โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รักต้องห้าม : เรื่องของ Romeo and Juliet Effect

Johjai Online

อัพเดต 09 ธ.ค. 2562 เวลา 09.12 น. • เผยแพร่ 08 ธ.ค. 2562 เวลา 17.00 น. • johjaionline.com
รักต้องห้าม : เรื่องของ Romeo and Juliet Effect
Romeo & Juliet Effect กลายเป็นกำลังใจให้กับหลายคนที่เจออุปสรรคจากสังคม

“ชื่อตระกูลของข้า คือศัตรูของข้า” 
จูเลียต, ฉากระเบียง องก์ 2 ฉาก 2 
Romeo & Juliet Effect เป็นคำที่ปรากฏครั้งแรกใน งานวิจัยเมื่อปี 1972 ของทีมงานนักจิตวิทยาชื่อ Richard Driscoll และเป็นที่ฮือฮาในทันทีด้วยชื่อที่ยืมมาใช้ จากละครของเชคสเปียร์ Romeo & Juliet ที่กล่าวถึงหนุ่มสาวจากสองตระกูลที่เป็นศัตรูกัน รักกันท่ามกลางการต่อต้านอย่างรุนแรง จนกระทั่งสถานการณ์พาไปให้ต้องจบชีวิตลง 
Driscoll และทีมงาน ทำการศึกษาคู่รัก 140 คู่ โดยให้ตอบคำถามเกี่ยวกับความรักที่มีต่อกัน และการยอมรับจากพ่อแม่หรือผู้ปกครอง จากนั้นอีกหกเดือนต่อมา ให้ตอบแบบสอมถามอีกครั้งเพื่อที่จะดูว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงบ้าง ผลคือในคู่ที่ไม่ได้รับการยอมรับ มีเพียงส่วนน้อยมากเท่านั้น ที่เลิกราไป ส่วนคู่ที่ยังอยู่รายงานว่ามีความรักต่อกันมากขึ้น ถึงแม้จะพบกับความกดดันก็ตาม  
ผลการศึกษาสรุปว่า เมื่อใดที่คู่รักไม่เป็นที่ยอมรับของคนรอบข้าง โดยเฉพาะพ่อแม่หรือผู้ปกครอง เมื่อนั้น ความรักนั้นจะยิ่งรุนแรงและทรงพลัง กลายเป็นการเติมพลังงานเข้าไปโดยไม่ได้ตั้งใจ ทั้ง ความโรแมนติก และ ความมั่นใจ และน่าจะทำให้ความรักของทั้งคู่ไปต่อได้ ซึ่งทั้งนี้ เป็นไปทฤษฎีพฤติกรรมมนุษย์ว่าด้วย “reactance” ที่เมื่อใดถูกต่อต้าน มนุษย์จะหันไปต่อสู้กลับ ทำนองว่า “ยิ่งห้าม ยิ่งยุ”
จากนั้นเป็นต้นมา เรื่องของ Romeo & Juliet Effect กลายเป็นกำลังใจให้กับหลายคนที่เจออุปสรรคจากสังคมว่า “ไม่มีอะไรจะหยุดยั้งความรักของเราได้” 
ความน่าสนใจและความสำคัญของ Romeo & Juliet Effect อยู่ที่ ถ้าหาคนเราเจอกับ “ต้องห้าม” หรือ “stigmatization” ทั้งหลายจากสังคม เราจะมีพฤติกรรมโต้ตอบอย่างไร? และผลต่อมาจะเป็นอย่างไร?   ซึ่งเรื่องต้องห้ามนั้นไม่จำเป็นต้องมาจากพ่อแม่หรือตระกูลอย่างใน Romeo & Juliet เท่านั้น เพราะในชีวิตประจำวัน สังคมรอบตัวเรากำหนดเรื่องต้องห้าม ทั้งอย่างไม่เป็นทางการและเป็นทางการ ไว้เต็มไปหมด 
เช่น คนที่เป็นแฟนต่างอายุกันมากๆ มักจะถูกมองอย่างไม่เห็นด้วย ว่าคนใดคนหนึ่งกำลังหลอกเอาประโยชน์จากอีกคนอยู่ เช่นเดียวกับ คนต่างฐานะ คนที่มีความเก่งต่างกันมากมาจับคู่เป็นแฟนกัน ก็มักถูกวิพากษ์วิจารณ์ในทางลบ  หรือ ในบางสังคม ความรักของ LGBT (lesbian, gay, bisexual, transvestsite) ถือเป็นเรื่องต้องห้ามอย่างเป็นทางการ 
