โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

รัฐบาลอังกฤษส่งสัญญาณ ปรับนโยบาย 5G เตรียมรับมือหัวเว่ย

Businesstoday

เผยแพร่ 02 ก.ค. 2563 เวลา 03.52 น. • Businesstoday
รัฐบาลอังกฤษส่งสัญญาณ ปรับนโยบาย 5G เตรียมรับมือหัวเว่ย

รัฐบาลอังกฤษส่งสัญญาณเพิ่มความเข้มงวดในการรับมือกับบริษัทหัวเว่ย ผู้ผลิตอุปกรณ์สื่อสารสัญชาติจีน

การแทรกแซงของสหรัฐ ซึ่งรวมถึงการห้ามบริษัทหัวเว่ยและบริษัทบุคคลที่สามผู้ผลิตชิพไม่ให้ใช้ “เทคโนโลยีและซอฟท์แวร์ของสหรัฐในการออกแบบและผลิต” สินค้า ส่งผลให้บริษัทหัวเว่ยไม่สามารถเข้าถึงซอฟท์แวร์ที่จำเป็นในการออกแบบและทดสอบระบบประมวลผล รวมไปถึงไม่สามารถนำชิพที่ล้ำสมัยไปใช้ในการผลิตอุปกรณ์สื่อสารได้

ดังนั้นการแทรกแซงดังกล่าวจึงมีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อการอยู่รอดของหัวเว่ยในฐานะผู้ให้บริการเครือข่าย 5G และทำให้รัฐบาลอังกฤษต้องทบทวนนโยบายในการรับมือกับหัวเว่ยตามไปด้วย

ทางฝั่งสหรัฐอ้างว่ามีความจำเป็นต้องแทรกแซงเนื่องจากกังวลเกี่ยวกับความมั่นคงของชาติ โดยนักการเมืองอเมริกันมองว่าประเทศจีนอาจใช้หัวเว่ยสืบข้อมูลหรือแม้แต่ก่อวินาศกรรมต่อระบบโทรคมนาคมของสหรัฐ และเมื่อวันอังคารนี้ คณะกรรมการกลางกำกับดูแลกิจการสื่อสารของสหรัฐ (Federal Communication Commission) ได้ระบุว่าบริษัทหัวเว่ยเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ และได้ออกมากีดกันไม่ให้บริษัทระบบสื่อสารโทรคมนาคมภายในประเทศนำเงินจากกองทุนส่งเสริมไปใช้ในการซื้ออุปกรณ์จากบริษัทสัญชาติจีนดังกล่าว

หัวเว่ยปฏิเสธว่าบริษัทไม่เคยร่วมมือกับรัฐบาลจีนในการล้วงข้อมูลของลูกค้าหรือแม้แต่จะมีเจตนาทำอันตรายต่อลูกค้าแต่อย่างใด วิคเตอร์ จาง ผู้บริหารสูงสุดของหัวเว่ยประจำสหราชอาณาจักรได้ออกมากล่าวว่า หัวเว่ยลงทุนนับพันล้านเพื่อให้ครอบครัวและธุรกิจของชาวอังกฤษสามารถเข้าถึงเครือข่ายมือถือและบรอดแบนด์ความเร็วสูงและน่าเชื่อถือ

อย่างไรก็ดี คณะรัฐมนตรีของสหราชอาณาจักรได้มีแผนที่จะถอดถอนบริษัทหัวเว่ยออกจากเครือข่ายของสหราชอาณาจักรอยู่ก่อนหน้านี้แล้ว โดยในปัจจุบันมีแผนกีดกันบริษัทหัวเว่ยออกจากส่วนเครือข่ายหลักที่มีความอ่อนไหวสูงสุด และมีความพยายามที่จะจำกัดส่วนแบ่งการตลาดสถานีเครือข่ายและอุปกรณ์ของหัวเว่ยอยู่ที่ 35% ภายในปี 2023 นอกจากนี้อาจมีการพิจารณากำหนดต้นทุนของผู้ประกอบการเครือข่ายให้สูงขึ้น

ศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติ (National Cyber Security Centre) ได้เคยแสดงความกังวลเกี่ยวกับฮาร์ดแวร์ด้อยคุณภาพของหัวเว่ย และความเปราะบางที่อาจเป็นผลตามมา ทางหัวเว่ยได้แก้ไขปัญหาความเสี่ยงดังกล่าวด้วยการเพิ่มมาตรการตรวจสอบสินค้าให้ดียิ่งขึ้น แต่หากหัวเว่ยถูกบังคับให้ใช้อุปกรณ์จากผู้ผลิตรายอื่น อาจไม่สามารถจัดการกับความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้

กรมดิจิทัล วัฒนธรรม สื่อ และกีฬา (Department for Digital, Culture, Media, and Sport) ของอังกฤษยังคงศึกษาถึงผลกระทบของการตัดบริษัทหัวเว่ยหรือการกำหนดข้อจำกัดในการดำเนินธุรกิจของหัวเว่ยอย่างต่อเนื่อง และยังได้มีการหารือร่วมกับศูนย์ความมั่นคงปลอดภัยไซเบอร์แห่งชาติเกี่ยวกับนัยของการแทรกแซงของสหรัฐก่อนที่จะหาข้อสรุปและเสนอข้อแนะนำต่อนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับ

  • สาเหตุที่ธุรกิจของหัวเว่ยอาจต้องนับเวลาถอยหลังในสหราชอาณาจักร
  • รัฐบาลโดนัลด์ ทรัมป์ อ้างว่าหัวเว่ยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลทหารของจีน
  • สิ่งที่อาจเกิดขึ้นหากสหราชอาณาจักรตัดสินใจทิ้งหัวเว่ย

ด้าน สส. พรรคแรงงาน เควัน โจนส์ ได้แสดงความกังวลว่ารัฐบาลอังกฤษกำลังถูกบังคับให้ทำตามที่อเมริกันต้องการ ในขณะที่เลขาธิการกระทรวงกลาโหม นายวอลเลซ ตอบโต้ว่าสหรัฐมีสิทธิที่จะจัดการกับทรัพย์สินทางปัญญาของตนอย่างไรก็ได้ และสหรัฐไม่ได้โจมตีหรือกดดันอังกฤษ แต่เมื่อหัวเว่ยไม่สามารถใช้ชิพบางประเภทในการผลิตได้อีกต่อไป อังกฤษก็มีสิทธิที่จะมองหาทางเลือกใหม่เช่นกัน  สส. พรรคอนุรักษ์นิยม มาร์ค ฟรองซัวร์ มองว่าหากรัฐบาลไม่ให้ความร่วมมือในการขับไล่หัวเว่ย อาจมีการประท้วงร่างพระราชบัญญัติโทรคมนาคมนี้

รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีได้ออกมาแสดงความชัดเจนของรัฐบาลที่ต้องการกีดกัน “ธุรกิจความเสี่ยงสูง” อย่างเช่นหัวเว่ย ออกจากเครือข่าย 5G ของสหราชอาณาจักร แต่ประเด็นสำคัญอยู่ที่รัฐบาลจะสามารถกำหนดกรอบเวลาและการลงมือทำอย่างจริงจังได้เมื่อไร การทบทวนท่าทีการแทรกแซงของสหรัฐยังคงมีแนวโน้มที่จะกำหนดทิศทางของสหราชอาณาจักรต่อไป แม้ว่าจะมีเหตุผลทางเทคนิคให้มีการปรับนโยบายดังกล่าว แต่แรงกดดันจากวอชิงตันและสมาชิกรัฐสภาฝ่ายอนุรักษ์นิยม ประกอบกับความสัมพันธ์กับจีนที่ถดถอยก็มีความเหมาะสมต่อการพิจารณาเลือกการกีดกันไม่น้อย

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0