โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ธุรกิจ-เศรษฐกิจ

ระบบการเงินเปลี่ยนเร็ว อนาคตแบงก์อาจ”ไม่ใช่แบงก์”

Money2Know

เผยแพร่ 25 ก.ย 2561 เวลา 12.24 น. • money2know - เงินทองต้องรู้
ระบบการเงินเปลี่ยนเร็ว อนาคตแบงก์อาจ”ไม่ใช่แบงก์”

ผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ ร่วมแลกเปลี่ยนมุมมอง ทิศทางระบบการเงินไทยในอนาคต จากกระแสการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีรวดเร็ว มองธนาคารพาณิชย์อาจต้องเปลี่ยนรูปแบบให้มีต้นทุนต่ำลง พร้อมแนะผู้กำกับดูแลวางนโยบายให้เป็นไปตามที่ควรจะเป็น ไม่ติดตำรา

ธนาคารแห่งประเทศไทยจัดงานสัมมนาประจำปี หรือ BOT Symposium 2018 ในคอนเซป สู่ยุคใหม่ของระบบการเงินและธนาคารกลาง ปิดท้ายด้วยวงเสวนา "The Future of Money, Finance and Central Banking” รวมผู้บริหารธนาคารพาณิชย์ ร่วมพูดคุยถึงทิศทางของระบบการเงินของไทยในอนาคต ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็ว

นายบรรยง พงษ์พานิช
นายบรรยง พงษ์พานิช

ความสำคัญของตลาดเงิน

นายบรรยง พงษ์พานิช ประธานกรรมการบริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) สังเกตและตั้งคำถามว่า ปัจจุบันตลาดการเงินทำหน้าที่ เป็นต้นทุนหรือภาระต่อระบบเศรษฐกิจอย่างไรบ้าง 

1. หน้าที่ในการเพย์เม้นต์ ที่ทำให้เกิดทุกเรื่องขึ้นในระบบเศรษฐกิจ ระบบเพย์เม้นต์ของไทย เดิมมีต้นทุนสูงมาก เมื่อมีอีเพย์ลดต้นทุนได้มหาศาล สะท้อนว่าไทยก้าวหน้าตามลำดับ ธนาคารใหญ่ ๆ กระโดดมาดิสรัปท์ฟินเทค โดยการฟรีค่าธรรมเนียม จากเดิม 12 บาท 

2. Resource allocation ระบบเศรษฐกิจต่าง ๆ มีทรัพยากรเป็นหัวใจ ตลาดการเงินที่ดี ต้องการจัดสรรทรัพยากรรวบรวมทรัพยากรให้กับระบบเศรษฐกิจได้พอเพียง เอาทรัพยากรมาจากแหล่งที่ถูกต้อง จัดสรรต้นทุนทางการเงิน ต้นทุนตัวกลาง ที่ทำให้ระบบเศรษฐกิจที่แข่งขันได้ 

เมื่อรวบรวมมาได้จะต้องมีกระบวนการจัดสรรทรัพยากร ให้ผู้รับนำไปประกอบกิจการ ใช้อย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นอำนวยสินเชื่อ กระบวนการในตลาดทุน 

ที่สำคัญต้องการ Re-Resource allocation คือการกลับมาของทรัพยากร โดยเฉพาะทรัพากรที่นำไปใช้แล้วไม่เกิดประโยชน์

3. ช่วยกระจายความเสี่ยงของระบบเศรษฐกิจ บริหารความเสี่ยง ตลอดประกันความเสี่ยงในรูปแบบต่าง ๆ ใช้งานไปแล้วเกิดประโยชน์ 

4. กระจายความมั่งคั่ง กระจายโอกาส ให้ระบบเศรษฐกิจ มีกระตุ้นและมุ่งเน้นให้เกิดประสิทธิภาพของระบบ ไม่กระจายไปให้ช่องทางเกื้อหนุนคอรับชั่น ที่ทำลายเศรษฐกิจ

แบงก์ชาติต้องประสานความร่วมมือมากขึ้น 

ขนาดของตลาดการเงินของไทย ปี 2000 ขนาด 8 ล้านล้านบาท ไม่ถึง 2% ของจีดีพีในเวลานี้ พัฒนามาในปี 2007 เพิ่มเป็น 220% ของจีดีพี ประมาณ 20 ล้านล้านบาท

