โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รับมืออาการ "ฮีทสโตรก" ภัยเงียบช่วงหน้าร้อน เมื่อเมืองไทยอุณหภูมิแตะ 40 องศาฯ

Amarin TV

เผยแพร่ 18 เม.ย. 2562 เวลา 03.45 น.
รับมืออาการ
อย่างที่หลายคนคงได้ทราบคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาแล้วว่า สภาพอากาศในประเทศไทยจะทวีความร้อนแรงขึ้นอย่างต่อเดียว โดยมีการคาดการว่าภาคเหนืออาจม

อย่างที่หลายคนคงได้ทราบคำเตือนจากกรมอุตุนิยมวิทยาแล้วว่า สภาพอากาศในประเทศไทยจะทวีความร้อนแรงขึ้นอย่างต่อเดียว โดยมีการคาดการว่าภาคเหนืออาจมีอุณหภูมิสูงถึง 43 องศาฯ ส่วนในพื้นที่กรุงเทพฯ สามารถแตะได้กว่า 40 องศาฯ และสิ่งที่ตามมาพร้อมกับสภาพอากาศที่ร้อนระอุแบบนี้ นั่นคือ โรคลมแดด หรือ อาการฮีทสโตรก (Heat Stroke)

ฮีทสโตรก (Heat Stroke) เป็นอาการเจ็บป่วยจากความร้อนแบบรุนแรงอย่างหนึ่ง ผู้ป่วยจะมีอุณหภูมิกายสูงเกิน 40.6 องศาเซลเซียส จากการได้รับความร้อนจากสิ่งแวดล้อม โดยสูญเสียการควบคุมอุณหภูมิในร่างกาย ภาวะนี้แตกต่างจากไข้ ซึ่งเป็นผลจากกระบวนการทางสรีรวิทยาในร่างกายที่เพิ่มจุดควบคุมอุณหภูมิของร่างกายให้สูงขึ้น

สัญญาณเตือนที่สำคัญของ ฮีทสโตรก คือไม่มีเหงื่อออก แม้จะอากาศร้อน หน้าแดง ตัวร้อนจัดขึ้นเรื่อยๆ รู้สึกกระหายน้ำมาก วิงเวียน ปวดศีรษะ คลื่นไส้ หายใจเร็ว อาเจียน เกร็งกล้ามเนื้อ ชัก มึนงง สับสน รูม่านตาขยาย ความรู้สึกตัว ลดน้อยลง อาจหมดสติ หัวใจเต้นเร็วแต่แผ่วเบา ถ้าไม่ได้รับการแก้ไขอย่างถูกต้องและทันเวลา อาจทำให้หัวใจหยุดเต้น และถึงแก่ชีวิตได้ ซึ่งแตกต่างจากอาการเพลียแดดทั่วๆ ไปที่จะมีเหงื่อออกด้วย

ทั้งนี้ ผู้ที่มีความเสี่ยงในการเกิด ฮีทสโตรก คือ ผู้สูงอายุ เด็ก ผู้ที่อดนอน ผู้ที่ดื่มเหล้าจัด ผู้ที่ทำงานในสภาพอากาศที่ร้อนชื้น และผู้ที่เป็นโรคเรื้อรัง เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน โรคหัวใจ และโรคอ้วน รวมถึงนักกีฬา และทหารที่เข้ารับการฝึก โดยไม่มีการเตรียมสภาพร่างกายให้พร้อมที่จะเผชิญกับสภาพอากาศร้อนจัด

สำหรับวิธีการป้องกัน ฮีทสโตรก นั้นสามารถเริ่มต้นได้ง่ายๆ ด้วยการดื่มน้ำ 1-2 แก้ว ก่อนออกจากบ้านในวันที่มีอากาศร้อนจัด ควรสวมใส่เสื้อผ้าที่มีสีอ่อน โปร่ง ไม่หนา น้ำหนักเบา และสามารถระบายอุณหภูมิความร้อนได้ดีและป้องกันแสงแดดได้

หากต้องอยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนหรือออกกำลังกลางสภาพอากาศร้อน ควรดื่มน้ำให้ได้ชั่วโมงละ 1 ลิตร แม้จะไม่รู้สึกกระหายน้ำก็ตาม และแม้จะทำงานในที่ร่มก็ควรดื่มน้ำ อย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว ก่อนออกจากบ้านควรใช้ครีมกันแดดที่มีค่าSPF 15 ขึ้นไป หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแดดในวันที่อากาศร้อนจัด โดยเฉพาะก่อนการออกกำลังกายหรืออยู่ท่ามกลางสภาพอากาศร้อนเป็นเวลานาน

ในเด็กเล็กและคนชราควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษโดยให้อยู่ในห้องที่มีอากาศระบายได้ดี และไม่ให้เด็กหรือคนชราอยู่ในรถที่ปิดสนิทตามลำพังในกรณีที่จะต้องไปทำงานท่ามกลางสภาพอากาศที่ร้อนจัด ควรเป็นบุคคลที่มีสุขภาพแข็งแรงโดยออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้งๆ ละ 30 นาที เพื่อให้ร่างกายเคยชินกับสภาพอากาศร้อนจัด

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0