โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไอที ธุรกิจ

รับมือทั้งเรื่องเงิน – งาน…ยังไง? ถ้าไวรัสโควิด-19 ติดหล่มยาวกว่าที่คิด

ทันข่าว Today

อัพเดต 31 มี.ค. 2563 เวลา 03.46 น. • เผยแพร่ 31 มี.ค. 2563 เวลา 03.38 น. • ทันข่าว Channel

Highlight

  • ปัจจัยเสี่ยง 3 ข้อ ที่ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอาจติดหล่มแบบ …ลากยาว
  • เมื่อ “รายได้หด” แต่ “ค่าใช้จ่าย” และ “หนี้สิน” ยังรอเราอยู่ สิ่งที่ต้องทำคือ “บริหารจัดการเงินให้สอดคล้องหนี้สิน” เพื่อฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้ กับ 4 checklists

พิษของโรคระบาดโควิด-19 รุนแรงสาหัสต่อเศรษฐกิจไทยและโลกอย่างเห็นได้ชัด จากภาคการท่องเที่ยวที่หยุดชะงัก ภาคอุตสาหกรรมที่ห่วงโซ่การผลิตถูกป่วน และอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่สะดุด

หลายคนมองว่า ผลกระทบของโควิด-19 จะรุนแรงแต่ไม่ยืดเยื้อ ไตรมาส 1 จะหนักมากสุด (อาจถึงขั้น GDP ติดลบ) และจะกระดอนขึ้นเป็น V-shape และกลับมาโตตามเทรนด์เดิมในช่วงครึ่งหลังของปี…แต่!!! ถ้าภาวะติดหล่มนี่ลากยาวกว่าที่คิด

ปัจจัยเสี่ยง 3 ข้อ ที่ทำให้การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจอาจติดหล่มแบบ … ลากยาว

  • พายุหลายระลอก ทำปัญหาไวรัสยืดเยื้อ

ผลกระทบทางเศรษฐกิจจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่อาจไม่ใช่คลื่นใหญ่ระลอกเดียว แต่มาหลายระลอก กับความเป็นจริงที่ว่า โควิด-19 ไม่ใช่โรคระบาดในจีนและประเทศใกล้เคียงแต่กลายเป็นโรคระบาด “ระดับโลก”

  • เพราะเราอ่อนแออยู่ก่อนแล้ว

เศรษฐกิจไทยภูมิคุ้มกันต่ำตั้งแต่ก่อนติดโควิด-19 จากปัจจัยเชิงโครงสร้างและความอ่อนแอของเศรษฐกิจภายในประเทศ ประกอบกับผลลบต่อการท่องเที่ยวไทยที่เป็นเครื่องยนต์หลักของเศรษฐกิจไทยอย่างมหาศาล

ตลาดการเงินจะกลับมาฟื้นตัวเป็น V-shape ได้หรือไม่ คงเป็นการยากที่ใครจะล่วงรู้คำตอบนี้ได้ แต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นแน่ๆ คือยิ่งการระบาดลุกลามและขยายเป็นวงกว้างมากขึ้น จะยิ่งทำให้ทางการจำเป็นต้องใช้มาตรการที่เข้มข้นขึ้นในการสกัดกั้นการระบาด และผลกระทบต่อเศรษฐกิจก็จะยิ่งหนักหน่วงและลากยาวขึ้น ปัญหาสภาพคล่องจากการขาดกระแสเงินสดชั่วคราว อาจถูกภาวะเศรษฐกิจตกต่ำคุกคามจนกลายเป็นปัญหาความอยู่รอดของธุรกิจได้ … เมื่อเวลานั้นมาถึง แน่นอนว่าย่อมกระทบต่อ แรงงานและคำว่าตกงาน รวมถึงรายได้ลดลง

เมื่อ “รายได้หด” แต่ “ค่าใช้จ่าย” และ “หนี้สิน” ยังรอเราอยู่ สิ่งที่ต้องทำคือ “บริหารจัดการเงินให้สอดคล้องหนี้สิน” เพื่อฝ่าวิกฤติครั้งนี้ไปให้ได้

จักรพงษ์ เมษพันธ์ (The Money Coach) ให้คำแนะนำ การบริหารจัดการเงินและการลงทุนในช่วงปี 2020 พาดผ่านวิกฤติโควิด-19 ในไตรมาส 1 นี้ ประกอบไปด้วย 4 เรื่องที่ควรให้ความสำคัญ