ในปัจจุบันเมื่อกลางปี พบว่าตลาดการเงินรวมทุกตราสาร 48 ล้านล้านบาท คิดเป็น 300% ของจีดีพีปัจจุบัน หากมองในแง่ของการขยายตัวของขนาดนับว่าตลาดการเงินไทยประสบความสำเร็จ โดยขึ้นมาเท่ากับอัตราเฉลี่ยของโลก ไม่รวมกับประเทศที่พัฒนาแล้ว

จุดน่าสังเกต เมื่อมองในรายละเอียดพบว่า แบงก์เครดิตเติบโตน้อยสุดในตลาดการเงิน 11 ล้านล้านบาท ส่วนที่โตสุดคือสถาบันการเงินของรัฐโตจาก 8 แสนล้าน ขึ้นมาเป็น 4.1 ล้านล้านเครดิต

จากสถิติข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ธปท. นั้นไม่สามารถควบคุมตลาดทั้งหมดได้ ยังไม่รับรวมทรัพย์สินอื่น ๆ ที่มีมูลค่า 30 ล้านล้านที่อยู่ในรูปของตลาดทุน ควบคุมได้แค่ทรัพย์สินธนาคารพาณิชย์ ทั้งนี้หน้าที่ในการกำกับดูแล จะต้องมีการเชื่อมโยงกันระหว่างหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็น ก.ล.ต., คปภ. ต้องประสานและร่วมมือกันอย่างใกล้ชิด

"การก้าวไปข้างหน้า อย่าลืมองค์ประกอบสำคัญของการเงิน และการเพิ่มประสิทธิภาพในฟังก์ชั่นต่าง ๆ เป็นเป้าหมายสำคัญ" นายบรรยง กล่าว

นายปรีดี ดาวฉาย
นายปรีดี ดาวฉาย

อนาคตธนาคาร อาจไม่ใช่ธนาคาร

นายปรีดี ดาวฉาย กรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์เป็นบริษัทมหาชน ซึ่งเป็นส่วนประกอบหนึ่งของระบบเศรษฐกิจ และอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เฉพาะ

ที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์เอง มีการรุกระบบเพย์เม้นต์โดยเร็ว ตามวิวัฒนาการในการแข่งขัน ราคาเปลี่ยนไป เป็นเรื่องปกติของธุรกิจ ในขณะที่แง่ของต้นทุน แบงก์ถือเป็นอุตสากรรมที่ให้ผลตอบแทนไม่มากเท่าอุตสาหกรรมอื่น

ธนาคารพาณิชย์ ต่างตระหนักว่า หากทุกภาคส่วนที่เป็นองค์ประกอบของระบบเศรษฐกิจ มีความรู้ความเข้าใจเรื่องระบบการเงิน ความรู้ทางการเงิน ของเด็กๆ และประชาชนที่ยังไม่มีความเข้าใจเรื่องการเงินมีความรู้มากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ จะช่วยสร้างรากฐานความแข็งแกร่งในระบบทำให้ต้นทุนถูกลดลงได้ในทางอ้อม

ในขณะที่ปัจจุบัน แม้มีเกิดการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ขึ้นในแทบทุกมิติ แต่ธนาคารพาณิชย์ยังคงต้องทำหน้าที่เดิมคือการรับฝากเงิน ไปปล่อยกู้ กระจายทรัพยากร เพย์เมนต์ การซื้อขาย 

สิ่งที่กล่าวมาข้างต้นคือการสร้างรายได้ให้กับธนาคารพาณิชย์ แต่ในภาวะปัจจุบัน ผลิตภัณฑ์และบริการเหล่านี้ถูกฉีกออกไปในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ฟินเทค, non-bank หรือผู้ประกอบการ

เมื่อผู้เล่นใหม่ ๆ ต่างพยายามสร้างแพลทฟอร์ม เก็บข้อมูลลูกค้า เพื่อทำการปล่อยสินเชื่อโดยตรง ทำให้หน้าที่ที่สร้างรายได้ให้กับธนาคารพาณิชย์ถูกแย่งไป โดยไม่มีอำนาจต่อรอง ทำให้ธนาคารพาณิชย์มีการปรับตัว ให้ต้นทุนลดลง กระบวนการต่าง ๆ ให้สั้นและราคาถูก เมื่อเทียบกับผู้เล่นหน้าใหม่ให้ได้

