โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รีวิวทริปเที่ยวเหนือ วิถีอีสานล้านนา พักโฮมสเตย์ ชุมชนบ้านท่าขันทอง เชียงราย

Campus Star

เผยแพร่ 20 ก.ย 2561 เวลา 13.50 น.
รีวิวทริปเที่ยวเหนือ วิถีอีสานล้านนา พักโฮมสเตย์ ชุมชนบ้านท่าขันทอง เชียงราย
วิถีอีสานล้านนา ชุมชนนี้ มีชาวบ้านที่อพยพมาจากทางภาคอีสาน ตั้งแต่ปี 2508 มาอาศัยทางภาคเหนือ เหนือสุดของสยามกันเลยล่ะ ดังนั้น วิถีชีวิตของพวก

ถือเป็นการท่องเที่ยวรูปแบบที่น่าสนใจ คือ การไปท่องเที่ยววิถีชุมชน พักโฮมสเตย์ ชมวิถีชีวิตของชาวบ้านในชุมชนนั้น ๆ ซึ่งทาง ททท. ได้แนะนำมา 13 ชุมชน ที่พร้อมรับนักท่องเที่ยว ที่อยากลองสัมผัสบรรยากาศ หรืออะไรที่แปลกใหม่ไปจากชีวิตประจำวันของตัวเอง (ดูรายละเอียดที่นี่ > 1nightstaywithlocals.com) ติดตามรีวิวทริปอื่นๆ ดูในนี้ th.readme.me

สัมผัส วิถีอีสานล้านนา ชุมชนบ้านท่าขันทอง

ได้มีโอกาสไปเที่ยว 2 วัน 1 คืน ที่ชุมชนบ้านท่าขันทอง ที่เป็นวิถีอีสานล้านนา ก็คือว่า ชุมชนนี้ มีชาวบ้านที่อพยพมาจากทางภาคอีสาน ตั้งแต่ปี 2508 มาอาศัยทางภาคเหนือ เหนือสุดของสยามกันเลยล่ะ ดังนั้น วิถีชีวิตของพวกเขาก็จะยังคงเป็นอีสาน ที่ผสมผสานกับความเป็นเมืองเหนือล้านนา นั่งฟังผู้เฒ่าผู้แก่นั่งเล่าความหลัง ก็ได้แต่คิดย้อนตามไป บางอย่างก็แทบจินตนาการไม่ออก ว่าแบบนี้ก็เคยมีมาก่อน  .. ทริปนี้มีอะไรที่ชาวเราตื่นเต้นบ้าง เซินนซมมม

ต้นเสาวรส ไร่เสาวรส

สารภาพเลยว่าไม่เคยจินตานาการถึงต้นไม้ต้นนี้เลย และไม่เคยเห็นต้นเสาวรสเลยอ่ะ เคยแต่กินน้ำเสาวรส รสชาติจี๊ดๆ เปรี้ยวปาก แต่พอไปเห็นต้นเสาวรสที่แท้ทรู อ่าว เป็นต้นแบบนี้หรอกเหรอ !! เป็นแบบไม้เลื้อยๆ นี่ก็นึกว่าจะเป็นต้นไม้แบบยืนต้นแบบต้นมะม่วง ต้นฝรั่ง อะไรงี้ ความฟินคือ ได้ชิมเสาวรสแบบสดๆ กันตรงนั้น ฟินมากแม่เอ้ยย ที่นี่เขาก็จะกินแบบ ใส่เกลือ ใส่พริกป่นไปด้วย จะเพิ่มน้ำตาลก็ว่าไป

วิธีกินเสาวรส  : เฉือนเสาวรสด้านบน เหยาะ เกลือ พริก หรือ น้ำตาล ตามใจชอบ ตักเข้าปาก จบปึ้ง / ตอนแรกก็กลัวท้องเสียนะ แต่ก็ไม่ท้องเสีย คุณป้าบอกว่า วิตามินซีเยอะมาก และไม่ต้องกลัวท้องเสียเด้อลูกเด้อ

