โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

สุขภาพ

รูปร่างแบบไหนที่เสี่ยงต่อการเป็นโรคอัลไซเมอร์

issue247.com

อัพเดต 10 ม.ค. 2562 เวลา 06.04 น. • เผยแพร่ 11 ม.ค. 2562 เวลา 00.00 น.

แค่มองรูปร่างภายนอกคุณบอกไม่ได้หรอกว่าคนอื่นแข็งแรงแค่ไหน แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเดาไม่ได้โดยเฉพาะเมื่อเขาคาดคะเนจากน้ำหนัก แล้วผู้ที่ “ผอมลงพุง” ล่ะ? การศึกษาใหม่พบว่ารูปร่างที่มีมวลไขมันสูงแต่มวลกล้ามเนื้อต่ำอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้มากกว่าโรคอ้วนเพียงอย่างเดียวเสียอีก คุณจะรู้ได้อย่างไรว่าคุณ “ผอมลงพุง” หรือเปล่า? ผู้ที่มีมวลไขมันสูงแต่มวลกล้ามเนื้อต่ำอาจมีรูปร่างผอมบางและดัชนีมวลกาย “ปกติ” (ระหว่าง 18.5-24.9 kg/m2) แต่องค์ประกอบของร่างกายกลับเหมือนกับผู้ที่มีรูปร่างอ้วน เมื่อคนเราอายุมากขึ้นกล้ามเนื้อก็จะค่อยๆลดความแข็งแรงและประสิทธิภาพในการทำงานลงตามธรรมชาติเช่นเดียวกับกระบวนการเผาผลาญ หากเราไม่ปรับเปลี่ยนการบริโภคแคลอรี่และระดับการออกกำลังกายมวลไขมันก็มีโอกาสเพิ่มขึ้น แต่เราอาจไม่ทันสังเกตเพราะตัวเลขบนตาชั่งไม่เปลี่ยนแปลงอันเป็นผลมาจากมวลกล้ามเนื้อที่ลดลง ผู้ที่มีมวลกล้ามเนื้อต่ำแต่มวลไขมันสูงจึงถูกจัดอยู่ในประเภทผอมลงพุงและอาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อสุขภาพสมองได้ ทั้งนี้โรคอ้วนกับภาวะผอมลงพุงล้วนเป็นปัจจัยเสี่ยงที่อาจทำให้สมองฝ่อและเกิดความบกพร่องทางสมรรถนะของสมอง นอกจากนี้โรคอ้วนยังเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างภายในสมอง การอักเสบ และความเสี่ยงในการเป็นโรคอัลไซเมอร์ด้วย ที่สำคัญความไม่สมดุลระหว่างมวลไขมันกับมวลกล้ามเนื้อจะยิ่งสร้างความเสียหายมากกว่าเดิม

การศึกษาที่ถูกตีพิมพ์ใน Clinical Interventions in Aging พบว่าภาวะ “ผอมลงพุง” เป็นตัวบ่งชี้สำคัญถึงระดับการรับรู้ที่ลดลงของผู้สูงอายุ บรรดานักวิจัยได้แบ่งประเภทผู้เข้าร่วมจำนวน 353 คนซึ่งมีอายุเฉลี่ย 69 ปีออกเป็นกลุ่มภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย กลุ่มอ้วน กลุ่มผอมลงพุง และกลุ่มควบคุมโดยการใช้แบบทดสอบทักษะการพัฒนากล้ามเนื้อ เช่น การวัดแรงบีบมือและการทดสอบลุกยืนรวมถึงการตรวจองค์ประกอบของร่างกาย ผลปรากฏว่าผู้ที่อยู่ในภาวะผอมลงพุงจะได้คะแนนการทดสอบประสิทธิภาพการรับรู้แย่กว่าผู้ที่อยู่ในภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยหรืออ้วน ที่สำคัญพวกเขามีอาการเริ่มต้นของโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาทอย่างโรคอัลไซเมอร์ด้วย มีการประเมินว่าจะมีผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ราว 14 ล้านคนในปี 2020 การศึกษาดังกล่าวมีนัยสำคัญเกี่ยวกับการประเมินความเสี่ยงถึงระดับการรับรู้ที่ลดลงของผู้ป่วยและวิธีป้องกันเหตุที่อาจเกิดขึ้น

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0