โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

รอง ผบ.ตร.ฟัน 4 ข้อหาหนักแก๊งลิขสิทธิ์โดราเอมอน

ข่าวช่องวัน 31

อัพเดต 21 พ.ย. 2562 เวลา 12.43 น. • เผยแพร่ 21 พ.ย. 2562 เวลา 12.32 น. • one31.net
รอง ผบ.ตร.ฟัน 4 ข้อหาหนักแก๊งลิขสิทธิ์โดราเอมอน

รอง ผบ.ตร.พบผู้เสียหายถูกล่อซื้อสินค้าติดตัวการ์ตูนรูปโดราเอมอน ฟัน 4 ข้อหาหนักแก๊งจับลิขสิทธิ์…

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่กองบังคับการตำรวจภูธรจังหวัดมหาสารคาม พล.ต.อ.วิระชัย ทรงเมตตา รองผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ลงพื้นที่ติดตามคดีลิขสิทธิ์โดราเอมอนโดย พล.ต.อ.วิระชัย ได้พูดคุยกับผู้เสียหาย คือ นางโสภาพรรณ ปัญยาง และ น.ส.ชญานิส นามไพร ผู้เสียหายคดีลิขสิทธิ์โดราเอมอน โดยผู้เสียหายเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อ นายภูมิภากร ถินสุวรรณ์ หรือ นัน กิ่งเพชร และนายพิพล โตตันติกุล ข้อหาร่วมกันกรรโชกทรัพย์ ซึ่งผู้เสียหายถูกล่อให้ผลิตกล่องไม้ ติดตัวการ์ตูนรูปโดราเอมอน ซึ่งผู้เสียหายไม่เคยผลิตมาก่อน แต่ถูกล่อให้ผลิต ก่อนที่จะนัดส่งสินค้ากันที่ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในเขตเทศบาลเมืองมหาสารคาม

ภายหลังจากส่งสินค้าและจ่ายเงินเสร็จ จึงแสดงตัวจับกุมอ้างว่ามาจากบริษัทลิขสิทธิ์ และนำตัวมาที่ ชั้น 2 ของ สภ.เมืองมหาสารคาม ก่อนเรียกเงิน 200,000 บาท แต่ตกลงจ่ายเงินกันที่ 50,000 บาท เหตุเกิดเมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2562 ต่อมา วันที่ 12 พ.ย. 62 ผู้เสียหายได้เดินทางเข้าแจ้งความร้องทุกข์กล่าวโทษต่อ พ.ต.ท.วุฒิ ศรีวิลัย รองผู้กำกับการสอบสวน สภ.เมืองมหาสารคาม ให้ดำเนินคดีข้อหากรรโชกทรัพย์ ต่อ นายภูมิภากร และนายพิพล เพราะเห็นจากสื่อสารมวลชนว่าตน เป็นผู้ถูกกระทำ และเกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรมจึงมาแจ้งความ

ขณะที่ พล.ต.อ.วิระชัย กล่าวว่า คดีนี้มีผู้เสียหาย 3 คน ประกอบด้วย นางโสภาพรรณ นายชยานันท์ และ น.ส.ชญานิส ซึ่งหนึ่งในผู้ต้องหาที่ถูกออกหมายจับมีการแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจด้วย ซึ่งในการลงพื้นที่ในวันนี้ได้กำชับให้เจ้าหน้าที่เร่งติดตามตัวผู้ต้องหามาดำเนินคดี ซึ่งขณะนี้ได้ออกหมายจับ 2 ราย คือ นายภูมิภากร และนายพิพล โดยคดีนี้มีอายุความ 10 ปี ซึ่งคดีนี้เกิดจากการปกป้องสิทธิ์ของตนเองที่ผู้เสียหาย เมื่อทราบว่าตนถูกล่อให้กระทำผิด จึงได้เดินทางเข้าแจ้งความ โดยเจ้าหน้าที่ตำรวจได้ออกหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 2 รายตั้งแต่วันที่ 12 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยมูลค่าสินค้าที่ถูกล่อให้ผลิตก็ไม่ได้มาก ราคาไม่กี่ร้อยบาท โดยล่อให้ผู้เสียหายติดภาพตัวการ์ตูนโดราเอมอนที่กล่องไม้ แล้วก็จับกุมตัว ทั้ง ๆ ที่ตนไม่ได้เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และมีการเรียกร้องค่าเสียหาย 200,000 บาท แต่ตกลงกันได้ที่ 50,000 บาท

พฤติการณ์ดังกล่าวผู้ที่ไม่ได้เป็นตำรวจ แต่มีการแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ ถือว่าเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ในข้อหาที่ 1 ข้อหาที่ 2 ตนที่เป็นประชาชนไม่มีอำนาจจับกุม และไปจับกุม ถือว่าเป็นการจับกุมโดยไม่ชอบ ไม่มีอำนาจจึงมีความผิดฐานหน่วงเหนี่ยวกักขัง ทำให้เสื่อมเสียอิสรภาพและเสรีภาพ ข้อหาที่ 3 เรียกร้องทรัพย์สินเงินทอง ทั้งๆ ที่ผู้ถูกเรียกทรัพย์สินเงินทอง ไม่ได้เป็นผู้ที่กระทำผิดละเมิดลิขสิทธิ์แต่ประการใด และพูดจาข่มขู่ว่าหากไม่จ่ายเงิน จะติดคุก รับราชการไม่ได้ ทำให้ผู้เสียหายนั้นเกรงกลัว ทำให้ต้องจ่ายเงินให้เป็นเงิน 50,000 บาท พฤติการณ์ดังกล่าวจึงถือเป็นการกรรโชกทรัพย์ มีอัตราโทษจำคุกสูงถึง 5 ปี และข้อหาที่ 4 คือ แจ้งความเท็จ โดยการอ้างว่าตนเองเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ

ส่วนกรณีที่จังหวัดนครราชสีมา ศาลได้ยกคำร้องไป เนื่องจากพยานหลักฐานไม่เพียงพอ ซึ่งทางพนักงานสอบสวนได้รวบรวมพยานหลักฐานเพิ่มเติม เพื่อให้เพียงพอต่อการพิจารณา ส่วนที่มหาสารคาม เป็นเรื่องที่ชัดเจนว่า ผู้เสียหายไม่ได้มีการผลิตสินค้าละเมิดลิขสิทธิ์มาก่อน ไม่เคยโพสต์ ไม่ได้ทำ ไม่ได้ขาย แต่กลุ่มผู้ต้องหา มาลวงให้ผลิต ให้ทำ ให้ขาย แล้วไปจับกุมตัว ซึ่งชัดเจนว่าถูกล่อให้กระทำผิด จึงต้องลงพื้นที่มาติดตามคดีด้วยตนเอง.

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0