“ในอนาคต ธนาคารพาณิชย์ต้องหาทางอยู่รอด อาจจะถูกเปลี่ยนชื่อไปจากการเป็นธนาคาร อยู่ในลักษณะใหม่ แต่ระบบต่าง ๆ จะยังคงดำเนินไปต่อ เพียงแต่ไม่รู้ในอนาคตไม่รู้ว่าใครจะเป็นคนทำ”

นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ
นายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ

ธนาคารสร้างต้องสร้างความเชื่อมั่น และเปลี่ยนมายเซ็ตในการกำกับดูแล

ด้านนายเศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ที่ปรึกษาบริษัท ดิแอดไวเซอร์ จำกัด กล่าวว่า บทเรียนจากวิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 ระบบการเงินของไทยมีการเตรียมความพร้อม มีความแข็งแรง ทำให้ยังมีความอุ่นใจเรื่องแบงก์ และระบบการเงิน

โดยมองว่า หาปัญหาทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น คงมีลักษณะที่แตกต่างจากครั้งที่ผ่านมา แต่อาจจะมาจากสิ่งใหม่ ๆ ที่เกิดขึ้น และโตเร็ว เช่น สหกรณ์ออมทรัพย์ กองทุนรวมที่ปัจจุบันมีขนาดมูลค่าใหญ่ 

ปัจจุบันที่มีผู้เล่นใหม่เข้ามามากและมีน้ำหนักที่ค่อนข้างสูง ในขณะที่การกำกับดูแลไม่ได้อยู่กับธนาคารแห่งประเทศไทยเพียงแห่งเดียว ประกอบกับความเชื่อมั่นในธนาคาร ผู้เชี่ยวชาญ และนักเศรษฐศาสตร์ลดลงจากในอดีต ซึ่งเป็นความท้าทายในงานของธนาคารกลางทุกประเทศที่ต้องรักษาความเชื่อมั่นไว้ให้ได้

เพราะหากประชาชนเชื่อมั่นในสถาบันเหล่านี้ลดลง หรือเกิดความไม่ไว้วางใจเงินสกุลเดิม ทำให้หันไปใช้หรือเกิดความเชื่อมั่นในหลักทรัพย์ใหม่ ๆ  คริปโตเคอร์เรนซี มากขึ้น ทำให้ตั้งข้อสังเกตว่า รูปแบบการกำกับดูแลที่มีอยู่เหมาะกับบริบทที่เกิดขึ้นมาใหม่แล้วหรือไม่

ทั้งนี้ ส่วนตัว นายเศรษฐพุฒิเอง ยังมองว่า เงินบาท ยังคงมีบทบาทต่อไป แต่ในด้านการกำกับดูแลควรปล่อยให้กลไกตลาดที่ควรจะเป็น โดยสิ่งที่จะเห็นในอนาคตคือความไม่แน่นอน การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและระบบการเงิน 

นอกจากนี้ ยังคาดว่าในอนาคตนโยบายการเงิน ที่เน้นเรื่อง Inflation target อย่างในปัจจุบัน จะเปลี่ยนแปลงไปในลักษณะอื่นในอีก 10-20 ปี 

"ถ้าโลกมันเปลี่ยนการใช้ประสบการณ์อาจนำสู่การตัดสินใจที่ไม่เหมาะสม เจอสไตล์ผู้ใหญ่นั่งหัวโต๊ะ ไม่มีการพูดคุย ทุกวันรูปแบบนี้ไม่หมด ต้องเปลี่ยนมายเซ็ต พาราไดร์ของระบบเศรษฐกิจ เพราะเราถูกล้างสมองจากหนังสือเรียน คิดเศรษฐกิจเหมือนเป็นเครื่องจักร แต่คิดว่าเศรษฐกิจไม่เป็นอย่างนั้น พยายามไปจูนเยอะเกินอาจมีผลข้างเคียงในด้านไม่ดีที่อาจคาดไม่ถึง" เศรษฐพุฒิ กล่าว

ด้านนายบรรยง กล่าวเสริมว่า“จะชอบหรือไม่ชอบแต่ก็ต้องเผชิญ แม้ยากที่จะวางแผนรับความไม่แน่นนอน มองกลับมาแล้วทำตัวให้พร้อมที่จะเผชิญ พอเรากลัวความเปลี่ยนแปลง ทำให้เราป้องตัวและสร้างกรอบ ในที่สุดกรอบอาจกลายเป็นกะลา” 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0