คือเป็นคนตื่นเต้นกับอะไรง่ายๆ แบบนี้แหละ ก็ไม่เคยเห็นอ่าเนาะ ตื่นเต้นดีใจ 55

อาหารการกิน

หลายคนกังวลเรื่องอาหารการกิน เมื่อไปเที่ยวที่แปลกๆ แต่ที่ชุมชนนี้มีพ่อครัวที่ชื่อ พี่เขียว เป็นคนจัดแจงอาหารการกินให้ค่ะ ดังนั้นก็จะเป็นรสชาติอาหารแบบเหนือปนอีสาน ไม่ออกเค็มมาก ไม่ได้ปลาร้าจ๋า คือเชฟพี่เขียวนี้จัดแจงให้ตามเหมาะสมกับนักท่องเที่ยว แต่ไม่ลืมที่จะคงเอกลักษณ์ของอาหารทางภาคเหนือและอีสานเอาไว้ ข้อดีคือ ได้กินผักสดมาก หาเก็บกินตามรั้วบ้าน สวนหลังบ้านกันเลย หรือกินอะไรไม่ได้ อย่างน้อยพี่เขียวก็มีไข่เจียวให้เด้อค่ะเด้อ ไม่ต้องกังวล

ชอบที่ชุมชนนี้ใส่ใจเรื่องความสะอาด การจัดวางอาหาร ที่ทำให้ดูน่ากิน ชอบกิมมิคที่เป็นข้าวเหนียวห่อใบตอง ใช้มือกิน จกๆ จ้ำๆ แซ่บเลย ที่ต้องไม่พลาด คือ หมูปิ้ง ลุงปัน / อันนี้ดีจริง เฟิรรร์มมมม และต้องกินที่ริมแม่น้ำโขงนี้นะ กินที่อื่นก็ไม่อร่อยเท่าที่นี่ (แม้ในท้องเราจะมีข้าวจี่ชุบไข่ไปแล้วสองไม้ แต่เราก็ยังกินต่อได้ คิดดู)

ล่องเรือ ชมบรรยากาศ แม่น้ำโขง

เห็นไม่ไกลอีกฝั่ง นั่นคือประเทศลาวแล้ว ..

แดดร่มลมตก หมู่เฮาชาวคณะเดินทางไปลงเรือ เพื่อล่องเรือไปตามแม่น้ำโขง บรรยากาศก็จะแบบว่า .. ลมพัดเย็นๆ มีข้าวจี่ชุบไข่เตรียมพร้อมไว้ให้ มีน้ำใบอัญชันเย็นชื่นใจไว้รองรับ ฟังเสียงไกด์เล่าเรื่องต่างๆ ให้ฟัง ตื่นเต้นไปกับคุกลาวที่อยู่กลางแม่น้ำโขง ตื่นเต้นกับการข้ามไปอยู่ประเทศเพื่อนบ้านโดยไม่รู้ตัว 555+ โดยมีคุณแม่สมนึกร้องเพลงภาษาอีสานให้ฟัง คุณปลัดยืนฟ้อนกลางเรือ และที่ดีต่อใจคือ ได้ยินเสียงแคน ที่ไม่ค่อยได้ยินมานานมากแล้ว (คิดถึงตอนสมัยเด็กมากเลยล่ะ)

ตอนกลางคืน ..

หลังจากล่องเรือเสร็จ ก็มารวมตัวกันทานข้าวเย็น ราวๆ 1 ทุ่มนิดๆ จากนั้นก็มีพิธีบายศรีสู่ขวัญ และการแสดงพื้นบ้านแบบสนุกสนาน บันเทิงแท้ ชอบมากที่แสดง แหย่ไข่มดแดงอ่ะ แทบอยากลุกไปแจม อิอิ จากนั้นก็แยกย้ายไปพักผ่อนบ้านใครบ้านมัน (โฮมสเตย์)

รถอีต๊อก หรืออีสานเรียก รถอีแต๊ก การคมนาคมในชุมชน ขนส่งกันแบบนี้ โอเพ่นแอร์ร้อนๆ เริ่ดๆ 555

เช้าต่อมา ..

ฝนตกตั้งแต่ตีสาม เสียงน้ำฝนกระทบหลังคา ตอนแรกตกใจมาก ตอนหลังนอนเพลิน เพราะอากาศเย็นสบาย ทำให้แพลนที่จะไปลงเรือ จิบกาแฟที่กลางแม่น้ำโขงก็ต้องพับไปอัตโนมัติ แบบไม่ต้องโทรบอกกัน แอบเสียดายเล็กๆ แต่ก็ดีใจหน่อยๆ ที่จะได้นอนยาวไปยาวไปปปป

