โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รัฐส่งมาตรการคืนภาษีรับตรุษจีน ใครได้ ใครเสีย

BLT BANGKOK

อัพเดต 17 ม.ค. 2562 เวลา 07.07 น. • เผยแพร่ 16 ม.ค. 2562 เวลา 04.38 น.
0af9332b09ccc0927921f9b65e3f182f.jpg

หลังจากรัฐบาลออกมาตรการลดหย่อนภาษี ชอปช่วยชาติปี 2561 ซึ่งสิ้นสุดลงแล้วเมื่อวันที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมา ล่าสุดตามมาติดๆ ด้วยมาตรการคืนภาษี VAT 5% ให้ประชาชนที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเดบิต และ QR Code รับวันตรุษจีน ซึ่งถือเป็นมาตรการที่มีฐานประชาชนกว้างขึ้น เพราะสามารถรับภาษีคืนได้ แม้ไม่ได้ยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาก็ตาม
คืน VAT 5% สำหรับผู้จ่ายผ่านอิเล็กทรอนิกส์
สำหรับมาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายช่วงตรุษจีน 2562 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ VAT ในอัตรา 5% ที่ปกติคนจ่าย 7% แต่รัฐจะคืนให้ 5% ส่วน 2% เข้าคลังเช่นเดิม สำหรับการใช้จ่ายในวันที่ 1-15 ก.พ. 62 โดยต้องชำระเงินผ่านทางอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ ชำระด้วยบัตรเดบิต ชำระเงินผ่านคิวอาร์โค้ด ซึ่งต้องลงทะเบียนพร้อมเพย์ แต่ไม่รวมถึงบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และบัตรเครดิต ทั้งยังไม่ครอบคลุมถึงสินค้าและบริการที่มีภาษีสรรพสามิต ได้แก่ สุรา ยาสูบ น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน รถยนต์ และรถจักรยานยนต์ โดยมีวงเงินการซื้อสูงสุดไม่เกิน 20,000 บาท และจะได้รับการโอนเงินคืน 1,000 บาท

โดยรัฐบาลจะเริ่มคืนเงินวันที่ 15 มี.ค. 62 และสิ้นสุดภายในเดือน พ.ย. 62 ผ่านระบบพร้อมเพย์ที่ลงทะเบียนผ่านบัตรประชาชนเท่านั้น ซึ่งคาดว่า จะทำให้รัฐสูญเสียรายได้จากการจัดเก็บภาษีประมาณ 9,240 ล้านบาท ขณะเดียวกันก็เป็นการส่งเสริมระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ อีกทั้งยังเปิดกว้างให้กับประชาชนมีโอกาสได้เงินคืนแม้ไม่ได้ยื่นเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ส่วนมาตรการชอปช่วยชาติตั้งแต่ปี 58 จนถึงปัจจุบันนั้น ผู้ที่ได้ประโยชน์สูงสุดคือผู้มีรายได้สูง โดยมีเพียง 7% ของผู้ยื่นแบบฯ เท่านั้นที่  จะได้รับส่วนลดภาษี 20% ขึ้นไป
ข้อมูลจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ณ วันที่ 7 ธ.ค. 2561 ระบุว่า ปัจจุบันมีจำนวนบัตรเครดิตของธนาคารต่างๆ รวมกว่า 21 ล้านใบ บัตรเอทีเอ็มรวม 8 ล้านใบ และบัตรเดบิตรวม 58.8 ล้านใบ รวมทั้งสิ้น 87.8 ล้านใบ ซึ่งจากประชากรกว่า 65 ล้านคน มีเพียง 6 ล้านคนเท่านั้นที่มีบัตรเครดิต ส่วนที่เหลือกว่า 60 ล้านคนไม่มีบัตรเครดิต มีเพียง 29 ล้านคนเท่านั้นที่ถือเพียงบัตรเดบิตหรือเอทีเอ็มรวมกันกว่า 70 ล้านใบ (ดูอินโฟกราฟิกประกอบ 1 )

