โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ราชกิจจาฯ ประกาศ “โรคโควิด 19” เป็นโรคติดต่ออันตราย 1 มี.ค. บังคับใช้กม.

TODAY

อัพเดต 29 ก.พ. 2563 เวลา 11.26 น. • เผยแพร่ 29 ก.พ. 2563 เวลา 04.48 น. • Workpoint News
ราชกิจจาฯ ประกาศ “โรคโควิด 19” เป็นโรคติดต่ออันตราย 1 มี.ค. บังคับใช้กม.

ประกาศโรคโควิด 19 เป็นโรคติดต่ออันตราย มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มีนาคม 2563 เมื่อกฎหมายมีผลแล้ว การไม่แจ้งจะมีโทษปรับ 20,000 บาท

(ภาพประกอบ: NIAID-RML)

วันที่ 29 กุมภาพันธ์ เว็บไซต์ ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ที่ลงนามโดย นายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้ "โรคโควิด-19" เป็น "โรคติดต่ออันตราย" มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2563 มีเนื้อหาดังนี้ "โดยที่เป็นการสมควรให้มีการประกาศให้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) เป็นโรคติดต่ออันตรายตาม พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 เพื่อประโยชน์ในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคติดต่ออันตราย

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 5 วรรคหนึ่ง และมาตรา 6 (1) แห่งพระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข โดยคำแนะนำของคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ จึงออกประกาศไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อ 1 ประกาศนี้เรียกว่า "ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญ ของโรคติดต่ออันตราย (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2563"
ข้อ 2 ประกาศนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (14) ของข้อ 1 แห่งประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชื่อและอาการสำคัญของโรคติดต่ออันตราย พ.ศ.  2559

"(14) โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด 19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) มีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย หรือมีอาการของโรคปอดอักเสบ ในรายที่มีอาการรุนแรง จะมีอาการระบบทางเดินหายใจล้มเหลว และอาจถึงขั้นเสียชีวิต"

 

 

 

สาระสำคัญของการประกาศเป็นโรคติดต่ออันตราย เรื่องหนึ่งคือหากใครปกปิดข้อมูล มีความผิดตามกฎหมาย

สำนักข่าว บีบีซี เมื่อวันที่ 27 ก.พ. รายงานว่า นายแพทย์โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค อธิบายถึงประกาศฉบับดังกล่าวว่า หากมีผลบังคับใช้ ทั้งประชาชน ผู้ประกอบการ เช่น โรงแรม มีหน้าที่ตามกฎหมายที่ต้องรายงานและแจ้ง เมื่อสงสัยหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าจะเป็นโรคติดต่ออันตราย

ในกรณีเดินทางกลับมาจากพื้นที่ที่มีการระบาด หรือมีโอกาสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เมื่อมีอาการไข้ หรืออาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ ต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับแพทย์ พยาบาล และเจ้าหน้าที่ตั้งแต่ขั้นตอนของการซักประวัติ เพื่อช่วยในการรักษาและป้องกันตนเองด้วย "ถ้ากฎหมายมีผลแล้ว การไม่แจ้งจะมีโทษปรับ เป็นมูลค่า 20,000 บาท"

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0