โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ทั่วไป

รองปลัดยธ.ชี้ พ่อแม่หมูป่าอาจเข้าข่ายไม่พร้อมเลี้ยงลูก รัฐมีสิทธิแยกตัวออกมาดูแล!

Khaosod

อัพเดต 22 ก.ค. 2561 เวลา 14.35 น. • เผยแพร่ 22 ก.ค. 2561 เวลา 14.34 น.
64585421512000

รองปลัดยธ.ชี้ พ่อแม่หมูป่าอาจเข้าข่ายไม่พร้อมเลี้ยงลูก รัฐมีสิทธิแยกตัวออกมาดูแล!

รองปลัดยธ.ชี้ พ่อแม่หมูป่าอาจเข้าข่ายไม่พร้อมเลี้ยงลูก รัฐมีสิทธิแยกตัวออกมาดูแล!

เมื่อวันที่ 22 ก.ค. นายธวัชชัย ไทยเขียว รองปลัดกระทรวงยุติธรรมได้ออกมาระบุถึงกรณีเยาวชนนักเตะทีมหมูป่า ที่มีสื่อมวลชนต่างประเทศ ไปสัมภาษณ์ ว่า ผู้ปกครองไม่ให้ความร่วมมือพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็กมีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวของเด็กเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กโดยเร็วที่สุดได้ 6 สัปดาห์แรกหลังประสบภัยร้ายแรงแบบตื่นกลัวสุดขีดมา ถือว่าเป็นผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดโรคซึมเศร้าแบบเรื้อรังมีระยะเวลาพัฒนาประมาณ 1-2 ปี และที่สำคัญสิ่งที่ต้องเฝ้าระวังต่อไปนี้ เด็กกลุ่มนี้อาจป่วยโรคทางจิตเวชที่เรียกว่า “ความผิดปกติที่เกิดหลังความเครียดที่สะเทือนใจ” หรือ Post-traumatic Stress Disorder ซึ่งในวงการหรือสากลจะเรียกโรคนี้ว่า PTSD เป็นภาวะความผิดปกติทางอารมณ์ที่เกิดขึ้นภายหลังพบเหตุการณ์ความรุนแรง เช่น อยู่ในเหตุการณ์วินาศกรรม จลาจล สึนามิ ดินโคลนถล่ม บ้านพัง ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกทารุณกรรมทางเพศ ถูกโจรปล้น พบเห็นเหตุการณ์สะเทือนขวัญ ถูกขังเป็นเวลานาน ฯลฯ หรือรวมถึงบางคนอาจจะไม่ได้ประสบพบเหตุร้ายด้วยตัวเอง แต่อาจเห็นจากข่าวหรือได้ฟังคำบอกเล่ามาแล้วรู้สึกตื่นกลัวตามไปด้วย จนทำให้เกิดความเครียดและมีพฤติกรรมบางอย่างที่กระทบต่อการดำเนินชีวิตตามมา ซึ่งผู้ที่ได้รับบาดแผลทางจิตใจจากเหตุเหล่านี้จำเป็นต้องได้รับการรักษา ที่สำคัญ PTSD ภาวะเครียดหลังประสบเหตุการณ์สะเทือนใจจะส่งผลต่อความผิดปกติทางอารมณ์ที่กระทบต่อการดำเนินชีวิต และบางรายกลัวความมืดถึงขั้นกลัวแม้กระทั่งพระอาทิตย์ตกดิน

นายธวัชชัย กล่าวอีกว่า กรณีนี้ถ้าทางการแพทย์วินิจฉัยว่า เด็กมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า และ PTSD แล้ว การถูกกระตุ้นจากคำถามที่ไม่เหมาะสม หรือไปกวนภาวะจิตใจของเด็ก อาจเข้าข่ายเป็นการกระทำความผิดตามมาตรา 27 พรบ.คุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546ได้ ขณะที่บิดามารดา หรือผู้ปกครองรู้ทั้งรู้จากการบอกเล่าของเจ้าหน้าที่ให้ระมัดระวัง แต่ยังกระทำอาจถือว่าผู้ปกครองฯ อยู่ในภาวะเข้าข่ายไม่พร้อมเลี้ยงดู และถ้าจำเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้มีหน้าที่คุ้มครองสวัสดิภาพเด็ก เห็นว่าพฤติการณ์นั้นน่าเชื่อว่ามีการกระทำทารุณกรรมต่อเด็ก ก็ให้มีอำนาจเข้าตรวจค้นและมีอำนาจแยกตัวเด็กจากครอบครัวของเด็กเพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพเด็กโดยเร็วที่สุดได้ตามมาตรา 41 วรรคสอง แต่หากผู้ปกครองไม่เห็นด้วยให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลภายในหนึ่งร้อยยี่สิบวันนับแต่วันรับทราบคำสั่งได้ตามมาตรา 46

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0