ทีดีอาร์ไอชี้ “แจกเงิน” ยังไม่ใช่ทางแก้ความจนอย่างทั่วถึง
สำหรับมาตรการ “ของขวัญปีใหม่” ที่คณะรัฐมนตรี (ครม.) ได้อนุมัติงบประมาณ 38,000 ล้านบาท ออกมาช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเพื่อลดภาระค่าครองชีพช่วงปลายปีและยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้น ผ่าน 4 มาตรการ ได้แก่ เงินสนับสนุนค่าใช้จ่ายช่วงปลายปีคนละ 500 บาท เงินช่วยเหลือค่าน้ำ-ค่าไฟ นาน 10 เดือน เงินช่วยเหลือค่าเช่าบ้านเดือนละ 400 บาท สำหรับผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป และเงินช่วยเหลือค่าเดินทางไปรักษาพยาบาล 1,000 บาท สำหรับผู้สูงอายุที่ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไป
ดร.สมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย นโยบายด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง ทีดีอาร์ไอ แสดงความเห็นว่า มาตรการดังกล่าวเสมือนการแจกเงินให้ประชาชน เพราะไม่ได้มีการไปตรวจสอบว่าเขาเอาไปทำตามที่ระบุหรือไม่
นอกจากนี้ยังชี้ว่า ความเหลื่อมล้ำทางทรัพย์สินทำให้เกิดความเหลื่อมล้ำในด้านอื่นๆ ตามมา หากดูความเหลื่อมล้ำของยุโรปจะน้อยกว่าของไทย เพราะภาครัฐเข้าไปแทรกแซง อาทิ การเก็บภาษีแบบก้าวหน้า และใช้จ่ายเงินเพื่อประชาชนชั้นรากหญ้า ทำให้ Gini Coefficient (ดัชนีที่ใช้สำหรับวัดความเหลื่อมล้ำด้านรายได้) ของประเทศกลุ่ม OECD หรือ กลุ่มประเทศในองค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาของประเทศกลุ่มยุโรป ลดลงไป 25%

ดังนั้น หากแจกเป็นสวัสดิการไป อาจไม่ตรงความต้องการของแต่ละครัวเรือน แต่การแก้ไขปัญหาความจนด้วยการแจกเงินเป็นครั้งคราวไม่มีประสิทธิภาพ ซึ่งจะเห็นว่า Gini Coefficient ของไทยเพิ่มขึ้นด้วยซ้ำหลังที่มีการแจกเงิน 500 บาท ครั้งที่ผ่านมา แปลว่าความเหลื่อมล้ำเพิ่มขึ้น แต่ประเทศ OECD ที่ประสบความสำเร็จเขาใช้จ่ายทางด้านสังคมประมาณร้อยละ 20 ของ GDP ในขณะที่ไทยใช้จ่ายไปเพียงร้อยละ 7.8 เท่านั้น หากลองเพิ่มรายจ่ายให้เป็นร้อยละ 10 ภาครัฐก็จะต้องเพิ่มงบประมาณในส่วนนี้อีกปีละ 350,000 ล้านบาท
ซึ่งในความเป็นจริงแล้วการแทรกแซงจากรัฐบาลเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด นโยบายรากหญ้าของ คสช. ตั้งแต่ปี 2557–2561 มีงบประมาณรวมที่ 4-5 แสนล้านบาท (เฉลี่ยปีละประมาณ 1 แสนล้านบาท) อาทิ การช่วยเหลือเกษตรกร ในรูปแบบต่อไร่ เงินโอนลงพื้นที่ เช่น การเติมเงินกองทุนหมู่บ้าน ช่วยเหลือ SME วิสาหกิจชุมชน กองทุนประชารัฐ ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร และบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ โดย ดร.สมชัย มองว่า งบประมาณ 1 แสนล้านบาทต่อปีนั้นไม่มากเกินไปหากมีการใช้อย่างเหมาะสม (เทียบกับเงินที่ควรใช้จริง 3.5 แสนล้านบาท) และบางส่วนยังเป็นการใช้เงินนอกงบประมาณอีกด้วย เช่น ผ่าน ธกส. เป็นต้น
อย่างไรก็ดี การใช้งบประมาณในครั้งนี้ไม่แก้ปัญหาความยากจนเชิงโครงสร้าง เพราะยังไม่มีนโยบายสวัสดิการถ้วนหน้าในเรื่องที่สำคัญ เช่น เงินอุดหนุนเด็กแรกเกิด ซึ่งจะบรรเทาปัญหาคนจนข้ามรุ่น หรือประเด็นเรื่องคุณภาพการศึกษาสำหรับรากหญ้า และยังไม่เตรียมการรับมือผลกระทบกับคนจำนวนมากที่จะถูกทิ้งไว้ข้างหลัง เพราะการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยียุคใหม่จะทำให้คนที่มีการศึกษาน้อยที่อายุตั้งแต่ 40 ปี ถูกทิ้งไว้ข้างหลัง ส่วนเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐแบบเฉพาะเจาะจงนั้นเป็นเรื่องที่ควรทำ แต่ไม่มีความจำเป็นด้านเศรษฐกิจมหภาค รวมทั้งรัฐบาลควรดำเนินนโยบายที่เป็นโครงการถาวรเหมาะสมมากกว่านี้
ในอนาคต สัดส่วนประชากรไทยสูงอายุจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเตรียมเข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ ขณะที่ประชากรแรงงานจะมีตัวเลขลดลง แน่นอนว่ารายจ่ายสวัสดิการจะสูงขึ้นด้วย อีกทั้งแรงงานบางส่วนอาจถูกแย่งงานจาก Artificial Intelligence (AI) และแรงงานจากต่างประเทศ ซึ่งอาจส่งผลให้ประชากรบางกลุ่มถูกทอดทิ้งมากขึ้นอีก จึงจำเป็นที่รัฐบาลต้องให้การสนับสนุน ส่งเสริมการสร้างประสิทธิภาพของประชากร และส่งเสริมสวัสดิการ ลดภาษีให้กับผู้สูงอายุควบคู่กันไปด้วย เพื่อให้ประชาชนสามารถสร้างโอกาสการเข้าถึงอาชีพและการมีรายได้ที่เพียงพอต่อการดำรงชีวิต


