โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

ราชกิจจาฯเผยแพร่คำสั่ง ห้ามวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญ

JS100

อัพเดต 19 ก.ย 2562 เวลา 04.06 น. • เผยแพร่ 18 ก.ย 2562 เวลา 14.09 น. • JS100:จส.100
ราชกิจจาฯเผยแพร่คำสั่ง ห้ามวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญ
ราชกิจจาฯเผยแพร่คำสั่ง ห้ามวิจารณ์ศาลรัฐธรรมนูญ

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2562 ลงนามท้ายประกาศโดย นายนุรักษ์ มาประณีต ประธานศาลรัฐธรรมนูญ มีผลบังคับใช้ 17 ตุลาคม 2562 เป็นต้นไป

ข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญออกโดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 6 ซึ่งกำหนดให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญ มีอำนาจออกข้อกำหนด ระเบียบ หรือประกาศของศาล โดยการออกข้อกำหนดหรือระเบียบดังกล่าวให้เป็นไปตามมติของคณะตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ และมาตรา 28 ซึ่งกำหนดให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจออกข้อกำหนดศาลเกี่ยวกับการพิจารณาคดีได้แต่ข้อกำหนดที่ออกมาจะต้องไม่ขัดกับพ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาฯ

ในข้อกำหนดศาลรัฐธรรมนูญยังกำหนดให้บุคคลที่เข้ามาในที่ทำการศาล หรือเข้าฟังการไต่ส่วนของศาลต้องประพฤติตัวตามที่ศาลกำหนด มิเช่นนั้นจะถือเป็นความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล อย่างเช่น

ข้อ 8 (2) ห้ามใช้เครื่องขยายเสียงหรือส่งเสียงรบกวนหรือกระทำการอื่นใดที่เป็นการรบกวนการพิจารณาคดีของศาลหรือการทำงานของเจ้าหน้าที่ศาล และห้ามกีดขวางทางเข้าออกศาล

ข้อ 8 (3) ห้ามประพฤติตนในทางก่อให้เกิดความไม่เรียบร้อย หรือก่อความรำคาญ หรือกระทำการในลักษณะยุยงส่งเสริมการกระทำข้างต้น ในการพิจารณาคดีหรือการทำงานของเจ้าหน้าที่ศาล

ข้อ 8 (7) ห้ามแถลง ชี้แจง แจกจ่ายเผยแพร่ ให้สัมภาษณ์หรือพูดออกอากาศในบริเวณศาล ที่อาจมีผลกระทบกระเทือนต่อการพิจารณาคดี โดยไม่ได้รับอนุญาต

โดยข้อกำหนดข้อที่ 9 ระบุว่า ศาลอาจออกคำสั่งให้บุคคลใด หรือกลุ่มบุคคลใดกระทำการหรืองดเว้นการกระทำเพื่อให้การพิจารณาคดีดำเนินไปอย่างสงบเรียบร้อยและรวดเร็ว

นอกจากนี้ ในข้อที่ 10 ยังกำหนดให้ "ห้ามบิดเบือน" ข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายตามคำสั่งศาล หรือวิจารณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยของศาล โดยไม่สุจริตหรือใช้ถ้อยคำ หรือมีความหมายหยาบคาย เสียดสี ปลุกปั่น ยุยง หรืออาฆาตมาดร้าย

ซึ่งข้อกำหนดฯในข้อที่ 10 มีเนื้อหาในลักษณะเดียวกับมาตรา 38 วรรคสาม ของพ.ร.ป.ศาลรัฐธรรมนูญฯ แต่ในพ.ร.ป.กำหนดว่า "การวิจารณ์คำสั่งหรือคำวินิจฉัยคดีที่กระทำโดยสุจริตและมิได้ใช้ถ้อยคำหรือมีความหมายหยาบคายเสียดสี หรืออาฆาตมาดร้าย ไม่มีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล" ซึ่งข้อนี้ผู้ถูกตั้งข้อกล่าวหาละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญ อาจยกมาเป็นข้อต่อสู้ในกรณีที่ตัวเองถูกตั้งเรื่องละเมิดอำนาจศาลรัฐธรรมนูญได้

 

อ่านต่อ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/097/T_0012.PDF

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0