamás via Wikipedia
ภาพจำลองการทำงานของกล้องโทรทรรศน์หักเหแสงแบบ Keplerian – ที่มา Szőcs Tamás via Wikipedia

3. กล้องโทรทรรศน์ชนิดผสม

การทำงานคือ แสงสะท้อนกลับไปมาเพื่อให้ลำกล้องมีขนาดสั้นลง โดยใช้กระจกนูนเป็นกระจก Secondary ช่วยบีบลำแสงทำให้ลำกล้องสั้นกระทัดรัด แต่ยังคงกำลังขยายสูง มีการติดตั้งกระจกนูนที่หน้ากล้องเพื่อทำงานร่วมกับกระจก Secondary ในการชดเชยความโค้งของระนาบโฟกัส โดยที่เลนส์ปรับแก้ไม่ได้มีอิทธิพลต่อกำลังรวมแสงและกำลังขยาย

ภาพจำลองการทำลองของกล้องโทรทรรศน์ชนิดผสมแบบ Schmidt Cassegrain – ที่มา Griffenjbs via Wikipedia
ภาพจำลองการทำลองของกล้องโทรทรรศน์ชนิดผสมแบบ Schmidt Cassegrain – ที่มา Griffenjbs via Wikipedia

หลังจากที่ได้รู้จักชนิดของกล้องโทรทรรศน์ต่าง ๆ กันไปแล้ว มาดูวิธีใช้งานกล้องดูดาวกันต่อได้เลย

1. ประกอบกล้องดูดาว

เป็นขั้นตอนที่มีต่างกันออกไปตามชนิดของกล้อง ควรจะฝึกประกอบให้คล่องและระมัดระวังไม่ให้ตัวเลนส์เสียหาย โดยเฉพาะเลนส์ตาที่มีความบอบบาง เสียหายได้ง่าย

2. ตั้งกล้องเล็ง

ขั้นตอนนี้สำคัญมาก เพราะกล้องเล็งกับกล้องหลักต้องตรงกัน!!! ซึ่งวิธีการตั้งกล้องเล็งนั้นก็เริ่มจากเลือกวัตถุอะไรก็ได้แล้วเล็งกล้องเล็งไปให้กากบาททาบทับพอดีแล้วจึงใช้กล้องหลักหมุนตามให้ตรง โดยในกล้องหลักเราจะได้ภาพที่ขยายใหญ่กว่าในกล้องเล็ง เมื่อกล้องหลักและกล้องเล็งตรงกันแล้วเราจะสามารถใช้กล้องเล็ง เล็งวัตถุท้องฟ้าอะไรก็ได้และมองเห็นมันแบบขยายใหญ่ขึ้นได้ในกล้องหลักผ่านเลนส์ตา

ผู้เขียนขณะกำลังตั้งกล้องเล็งให้ตรงกับกล้องหลัก
ผู้เขียนขณะกำลังตั้งกล้องเล็งให้ตรงกับกล้องหลัก

3. จัดขาตั้งกล้องให้อยู่ตามแกนโลก 

เราสามารถดูว่ากล้องอยู่ตามแกนโลกหรือยังได้โดยการสังเกตที่มาตรน้ำที่มากับกล้องโดยปกติจะมีขีดอยู่ เมื่อปรับขากล้องจนระดับน้ำตรงกับขีดแล้วก็หมายความว่ากล้องของเราอยู่ตามแกนโลกแล้ว ระหว่างดูดาวก็จงระวังให้มากอย่าเตะหรือโดนขากล้องแม้แต่น้อย เพราะทุกครั้งที่กล้องสะเทือนหมายถึงค่าความคลาดเคลื่อนที่เพิ่มขึ้น

4. เล็งดาวที่ต้องการจะส่อง

เล็งให้กากบาททาบทับไปยังดาวดวงที่เราต้องการ แล้วจัดการส่องได้เลย!!!

ขอให้ทุกคนสนุกไปกับการดูดาว การตั้งกล้องเองเป็นสิ่งที่ท้าทายมาก ๆ สำหรับคนใจร้อนและไม่ระมัดระวัง ผู้เขียนคิดว่ากล้องโทรทรรศน์ดูดาวก็เหมือนผู้หญิง ที่เราต้องอ่อนโยนและระมัดระวัง และต้องใช้เวลาศึกษา ลองผิด ลองถูกอยู่นานถึงจะเข้าใจ

เรียบเรียงโดย ทีมงาน Spaceth.co

อ้างอิง

Type of Telescope – Astronomy Notes

ดาราศาสตร์ทั่วไป/กล้องโทรทรรศน์/ทัศนศาสตร์พื้นฐาน – วิกิตำรา

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0