ผศ.ดร.อธิภัทร มุทิตาเจริญ - อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
“มาตรการการคืน VAT ปี 2561 นั้นจะเร่งให้ประชาชนใช้จ่ายเกินตัว เพราะการมีบัตรสวัสดิการคนจนได้แปลว่าคนนั้นจะต้องมีรายได้ไม่เกิน 8,000 บาทต่อเดือน รัฐจะคืน VAT ให้ 5% โดยไม่เกิน 500 บาท แปลว่าเขาจะเร่งใช้จ่ายสินค้าที่มี VAT ไม่เกิน 10,000 บาทต่อเดือน ซึ่งมันย้อนแย้งกับหลักความจริง ให้ผลเสียมากกว่าเหมือนกับที่เคยเกิดขึ้นในโครงการรถคันแรก เมื่อปัญหาด้านความเหลื่อมล้ำโดยเฉพาะเรื่องคนจนได้ถูกแก้ไขอย่างมีประสิทธิภาพ รัฐบาลก็ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้จ่ายเงินภาษีของประชาชนกับเรื่องนี้อีก และสามารถนำงบประมาณนี้ไปพัฒนาประเทศในด้านอื่นได้”

ดร.สมชัย จิตสุชน - ผู้อำนวยการวิจัย นโยบายด้านการพัฒนาอย่างทั่วถึง ทีดีอาร์ไอ 
“สำหรับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นนี้ ขอให้พรรคการเมืองยึดทัศนคติที่มีต่อคนจนที่ถูกต้อง มุ่งเน้นนโยบายสร้างความเข้มแข็งผู้มีรายได้น้อยอย่างยั่งยืน รวมทั้งเสนอนโยบายสามารถลดความเหลื่อมล้ำอย่างเป็นระบบ จริงจังต่อการหารายได้เพิ่ม รวมทั้งบอกประชาชนว่านโยบายหาเสียงมีต้นทุนการคลังเท่าไร และจะลดความเหลื่อมล้ำได้มากน้อยแค่ไหน เพื่อให้ประชาชนตรวจสอบได้ในอนาคต ส่วนในเรื่องของการขึ้น VAT นั้น ไม่กังวลว่าจะทำให้คนจนเดือดร้อน เพราะเป็น VAT ที่ได้มาสุดท้ายก็นำมาใช้จ่ายเพื่อคนจน”

[English]
Thailand’s Lunar New Year shopping incentives: Winning or Losing Game
Following the government’s tax incentives for New Year holiday spending that ended on January 15, a similar program will be put into effect to help boost consumer spending ahead of the Chinese New Year festival.
Under the new plan, consumers, who spend on various consumer goods during February 1-15 through such electronic methods as debit card and QR code, will be eligible for a 5% VAT refund for a maximum spending of 20,000 baht.
According to the government, the refund will be paid back through the PromptPay service from March 15 to the end of November.  It is expected that the new project will cost the government around 9.24 billion baht in lost revenue.
The Bank of Thailand said that, as of December 7, 2018, there were currently over 21 million credit cards, eight million ATM cards and 58.8 million debit cards issued by Thailand-based commercial banks.  However, out of some 65 million Thais, only six million of them have credit cards, while some 29 million have either debit cards or ATM cards, or both.
Meanwhile, Thailand Development Research Institute (TDRI) said that the government’s recent “New Year holiday gift” program, which was allocated with a budget of 38 billion baht and aimed at helping shoulder the cost of living of low-income earners, was nothing more than a cash handout without any verification to make sure the money would be used as the government intended.
However, TDRI noted that, among past projects initiated by the current administration since 2014, the government intervention through such channels as the Village Fund, the Pracharat Fund and the registration of low-income earners as well as the state welfare card, has been the most effective tool.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0