โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

รองโฆษก อัยการสูงสุด แจง! เหตุปล่อยตัว ‘ผู้ต้องหา’ แชร์ไนซ์รีวิว หลังกลุ่มผู้เสียหาย บุกยื่นหนังสือร้อง

สวพ.FM91

อัพเดต 21 ก.พ. 2563 เวลา 08.21 น. • เผยแพร่ 21 ก.พ. 2563 เวลา 08.21 น.
รองโฆษก อัยการสูงสุด แจง! เหตุปล่อยตัว ‘ผู้ต้องหา’ แชร์ไนซ์รีวิว  หลังกลุ่มผู้เสียหาย บุกยื่นหนังสือร้อง

วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 กลุ่มผู้เสียหายคดีไนซ์รีวิวร่วม 30 คน เข้ายื่นหนังสือร้องขอความเป็นธรรมกับอัยการสูงสุด ถนนรัชดาภิเษก เพื่อขอให้ชี้แจงกรณีการปล่อยตัวนายณรงค์ อินลี เจ้าของบริษัท เอนเนอร์จี ดีดักชั่น จำกัด หรือเจ้าของไนซ์รีวิว ผู้ต้องหาที่หลอกลวงผู้เสียหายชวนลงทุนเปิดเว็บไซต์และเฟซบุ๊กไนซ์รีวิว ให้ผู้เสียหายกดไลค์กดแชร์โปรโมทสินค้า
 
โดยคดีนี้ กรมสอบสวนคดีพิเศษหรือดีเอสไอ ได้นำสำนวนการสอบสวนจำนวน 350 แฟ้ม (ประมาณ 121,000 แผ่น) ส่งให้พนักงานอัยการฝ่ายคดีพิเศษ สำนักงานคดีพิเศษ สำนักงานอัยการสูงสุด มีความเห็นควรสั่งฟ้อง ผู้ต้องหาและนิติบุคคลที่เกี่ยวข้อง ในความผิดฐานร่วมกันกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชน ร่วมกันฉ้อโกงประชาชน และความผิดตามพ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ฯ ซึ่งเป็นคดีที่เกี่ยวพันกับความผิดฐานฟอกเงินด้วย แต่กลับได้รับการปล่อยตัวโดยไม่มีหลักทรัพย์ประกัน ทั้งที่คดีนี้มีมูลค่าความเสียหายกว่า 300 ล้านบาท และยังไม่มีการส่งฟ้อง จึงเกรงว่าจะไม่ได้รับความเป็นธรรม
 
ด้านนายประยุทธ เพชรคุณ รองโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด และนายกิตติศักดิ์ วงศ์สวัสดิ์ อัยการจังหวัดประจำสำนักงานอัยการสูงสุด คณะทำงานเจ้าของสำนวนคดีไนซ์รีวิว ชี้แจงว่า หลังจาก ดีเอสไอ ส่งสํานวนให้อัยการสูงสุด เมื่อวันที่ 31 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา พนักงานอัยการได้ตรวจดูแล้ว เห็นว่า สำนวนการสอบสวนของ ดีเอสไอที่ ส่งมายังไม่เสร็จสิ้นสมบูรณ์  อัยการจึงต้องส่งคืนสำนวนให้กับ ดีเอสไอ  เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563  และ ดีเอสไอ ส่งสำนวนแก้ไขกลับมาให้ไม่ทัน ก่อนที่ผู้ต้องหาจะครบกำหนดฝากขัง 7 ฝาก จึงต้องปล่อยตัวผู้ต้องหาไปตามกฎหมาย เพราะหมดอำนาจการควบคุมตัว เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา
 
สำหรับประเด็นที่ดีเอสไอต้องแก้มีถึง 7 ประเด็นประกอบด้วย สอบผู้เสียหายเพิ่มเติมอีกกว่า 1,000 ปาก ในประเด็นการถูกหลอกและมูลค่าความเสียหาย ซึ่งจำเป็นต้องระบุเพื่อให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย, ให้ดีเอสไอตรวจสอบเว็บไซต์ไนซ์รีวิว ว่าเปิดขึ้นในประเทศหรือต่างประเทศ, ในสำนวนพบพฤติกรรมของผู้เสียหายบางรายซึ่งไม่ใช่ผู้เสียหายในคดีนี้รวมอยู่ด้วย จึงให้ดีเอสไอไปแก้ไขให้ถูกต้อง, จัดทำรายงานการสอบสวนใหม่, แก้ไขบัญชีทรัพย์สิน, ใส่รายละเอียดการตรวจสอบคอมพิวเตอร์ ว่าเข้าข่ายความผิดตาม พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์อย่างไร และข้อหาฟอกเงินมีการยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินอย่างไร
หลังจากนี้ หากดีเอสไอทำสำนวนแล้วเสร็จ และอัยการมีความเห็นสั่งฟ้อง ดีเอสไอ จะเป็นผู้นำตัวผู้ต้องหากลับมาฟ้องคดีต่อไป ส่วนการยึดอายัดทรัพย์สินของ ปปง. ซึ่งมีมติอายัดทรัพย์สินไว้แล้วกว่า 200 ล้านบาท จะต้องส่งสำนวนให้อัยการภายใน 90 วันหลังอายัด เพื่อให้อัยการไปฟ้องต่อศาลแพ่ง ให้ศาลมีคำสั่งเฉลี่ยทรัพย์คืนให้กับผู้เสียหาย ซึ่งขณะนี้เหลืออีกประมาณ 20 วันเศษ เชื่อว่าสำนวนของ ปปง. จะสามารถส่งได้ทันตามกำหนดเพราะมีความซับซ้อนน้อยกว่าสำนวนคดีอาญา

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0

ดูเพิ่มเติม สวพ.FM91