โปรดอัพเดตเบราว์เซอร์

เบราว์เซอร์ที่คุณใช้เป็นเวอร์ชันเก่าซึ่งไม่สามารถใช้บริการของเราได้ เราขอแนะนำให้อัพเดตเบราว์เซอร์เพื่อการใช้งานที่ดีที่สุด

ไลฟ์สไตล์

รวยแน่! “อุนจิ” เป็นทองคำ!

TheHippoThai.com

เผยแพร่ 19 มิ.ย. 2561 เวลา 11.00 น.

รวยแน่! “อุนจิ” เป็นทองคำ!

ปัญหาขยะพิษกำลังลุกลามไปทั่วโลกโดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนาต่างๆเช่น กานา เซเนกัล และยูกันดา ในทวีปแอฟริกาไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยของเราเองก็กำลังมีข่าวอยู่ในเวลานี้ ขยะพิษอันได้แก่แผงวงจรอิเล็กทรอนิคส์ที่เหลือใช้ของโทรทัศน์รุ่นเก่า โทรศัพท์มือถือเก่า ฯลฯ จะถูกลักลอบนำเข้าประเทศอย่างผิดกฏหมายเพื่อนำมาผ่านกระบวนการใช้ความร้อนสูงร่วมกับสารเคมีที่มีพิษในการหลอมละลายเพื่อสกัดเอาทองคำเคลือบลายวงจรที่มีอยู่เพียงน้อยนิดออกมา ส่วนที่หลงเหลือหลังการสกัดแบบผิดวิธีก็จะก่อปัญหากับระบบนิเวศในระยะยาวส่งผลเสียร้ายรายต่อสุขภาพของประชากรของประเทศนั้นๆ

ห่างออกไปในอีกซีกโลกหนึ่ง ช่วงปี 2009 ที่ผ่านมา นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยมาร์ติน ลูเธอร์ในประเทศเยอรมนี ได้ค้นพบแบคทีเรียประหลาด ชื่อ Cupriavidus metallidurans ที่ทำตัวเหมือนห่านที่ไข่ออกมาเป็นทองคำในเทพนิยาย นั่นคือเจ้าแบคทีเรียที่มีรูปร่างเป็นแท่งยาวนี้ ตัวมันเองจะอาศัยอยู่ในดินที่มีการปนเปื้อนของสารโลหะที่เป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิตอื่น  แบคทีเรียนี้จะกินสารพิษเหล่านั้นเข้าไปโดยสารโลหะพิษเหล่านั้นไม่อาจทำอันครายใดๆต่อตัวมันได้ และสุดท้ายก็จะขับถ่ายสิ่งล้ำค่าที่ทุกคนต้องการออกมา นั่นคือทองคำบริสุทธิ์

ก้อนทองขนาดเล็กเกาะที่แบคทีเรีย C.metallidurans  ขับถ่ายออกมารอบตัวมัน

กลไกที่เจ้าแบคทีเรีย C.metalliduransใช้ในการทำสิ่งมหัศจรรย์นี้คือโครงสร้างร่างกายของมันที่ประกอบด้วยเนื้อเยื่อสองชั้น มีช่องว่างระหว่างเนื้อเยื่อที่เรียกว่า periplasmที่เป็นชิ้นส่วนสำคัญในกระบวนการเล่นแร่แปรธาตุนี้ เริ่มจาก C.metallidurans จะกินสารโลหะที่เป็นพิษอย่างเช่นทองแดงและไอออนของทองคำที่มีอยู่ในดินเข้าไปเพื่อกระตุ้นกระบวนการเผาผลาญพลังงานในร่างกายของมัน จากนั้นร่างกายของเจ้าแบคทีเรียนี้ก็จะผลิตและใช้เอนไซม์ CopAในการแยกสารประกอบทองแดง-ทองคำออกจากกัน ตามด้วยเอนไซม์อีกตัวนั่นคือ CupAใช้ในการขับทองแดงส่วนเกินไปออกไปยัง periplasmเพื่อไม่ให้ตัวมันต้องรับพิษจากโลหะหนักนี้ หลังจากที่ทองแดงถูกส่งไปยัง periplasm แบคทีเรียจะทำการดึงอิเล็กตรอนของทองแดงมาให้กับไอออนของทองคำ (โมเลกุลของทองที่สูญเสียอิเล็กตรอนไปทำให้มันไม่เสถียรและเป็นพิษต่อสิ่งมีชีวิต) เมื่อไอออนเหล่านี้ได้รับอิเล็กตรอนที่มาจากทองแดง มันก็จะกลับกลายสภาพมาเป็นทองคำที่เสถียรและมีความเป็นพิษที่น้อยอีกครั้ง จากนั้นโมเลกุลของทองคำเหล่านี้จะถูกลำเลียงไปยังชั้น periplasm** เพื่อทำการรวมตัวกลายเป็นทองคำที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมา และถูกขับออกมาจากร่างกายของเจ้าแบคทีเรียนี้ในที่สุด

ก้อนทองผลผลิตจากแบคทีเรียที่รวมตัวกันจนมีขนาดใหญ่ขึ้น

กระบวนการแปลงโลหะพิษเป็นทองคำของแบคทีเรีย *C.metallidurans *นี้ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายใดๆต่อสภาพนิเวศทางธรรมชาติ นอกจากได้ผลผลิตเป็นทองแล้วโลหะพิษยังมีปริมาณน้อยลงจากการถูกมันกินเข้าไปด้วย เสียดายที่มันเป็นเพียงแบคทีเรีย ผลผลิตทองคำอาจยังไม่มาก แต่หากเราสามารถเลียนแบบวิธีของมันในการเปลี่ยนโลหะพิษเป็นทองคำแล้วพัฒนาตjอเนื่องเป็นอุตสาหกรรมขึ้นมาได้ ก็จะถือเป็นการรีไซเคิลที่คุ้มค่าที่สุด นอกจากได้ทองคำบริสุทธิ์เป็นกอบเป็นกำ ยังส่งผลดีต่อสภาพแวดล้อมของโลกใบนี้ในอนาคตอีกด้วย

 

โดย Mr.Vop

 

อ้างอิง และ เครดิตภาพ http://pressemitteilungen.pr.uni-halle.de/index.php?modus=pmanzeige&pm_id=2830 

 

 

0 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0
reaction icon 0