กิจกรรมอื่นๆ ที่น่าทำ

กิจกรรมอื่นๆ ระหว่างวัน ที่มีก็มีชิม ชาถั่วดาวอินคา ชิมน้ำข้าวกล้อง ที่ปั่นคั้นกันเน้นๆ ให้ได้รับสารอาหารมากมายล้นพุง การทอผ้าขาวม้า ที่กว่าจะได้แต่ละฝืนนี้ ขอบอกเลยว่า ยอม! ก็ไม่ยาก แต่ไม่ง่ายและต้องใช้เวลาพอสมควร ถ้ามีชาวบ้านไปขายผ้าทอแบบนี้อีก สัญญากับตัวเองว่าจะไม่ต่อราคาเลย

ถ้ามีเวลาเหลือๆ ก็ควรปั่นจักรยานเล่น รอบๆ ชุมชน ชมวัดสวยๆ สัมผัสบรรยากาศของวิถีชาวบ้านฝั่งเหนือ หรือจะปั่นไปดูโรงเรียนของน้องๆ ทางนั้นสักหน่อยก็เพลินไม่น้อยล่ะ จะนวด หรืออบสมุนไฟร ที่นี่ก็มี และที่ดีต่อใจคือ แถวนั้นมีนกสีขาวๆ (จำชื่อไม่ได้) อยู่กันเป็นฝูงใหญ่ เวลามีอะไรไปใกล้ก็บินแตกฮือคนละทิศละทาง คิดดูละกันว่าอุดมสมบูรณ์แค่ไหน ..

เราพักบ้านหลังนี้ บ้านวิมานดิน

ส่งท้าย..จากใจ

แม้ว่าเราเองก็เป็นคนอีสาน แต่ก็ยังอยากเที่ยวในภาคอื่นๆ บรรยากาศที่แตกต่างออกไป อยากไปเพิ่มพลังใจด้วยการฟังเรื่องเล่าความหลังจากผู้เฒ่าผู้แก่ อยากฟังเสียงแคน อาหารอีสาน แต่บรรยากาศภาคเหนือ ซึ่งก็ต้องบอกว่า ชุมชนนี้ตอบโจทย์เรามากจริงๆ ถ้ามีโอกาสก็คงจะไปพักอีกนั่นแล ..

Gallery

การเดินทาง : จองตั๋วบินไปตอนเช้า ลงสนามบินเชียงรายตอนสายๆ เช่ารถให้ไปส่งที่หมู่บ้านท่าขันทอง เดินทางราวๆ 1 ชั่วโมง ถือว่าค่อนข้างสะดวกและตอบโจทย์คนมีเวลาไม่มากนักเลยล่ะ

โปรแกรมการท่องเที่ยว 2 วัน 1 คืน บ้านท่าขันทอง

วันที่หนึ่ง

ช่วงเช้า พบกันที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวบ้านท่าขันทอง ชิมอาหารว่าง ข้าวจี่ฟักทองชุบไข่ แล้วเข้าสปาชุมชนคลายความเหนื่อยล้า รับประทานอาหารกลางวัน ป่ามปลา แจ่วบองผักสด ช่วงบ่าย นั่งรถอีต๊อกชิล ชิล หรือปั่นจักรยานตามถนัดเพื่อเข้าฐานกิจกรรม การจัดการโฮมสเตย์ การทำชาถั่วดาวอินคา การทอผ้าฝ้าย การสีข้าวกล้องด้วยเครื่องสีมือ เรียนรู้การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

แดดร่มลมตก ล่องเรือชมทิวทัศน์ลำน้ำโขง ตามรอยแผ่นดินสุวรรณโคมคำ ขึ้นท่าออนซอนเด ลานกิจกรรมโฮมสเตย์ ร่วมปลูกต้นไม้แทนใจ จากนั้นมีพิธีบายศรีสู่ขวัญ แห่ขันโตก และขันโตกดินเนอร์ การแสดงพื้นบ้าน

วันที่สอง

ช่วงเช้า ตื่นรับลมจากแม่น้ำโขง มื้อเช้า และกิจกรรมแลกเปลี่ยน เรียนรู้ซึ่งกันและกัน ช่วงสาย อาหารว่าง หลังการพูดคุย และเดินทางกลับโดยสวัสดิภาพ

หมายเหตุ ** ปรับเปลี่ยนโปรแกรมตามความเหมาะสม ตามสภาพอากาศ // สนใจทริป ชุมชนบ้านท่าขันทอง จ.เชียงราย ติดต่อชุมชน : 081-9527058 ปลัดเศรฐศักดิ์ /  *จองที่พักและกิจกรรมล่วงหน้า 15 วัน

รายชื่อ ชุมชนต่างๆ ที่พร้อมรับนักท่องเที่ยว ดูรายละเอียดทริป www.1nightstaywithlocals.com

บทความแนะนำ

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0