ความต้องห้ามยังรวมไปถึงการเป็นแฟนกันแต่ถูกแอนตี้จากเพื่อนฝูง หรือแม้กระทั่งถูกโจมตีจากโลกโซเชียลในกรณีของเซเล็บ ความต้องห้ามยังไปถึงเรื่องการงาน อย่างเช่น สมาชิกวงวัยรุ่นของญี่ปุ่น  AKB48 ห้ามมีแฟน ไม่เช่นนั้นจะถือเป็นความผิดร้ายแรง หรืองานบางอย่างที่เกี่ยวกับความลับ ความมั่นคง งานที่เกี่ยวกับการถ่วงดุลอำนาจ check and balance อย่างเช่น ฝ่ายขายกับฝ่ายตรวจสอบหรือ audit ไม่ค่อยนิยมให้พนักงานเป็นแฟนกัน 

มีการศึกษา Romeo & Juliet Effect อย่างจริงจังเพิ่มเติมจากงานของ Driscoll และการวิจารณ์ว่า ผลการศึกษาของ Driscoll เป็นการมองระยะสั้นเกินไปคือ 6 เดือน เสมือนเป็นดรามาในภาพยนตร์ที่จบตอนกำลัง happy ความรักกำลังเบ่งบาน แต่ไม่ได้มองว่าแล้วตอนต่อไปจะเป็นอย่างไร ไม่ได้มองยาวไปถึงความยั่งยืนของความรักในสภาพต้องห้ามว่าจะไปได้ไกลแค่ไหน 
งานศึกษาเหล่านั้นพบเหมือนๆกันว่า  ถึงแม้พลังรักจะเข้มข้นเพราะแรงต่อต้าน แต่แตงทำให้ความรักดำเนินไปด้วยความกดดัน จนทำให้กระทบคุณภาพของชีวิตคู่ ไม่ค่อยจะมีความสุข หันไปทางไหนก็มีแต่คนไม่เห็นด้วย หลายคู่รายงานว่า ความมั่นใจและความภูมิใจในตนเองลดลง สุขภาพแย่ลง ไม่ค่อยอยากดูแลตนเอง บางรายหันไปหายาเสพติดหรือเหล้า ผลสุดท้ายคือทำให้ชีวิตคู่ที่มีอยู่นั้น ไม่ยั่งยืน ทะเลาะกันเอง โทษกันไปมา 
ผลสรุปรายหลังๆจึงหักล้าง Romeo & Juliet Effect ไปโดยปริยาย เป็นการดับความหวังความโรแมนติกของหลายคู่ที่กำลังอยู่ในอุปสรรครักต้องห้าม    
ผลการศึกษาระยะหลัง ยังชี้ให้เห็นอิทธิพลของสังคมว่ามีอิทธิพลต่อเรื่องส่วนตัวมากแค่ไหน มีงานวิจัยที่ขยายไปครอบคลุมความเห็นในโลกโซเชียล พบว่า เมื่อใดที่โลกโซเชียล “approve” หรือรับรองความสัมพันธ์ เมื่อนั้นความรักมักจะไปได้ต่อ แต่เมื่อใดที่โลกโซเชียลรุมต่อต้าน ก็จะทำให้ไปต่อไม่ค่อยได้ (งานศึกษาของ Flemlee 2001) ในคู่ที่เลิกกัน รายงานว่าสาเหตุหนึ่งเพราะทนไม่ไหวจากการ “ไม่มีใครเห็นด้วย” 
แต่กระนั้นก็ตาม ใช่ว่า Romeo & Juliet Effect จะไร้ผลเสียทีเดียว 
เพราะในงานศึกษาเรื่องโลกโซเชียลเดียวกันนี้เองบอกว่า ถ้ามีแรงต่อต้านไม่มากจากสังคมออนไลน์ ความรักจะยิ่งแรงขึ้น และผลการศึกษาของ Sinclair และ Ellithorpe จาก dating game ที่ลงใน Cambridge University Press อธิบายว่า Romeo & Julliet Effect จะเกิดผลทำให้คนรักกันมากขึ้นและอยู่กันยืดด้วย นั้นขึ้นอยู่เรื่องของ “3D” นั่นคือ disapproval, defiance, และ destiny ว่าแต่ละคู่ตอบสนองอย่างไรกับ 3D นี้มากกว่าที่จะตีความแบบขาวหรือดำว่า Romeo & Juliet Effect เป็นจริงหรือไม่เป็นจริง   
ความน่าสนใจอยู่ที่ definace และ destiny นี่เอง ที่ชี้ว่ารอดหรือไม่รอด