1. จัดการหนี้เก่า
ในกรณีที่มีหนี้ที่จำเป็นต้องจ่ายเป็นประจำทุกเดือน แต่กลับมีรายได้ลดลง ขาดรายได้ หรืออยู่ในสภาวะที่ไม่สามารถผ่อนชำระได้ไหวเนื่องจากสถานการณ์ที่ไม่ปกติ ควรวางแผนการจ่ายหนี้ให้เรียบร้อยก่อนจะกลายเป็นหนี้เสีย

การเจรจาพักชำระหนี้ หรือลดยอดชำระหนี้ก้อนใหญ่ๆ อย่างสินเชื่อบ้าน สินเชื่อรถ จะเป็นทางรอดที่เห็นผลได้ชัดเจนกว่า เมื่อเทียบกับการลดรายจ่ายเพียงอย่างเดียว
อย่างไรก็ตาม หากมีการเจรจาหนี้แนะนำให้เจรจาในระยะยาวไว้ก่อน เพราะไม่มีใครรู้ว่าวิกฤติลากยาวไปถึงไตรมาสที่ 2 หรือ 3 หรือมากกว่านั้น หากสภาวะทางการเงินกลับมาเป็นปกติเร็วกว่าที่คาดค่อยยกเลิกในภายใน

แต่หากเจรจาไว้ครบกำหนดแล้ว แต่สถานการณ์กลับแย่ลง อาจต้องพิจารณากันที่ปลายทางในมิติอื่นๆ เช่น กรณีที่รายได้ไม่กลับมาเลย อาจจะต้องพิจารณาขายทรัพย์สินเดิมๆ ที่มีอยู่ เช่น หุ้น กองทุน เพื่อหล่อเลี้ยงชีวิต หรืออาจจะต้องดึงเงินสำรองฉุกเฉินมาใช้ในสถานการณ์แบบนี้ระหว่างที่กำลังหารายได้เพิ่มด้วย

2. ชะลอการก่อหนี้ใหม่

หากคิดจะสร้างอะไรใหม่ๆ ที่จำเป็นต้องมีภาระหนี้สินตามมา อาจจะต้องเลื่อนออกไปก่อน เช่น ซื้อบ้าน ซื้อรถ หรือสร้างหนี้ก้อนใหญ่ จะต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ หรือพิจารณาให้รอบคอบก่อน ถ้าสิ่งที่กำลังจะซื้อไม่จำเป็นจริงๆ ณ เวลานี้ ก็อย่าเพิ่งรีบซื้อเพราะการสร้างรายจ่ายถาวรในสภาวะที่รายได้ไม่ถาวร

3. ควบคุมรายจ่าย

“สถานการณ์แบบนี้ช่วยให้เราเห็นได้ชัดเจนมากขึ้นว่า อันไหนคือ need อันไหนคือ want” รายจ่ายที่จำเป็นและต้องให้ความสำคัญก่อน เช่น การค่ากินอยู่ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการศึกษาของลูก จะต้องถูกจัดสรรไว้เป็นอันดับแรกเมื่อมีรายได้ แล้วค่อยปรับลดค่าใช่จ่ายส่วนอื่นๆ ที่จำเป็นน้อยกว่าลง

4. ลงทุนอย่างระมัดระวัง เพื่อเปิดรับโอกาสในอนาคต

ควรลงทุนบนความระมัดระวัง สำหรับคนที่ลงทุนแบบทยอยลงทุนในระยะยาว DCA (Dollar Cost Average) เช่น กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุน SSF ที่กำลังจะเปิดให้ลงทุน 1 เมษายน 2563 รวมถึง หรือการลงทุนใดๆ ก็ตามเป็นการลงทุนอย่างต่อเนื่อง หลักการคือการทยอยลงทุนทีละน้อย

สถานการณ์แบบนี้มีความจำเป็นที่ต้องลงทุนต่อไป หากเป็นการลงทุนในระยะยาวไม่จำเป็นต้องกังวลเรื่องของหุ้นมากนัก เพราะว่าระยะยาว หุ้นจะมีการปรับตัวกลับมาอยู่เสมอ ฉะนั้น คนที่ลงทุนต่อเนื่องจะได้รับหน่วยลงทุนที่เพิ่มมากขึ้น เมื่อทยอยลงทุนต่อเนื่องแม้ในช่วงวิกฤติ

Cr: KKP / กรุงเทพธุรกิจ: จักรพงษ์ เมษพันธ์ The Money Coach/ ดร.สันติธาร เสถียรไทย นักเศรษฐศาสตร์ภาคเทคโนโลยีแห่งเอเชีย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0