Sinclair และ Ellithorpe บอกว่า ใน D-defiance หรือการต่อต้านนั้น หากเป็นไปในลักษณะ ยิ่งห้าม-ยิ่งยุ มักจะไปไม่รอด เพราะเป็นการโต้ตอบแบบ reactive คือโต้กลับตามแรงที่เข้ามา ไม่ใช่มาจากการคิดเองแบบ proactive ยิ่งเป็นไปในลักษณะ “กบฎ” หรือ rebellion ยิ่งไปได้ยาก เพราะบรรยากาศจะเต็มไปด้วยแรงกดดันและการต่อสู้เป็นยกๆไม่จบสิ้น จนเกิดความอ่อนล้าจนหันมาทะเลาะโทษกันเองในที่สุด 
แต่ถ้าหากคู้รักต้องห้ามมีความ “independent reactance” คือ โต้กลับด้วยความเป็นตัวของตัวเอง นั่นคือถือว่า “นี่คือชีวิตฉัน” แล้วก็พอ ไม่สนใจแรงต้านใดๆ ไม่ตอบโต้กับสังคม เมื่อนั้น ความรักมักจะไปรอด 
ส่วนใน D-destiny นั้น Sinclair และ Ellithorpe บอกว่า คนที่มีความเชื่อใน destiny หรือ ชีวิตถูกลิขิตไว้แล้ว มักจะมองหาสัญญาณหรือ sign ที่ confirm ว่าความรักนี้คือ destiny หรือ “meant to be” และนั่นทำให้เกิดอาการหวั่นไหวเมื่อมองไปรอบตัวเท่าไหร่ๆ ก็เจอแต่คนไม่เห็นด้วย หรือเจอแต่อุปสรรคจุกจิกจากสังคมเต็มไปหมด 
ผลสุดท้ายคือ ก็จะคิดว่า สงสัยรักนี้ไม่ได้ถูกลิขิตมาเสียแล้ว หรือ “ดวงถ้าจะไม่ให้” ไม่อย่างนั้นคงไม่เต็มไปด้วยปัญหารอบด้านอย่างนี้ 
ส่วนคู่ที่ไม่เชื่อในเรื่อง destiny จะไม่สนใจ แต่เลือกที่จะเชื่อว่า ตนเองเป็นผู้เลือกชีวิตเอง และปัญหาที่มีก็ต้องค่อยๆแก้ไป 
ผลคือคนที่ไม่เชื่อในฟ้าลิขิตกลับไปรอด แถมรับฟังความเห็นจากคนรอบข้างที่หวังดีจริง และเอามาปรับปรุง เป็นการใช้แรงต้านให้เป็นประโยชน์ feedback 
นอกจากนั้น ในเคสที่ไม่ใช่รักต้องห้ามจากสังคมรอบตัว เช่นพ่อแม่หรือเพื่อน แต่เป็นรักต้องห้ามจาก “ค่านิยมของสังคม” หรือ “social marginalized relationship” พบว่า Romeo & Julliet Effect น่าจะมีผลทำให้ความรักยั่งยืน มากกว่าคนที่ไม่ได้ถูกค่านิยมสังคมต่อต้านเสียอีก อย่างเช่น คู่ที่ต่างอายุกันมากๆ คู่รักต่างเชื้อชาติหรือศาสนา คู่ที่เป็น LGBT 
ที่แรงต้านกลับทำให้รักยั่งยืนเพราะ ความรักที่สวนทางค่านิยมนั้น ไม่ใช่เป็นเรื่องส่วนตัว จึงทำให้ไม่เกิดความสงสัยตนเองหรือ self doubt แต่อย่างใด เพราะรู้ว่าไม่ว่าอย่างไร ก็ต้องมีคนไม่เห็นด้วยตามค่านิยมอยู่ดี และค่านิยมที่ยึดถือบางครั้งก็ไม่จำเป็นต้องมีเหตุผล จึงทำให้ไม่ต้องแคร์ ไม่ต้องหวั่นไหว
แตกต่างจากแรงต้านจากคนรู้จัก ที่เป็นเรื่องส่วนตัว เฉพาะเจาะจง เช่น มองว่านิสัยใจคอไม่เข้ากันบ้าง กลุ่มเพื่อนไม่ชอบไม่ยอมรับแฟน พ่อแม่มองว่าแฟนการงานไม่เอาไหน ซึ่งล้วนกระทบจิตใจมากกว่า   
สรุปคือ Romeo & Juliet Effect จึงยังมีอยู่จริง แต่ต้องมาจากสังคมแอนตี้ ไม่ใช่พ่อแม่ ตระกูล หรือเพื่อนฝูงต่อต้าน 
ซึ่งดูเหมือนไม่ใช้เรื่อง Romeo & Juliet ตามแบบของเชคเสปียร์เลย 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0